Category Archives: ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

โครงสร้างประโยคเปรียบเทียบ the more….the more

the more….the more

โครงสร้างประโยคเปรียบเทียบ the more….the more

ในภาษาอังกฤษมีโครงสร้างประโยคเปรียบเทียบแบบหนึ่งที่ถ้าเทียบเป็นภาษาไทยจะแปลว่า ยิ่ง…..ยิ่ง….. เช่น ยิ่งสูง ยิ่งหนาว หลักการเขียนประโยคแบบนี้มีดังนี้ค่ะ

The + more/Adj+er….., the more/Adj+er….

** ถ้า adjective ที่มี 1-2 พยางค์ ให้เติม –er ได้ แต่ถ้ามีมากกว่า 2 พยางค์หรือ adjective ที่มี 2 พยางค์บางคำ ให้ใช้ more เติมหน้า adjective นั้น โดยไม่ต้องใส่ -er ต่อท้าย adjective ตัวนั้นแล้วค่ะ

อันที่จริงเราไม่ต้องใช้ more ตลอดก็ได้ค่ะ เราสามารถใช้ adjective ตัวอื่นที่เป็นรูปเปรียบเทียบขั้นกว่าได้ การเขียนอาจเขียนได้ 2 แบบคือ แบบที่ไม่มี verb กับแบบที่มี verb

แบบที่ไม่มี verb เช่น

  • The sooner, the better.
    ยิ่งเร็ว ยิ่งดี
  • The higher, the colder.
    ยิ่งสูง ยิ่งหนาว
  • The cheaper the dress, the lower the quality.
    ชุดยิ่งถูกเท่าไหร่ คุณภาพยิ่งต่ำเท่านั้น

ตัวอย่างแบบที่มี verb ในประโยค เช่น

  • The more you expect, the more you get hurt.
    ยิ่งคาดหวังมากเท่าไหร่ ยิ่งเจ็บมากเท่านั้น
  • The less you expect, the happier you become.
    ยิ่งคาดหวังน้อยเท่าไหร่ ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น
  • The older you become, the more you take care of yourself.
    ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งต้องดูแลตัวเอง

** สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยเข้าใจการเขียนประโยคเปรียบเทียบในลักษณะนี้ ก็จะมีทริคในการเขียนประโยคแบบนี้โดยมีหลักง่ายๆดังนี้ ยกตัวอย่างจากประโยคข้างบน

  • The less you expect, the happier you become.

ประโยคแบบนี้ถ้าจับมาเขียนแบบปกติ ก็คือ

  • You expect less, you become happier.

แค่เราย้ายตำแหน่ง less กับ happier ไปไว้ด้านหน้าแล้วเติม the จากนั้นนำส่วนที่เหลือไปเรียงต่อก็จะได้ประโยค the more…the more… ไปใช้แล้วล่ะค่ะ ^^

การอ่านตัวเลขแบบต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ (ตอนที่ 2)

อ่านตัวเลขภาษาอังกฤษ บนกระดานดำ

การอ่านตัวเลขแบบต่างๆเป็นภาษาอังกฤษ (ตอนที่ 2)

นอกจากตัวเลขทางคณิตศาสตร์ที่มีวิธีการอ่านเป็นภาษาอังกฤษแบบยากๆแล้ว ตัวเลขอื่นๆที่เราพบเจอก็ยังมีวิธีการอ่านเฉพาะตัวของมันอีกเยอะแยะมากมายเลย เช่น การอ่านบ้านเลขที่ การอ่านเบอร์โทรศัพท์ การอ่านส่วนสูง

1. การอ่านบ้านเลขที่
ปกติการอ่านบ้านเลขที่จะอ่านได้หลายรูปแบบ แล้วแต่จำนวนตัวเลข คือ

ถ้าเป็นจำนวนคู่ ให้อ่านทีละคู่ เช่น

42                forty-two
1023             ten twenty-three

ถ้าเป็นจำนวนคี่ให้อ่านแยกทีละตัวไปเลย หรือ อ่านเศษไว้ต้นแล้วคู่ที่พอดีให้อ่านไว้ด้านหลัง เช่น

6                  six
387               three eighty-seven หรือ three eight seven
205               two oh five   (ถ้ามี 0 คั่นกลางให้อ่านเรียงตัวไปเลย)
200               two hundred (ถ้ามี 0 หลายๆตัวให้อ่านเป็นจำนวนไปเลย)

ถ้ามี / คั่นให้อ่านว่า slash หรือ stroke เช่น

546/3           five forty-six slash three หรือ five forty-six stroke three

2. การอ่านเบอร์โทรศัพท์
เวลาอ่านเบอร์โทรศัพท์ นั้นง่ายมากๆ ให้อ่านเรียงตัวไปเลย ถ้าเป็นเลข 0 มักจะอ่านว่า oh แต่ถ้ามีเลขซ้ำกันสองตัวมักใช้คำว่า double เวลาอ่านก็ควรแบ่งวรรค เช่น แบ่งแบบ 3/3/4 เช่น

086-3546721           oh eight six, three five four, six seven two one
02-7753226            oh two, double seven five, three double two six

3. การอ่านส่วนสูง
การบอกส่วนสูงในภาษาอังกฤษจะบอกได้ 2 แบบ คือ บอกเป็นฟุต กับ บอกเป็นเมตร

บอกเป็นฟุต เช่น

I am 5’6”     อ่านว่า
I am five feet six inches tall.
I am five feet six inches.
I am five feet six.

บอกเป็นเมตร เช่น
I am 1.62 m.    อ่านว่า
I am one metre sixty-two centemetres tall.
I am one metre sixty-two.

เมื่อได้หลักการอ่านแล้วก็อย่าลืมฝึกอ่านกันบ่อยๆนะคะ ^^

การอ่านตัวเลขในแบบต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ (ตอนที่ 1)

ศัพท์คณิตศาสตร์ภาษาอังกฤษ

การอ่านตัวเลขในแบบต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ (ตอนที่ 1)

ในบางครั้งเราอาจจะเจอตัวเลขที่มาในหลากหลายรูปแบบ เช่น เศษส่วน ทศนิยม หน่วยเงินตรา เลขยกกำลัง หรือแบบอัตราส่วน แต่ละแบบก็มีการอ่านเฉพาะตัวของมันซึ่งชวนปวดเฮด!!พอสมควร มาดูวิธีการอ่านในแต่ละแบบกันเลยค่ะ

1. การอ่านเศษส่วน

ในบางครั้งเศษส่วนก็จะมีคำเฉพาะเช่น

½       อ่านว่า          a half
¼       อ่านว่า                     a quarter หรือ a fourth

แต่หลักการอ่านโดยทั่วไปคือ ให้อ่าน “เศษ” แบบตัวเลขธรรมดาที่เป็นจำนวนนับ (ถ้าเป็น 1 ให้อ่านว่า a/an หรือ one ก็ได้) และให้อ่าน “ส่วน” เป็นแบบลำดับที่ เช่น

1/8     อ่านว่า           an eighth หรือ one-eighth
1/5     อ่านว่า                     a fifth หรือ one-fifth

แต่ถ้า “เศษ” มีจำนวนมากกว่า 1 ให้เติม s ที่ “ส่วน” ด้วย ถ้ามีจำนวนเต็มข้างหน้าก็ให้เชื่อมด้วย and เช่น

¾       อ่านว่า                     three-quarters หรือ three-fourths
5/16   อ่านว่า           five-sixteenths
2 3/7  อ่านว่า           two and three-sevenths

2. การอ่านจุดทศนิยม

การอ่านจุดทศนิยมต้องแบ่งเลขออกเป็นสองส่วน คือส่วนหน้าจุดและหลังจุด

เลขหน้าจุดทศนิยมให้อ่านแบบตัวเลขธรรมดา ส่วนเลขหลังจุดทศนิยมให้อ่านแบบเรียงตัวไม่ต้องอ่านแบบหลักสิบหรือร้อยหรือพัน   และตัวจุดทศนิยมเรามักจะอ่านว่า “point” เช่น

35.678          อ่านว่า           thirty-five point six seven eight
345.98          อ่านว่า           three hundred and forty-five point nine eight
123.09          อ่านว่า           one hundred and twenty-three point zero nine

3. การอ่านหน่วยเงิน บางครั้งหน่วยเงินจะมีจุดทศนิยม ให้อ่านแบบมีหลักทั้งตัวที่อยู่หน้าจุดและหลังจุด หน่วยสกุลเงินในแต่ละประเทศจะมีหน่วยเงินหลักและหน่วยเงินรอง เช่น

เงินดอลล่าร์ จะมี หน่วย dollar เป็นหน่วยหลัก และ cent เป็นหน่วยรอง
เงินปอนด์ จะมีหน่วย pound เป็นหน่วยหลัก และ pence    เป็นหน่วยรอง
เงินยูโร จะมีหน่วย euro เป็นหน่วยหลัก และ cent เป็นหน่วยรอง

มีวิธีการอ่านดังนี้ค่ะ

1,653.40 USD          one thousand six hundred and fifty-three dollars and forty cents
37,231.50 EUR       thirty-seven thousand two hundred and thirty-one Euros and fifty cents

4. การอ่านอัตราส่วน

เวลาอ่านตัวเลขที่เป็นอัตราส่วนที่พบบ่อยคือพวกผลคะแนนในกีฬาต่างๆ ให้อ่าน เครื่องหมาย : ว่า to เช่น

3:4     อ่านว่า           three to four
2:0     อ่านว่า           two to zero

5. การอ่านเลขยกกำลัง

การอ่านเลขยกกำลังในภาษาอังกฤษ จะมีคำเฉพาะอยู่สองตัวคือ ถ้ายกกำลัง 2 ให้ใช้คำว่า squared ถ้ายกกำลัง 3 ให้ใช้คำว่า cubed เช่น

23       อ่านว่า two cubed
42       อ่านว่า four squared

แต่ถ้าเป็นเลขยกกำลังตัวอื่นให้อ่านเลขยกกำลังเป็นแบบลำดับที่แบบนี้ค่ะ

105     อ่านว่า           ten to the fifth power
312      อ่านว่า           three to the twentieth power
4n       อ่านว่า           four to the n-th power

การอ่านและการเขียนตัวเลขจำนวนนับและลำดับที่เป็นภาษาอังกฤษ

การอ่าน การเขียน ตัวเลข จำนวนนับ ลำดับที่ ภาษาอังกฤษ

การอ่านและการเขียนตัวเลขจำนวนนับและลำดับที่เป็นภาษาอังกฤษ

ไม่ว่าจะเรียนภาษาอะไรในโลกนี้ สิ่งที่ไม่เรียนไม่ได้เลยคือการนับเลข ในทุกๆภาษาต้องมีตัวเลขมาเกี่ยวข้องเสมอเพราะคำเรียกตัวเลขในแต่ละภาษามันไม่เหมือนกัน (ทำไมไม่เรียกให้เหมือนกันหมดนะ!!) ในภาษาอังกฤษก็มีหลักในการอ่านและเขียนตัวเลขเป็นของตัวเองเช่นกัน

ตัวเลขในภาษาอังกฤษมี 2 แบบ คือ

  • แบบที่แสดงจำนวน (cardinal number) เช่น 1, 5, 90, 2,490, etc.
  • แบบที่แสดงลำดับที่ (ordinal number) เช่น 1st, 2nd, 3rd, 4th, etc.

1. มาดูการอ่านและการเขียนแบบที่เป็นจำนวน (cardinal number) กันก่อนค่ะ

** จำนวนหลักหน่วย หลักสิบ คงจะไม่มีปัญหายุ่งยากอะไร เพราะหลักยังน้อยๆอยู่ เช่น

3        three
48      forty-eight     (การเขียนหลักสิบกับหลักหน่วยต้องมี hyphen คั่นระหว่างหลักเสมอ)

แต่พอมาถึงหลักร้อย หลักพัน หมื่น แสน ล้าน สิบล้าน ร้อยล้าน นี่พอตัวเลขยิ่งมากก็เริ่มยุ่งยากแล้ว

** ในการอ่านหลักร้อย จะมี and เชื่อมระหว่างสองหลักสุดท้าย แต่ถ้ามีแค่หลักหน่วยอย่างเดียวก็ใส่ and เช่นกันแล้วตามด้วยหลักหน่วยอย่างเดียว เช่น

768     seven hundred and sixty-eight
202     two hundred and two

** หลักพันก็เช่นกัน อ่านเรียงตามลำดับตามหลัก หลักที่มากมาก่อนหลักที่น้อย เช่น

2,305  two thousand three hundred and five
6,521 six thousand five hundred and twenty-one

(——-สังเกตว่า เวลาเขียน thousand และ hundred จะไม่ใส่ s ถึงแม้ว่าจำนวนในหลักนั้นจะมากกว่า 1 ก็ตาม——-)

** พอมาถึงหลักหมื่นเป็นต้นไปจนถึงล้าน คราวนี้งานยากแล้ว เพราะภาษาอังกฤษดันมีคำศัพท์เรียกหลักแค่ พันเท่านั้นคือ thousand วิธีการอ่านก็ต้องอาศัยหลักการคำนวณนิดหน่อยคือ สมมติว่า เราจะอ่าน 24,387 (สองหมื่นสี่พันสามร้อยแปดสิบเจ็ด)

หลักการคือ สิบพัน = หนึ่งหมื่น เวลาอ่านเป็นภาษาอังกฤษก็จะเป็น twenty-four thousand three hundred and eighty-seven (24 พัน = 2 หมื่นสี่พัน…)

หลักแสนก็เช่นกัน ร้อยพัน = หนึ่งแสน เช่น

238,954 อ่านว่า two hundred and thirty-eight thousand nine hundred and fifty-four
301,277 อ่านว่า three hundred and one thousand two hundred and seventy-seven

** หลักล้านจะใช้คำว่า million  สิบล้าน = ten million,   ร้อยล้าน = hundred million, พันล้าน = billion และเวลาอ่านก็อ่านตามลำดับหลักเช่นกัน เช่น

2,376,098 อ่านว่า two million three hundred and seventy-six thousand and ninety-eight
350,000,000 อ่านว่า three hundred and fifty million
2,000,000,000 อ่านว่า two billion

** มีคำศัพท์บางคำที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวเลข เช่น

dozen คือ หนึ่งโหล = 12 : I want three dozen of pencil.
gross คือ หนึ่งกุรุส = 12 โหล (144) : There are two gross of candles in the church.

(** เวลาเขียน dozen หรือ gross แม้ว่าจะมีจำนวนที่มากกว่า 1 ข้างหน้าก็ไม่ต้องเติม s )

2. สำหรับตัวเลขแบบบอกลำดับที่หรือ ordinal number ก็จะมีวิธีการเขียนและอ่านที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย เช่น

1st  อ่านว่า first เวลาเขียนให้ห้อย st ตามมาด้วยเสมอ
2nd อ่านว่า second เวลาเขียนให้ห้อย nd ตามมาด้วยเสมอ
3rd อ่านว่า third เวลาเขียนให้ห้อย rd ตามมาด้วยเสมอ
4th อ่านว่า fourth เวลาเขียนให้ห้อย th ตามมาด้วยเสมอ ตัวเลขหลังจาก 3rd เป็นต้นไปจะห้อย th ต่อท้ายเสมอ
5th อ่านว่า fifth

ตัวอย่างที่เป็นเลขหลายหลัก เช่น

35th อ่านว่า thirty-fifth
123rd อ่านว่า   one hundred and twenty-third

** แค่ตัวเลขตัวเลขเยอะๆก็มึนแล้ว ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องยากใช่มั้ยคะ แต่รายละเอียดปลีกย่อยมันเยอะ ลองฝึกดูนะคะ

การใช้คำว่า own

การใช้คำว่า own

การใช้คำว่า own

คำว่า own มันมักจะไปปรากฏตัวอยู่ในประโยคที่มีการแสดงความเป็นเจ้าของ เพราะความหมายของมันแปลว่า “ที่เป็นของตัวเอง, ของตัวเอง” ใช้ได้อย่าง คำคุณศัพท์ คำนาม และคำกริยา วิธีการใช้มีดังนี้ค่ะ

1. ต้องตามหลัง possessive adjective โดยจะมีคำนามตามมาต่อท้ายหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้าไม่มีคำนามมาต่อท้ายจะต้องเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าคำนามนั้นคืออะไร เช่น

  • It’s better if he has his own car.
    มันคงจะดีกว่าถ้าเขามีรถเป็นของตัวเอง
  • Our children is very happy that they have their own room.
    ลูกๆของเรามีความสุขกันมากที่ได้มีห้องเป็นของตัวเองสักที
  • Please do the work at your own convenience.
    ทำงานได้ตามสบาย(ของคุณ) เลย

ตัวอย่างแบบที่ไม่มีคำนามต่อท้าย เช่น

A: Would you like to ride my bicycle?
B: No, thanks. I can ride my own.

(ในประโยคนี้เข้าใจกันอยู่แล้วว่า นามที่พูดถึงคือ bicycle)

** ในกรณีนี้ จะเอาคำอื่นที่ไม่ใช่ possessive adjective มานำหน้า own ไม่ได้ เช่น  an own car, the own hands แบบนี้ถือว่าผิดค่ะ

2. นอกจากนี้ own ยังใช้อย่างเก๋ๆด้วยการใช้ในรูปของสำนวน on one’s own หมายถึง “ด้วยตัวของเขาเอง”   เช่น

  • Sarah doesn’t need any help. She can do it on her own.
    ซาร่าไม่ต้องการความช่วยเหลือ เธอสามารถทำด้วยตัวเองได้
  • Thomas can work on his own since his partner quit the job.
    โธมัสสามารถทำงานด้วยตัวเองได้ตั้งแต่คู่หูของเขาลาออกไป

3. own ยังใช้เป็นคำกริยาได้อีกด้วย มีความหมายว่า “เป็นเจ้าของ” เช่น

  • You have to contact that man who owns the building.
    คุณต้องติดต่อผู้ชายคนนั้นที่เป็นเจ้าของตึก
  • To do farming, you have to own the land.
    การทำฟาร์ม คุณจะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน

** การใช้ own นั้นไม่ยากเลยค่ะ ลองนำไปใช้ดูนะคะ ^^

การลดรูป adverb clause

การลดรูป adverb clause

การลดรูป adverb clause

ก่อนอื่นขอเล่าถึง adverb clause นิดนึงก่อนว่าคืออะไร? adverb clause คือ อนุประโยคที่ใช้ขยายกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์หรือประโยคหลักทั้งประโยค เช่น

  • I’m really shocked when I heard the news.

(when I heard the news เป็น adverb clause ที่ขยายคำคุณศัพท์ shocked)

** แต่ที่เรากำลังจะพูดถึงคือการลดรูป adverb clause!! ซึ่งเมื่อมีการลดรูปแล้วจะเหลือสถานะเป็นเพียง adverbial phrase หรือ participial phrase เท่านั้นค่ะ หลักในการลดรูป adverb clause มีดังนี้ค่ะ

  1. ประธานใน main clause และใน subordinate clause ต้องเป็นตัวเดียวกัน ถ้าเป็นประธานคนละตัวจะไม่สามารถลดรูปได้
  2. ตัดประธานที่อยู่ในอนุประโยคที่มีคำเชื่อม (when, while, after, before, etc.) ทิ้ง
  3. เปลี่ยนคำกริยาในประโยค ให้เป็น Ving (present participle) ในกรณีที่ประธานเป็นผู้กระทำหรือ V-ed/V3 (past participle) ในกรณีที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
  4. บางครั้งในบางประโยคเราอาจจะละทั้งประธานและคำเชื่อม หรือบางประโยคก็ต้องมีแค่ประธานเท่านั้น ถ้าเป็นคำเชื่อมที่บอกเวลา เช่น when, while, after, before นั้นจะใส่คำเชื่อมไว้หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่ถ้าเป็นคำเชื่อมที่แสดงเหตุผลเช่น since ต้องตัดคำเชื่อมออกและมักวางประโยคที่ลดรูปไว้ด้านหน้า

มาดูตัวอย่างกันค่ะ

1. While he was getting out of the bus, he tripped and fell.
ลดรูปได้เป็น

  • While getting out of the bus, he tripped and fell.
  • Getting out of the bus, he tripped and fell.

2. After the box had been opened, it was kept in the storehouse.
ลดรูปเป็น

  • After having been opened, the box was kept in the storehouse.
  • Having been opened, the box was kept in the storehouse.

3. Since Joshua always gets stressed at work, he decides to quit his job.
ลดรูปเป็น

  • Getting stressed at work, Joshua decides to quit his job.

** Adverb of concession จำพวก although หรือ adverb of condition จำพวก if ก็สามารถลดรูปได้ แต่คำกริยาของประโยคเต็มมักเป็นรูป passive voice ซึ่งในกรณีเช่นนี้มักใช้แบบไม่เป็นทางการเท่าไหร่ และต้องเก็บคำเชื่อมไว้เสมอ เช่น

4. Although our team was defeated 2-0, we did not seem to surrender.
ลดรูปเป็น

  • Although defeated 2-0, our team did not seem to surrender.

** การลดรูปใดๆก็ตาม จุดประสงค์คือต้องการให้สั้นกระชับ แต่ทุกอย่างย่อมต้องมีหลักการและเงื่อนไขเสมอ บางคนอาจจะเคยเห็นแต่รูปที่มันลดรูปมาแล้ว และไม่รู้ที่มาว่ามาจากไหน คราวนี้จะได้ร้องอ๋อ!! ซะทีว่าประโยคแบบนี้มาได้ยังไง ^^

No article (คำนามที่ไม่ต้องใส่ article)

คำนามที่ไม่ต้องใส่ article

No article (คำนามที่ไม่ต้องใส่ article)

เคยสังเกตมั้ย? คำนามบางคำมี article แต่บางคำก็ไม่มี article มาตามประกบอยู่ด้านหน้า เอาล่ะสิ! แล้วจะรู้ได้ไงว่าจะใส่ article หรือไม่ใส่ดี…..ถ้ากำลังปวดหัวกับปัญหานี้อยู่ ตามมาดูเลยค่ะว่าคำนามแบบไหนกันบ้างที่มันไม่ต้องการ article

1. คำนามนับไม่ได้ที่พูดถึงแบบทั่วไป พวกนี้ไม่ต้องใส่ article อะไรใดๆทั้งสิ้นค่ะ อยู่เดี่ยวๆได้ แล้วแบบไหนล่ะที่เป็นการพูดถึงแบบทั่วไป? พูดง่ายๆคือมันไม่มีวลี ไม่มีอนุประโยคอื่นๆมาขยายให้มันกลายเป็นคำนามชี้เฉพาะ ถ้าเข้าข่ายแบบนี้คือ no articles สถานเดียวค่ะ!! ตัวอย่างเช่น

  • Water basically consists of hydrogen and oxygen.
  • Alcohol is not good for children.

แต่ถ้ามีคำขยายข้างหลังนามนั้นต้องใส่ the เช่น

  • The water in Klong San Saeb is not clean.
  • The sugar in that pack is hygienic.

** นามนับไม่ได้ในที่นี้รวมไปถึง อาการนามด้วยนะคะ อาการนามคือนามที่มักขึ้นต้นด้วย

การ… หรือ ความ… ซึ่งพูดขึ้นมาลอยๆ ไม่มีข้อความใดๆมาขยายความ เช่น

  • Patience is a virtue.
    ความอดทนเป็นความดีงามอย่างหนึ่ง

2. คำนามนับได้พหูพจน์ที่พูดถึงโดยทั่วไปไม่เฉพาะเจาะจง ก็ไม่ใส่ article นะคะ เช่น

  • Students are cleaning their rooms.
  • Lions are dangerous animals.

3. นามที่เป็นชื่อวิชา ภาษา ไม่ต้องมี article ค่ะ เช่น

  • Science is my favorite subject.
  • I love English.

4. นามที่เป็นชื่อกีฬาหรือการละเล่น ไม่ต้องใส่ article เช่น

  • Most men like playing and watching football.
  • We’re playing tennis in PE class.

5. ชื่อทวีป ประเทศ รัฐ เมือง โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ในกรณีที่เป็นคำๆเดียว ไม่ต้องใส่ article นะคะ เช่น

  • Thailand is in Asia.
  • I live in Bangkok.
  • I graduated from Thammasat University.

** แต่ถ้าเป็นประเทศที่มีหลายๆมลรัฐมารวมกัน ก็ต้องใส่ the เช่น The United States, The People’s Republic of China

6. มื้ออาหาร, ฤดูกาล, ลัทธิ, ศาสนา ไม่ต้องใช้ article เช่น

  • I usually have breakfast before going to school.
  • We plan to go camping in summer.

7. ชื่อโรคต่างๆ ไม่ใส่ article ข้างหน้า เช่น

  • Every year many people die of malaria.
  • Cigarettes can cause cancer.

8. ชื่อถนน วงเวียน สนามบิน สถานีรถไฟ ชื่อร้านค้า ไม่ต้องใส่ article เช่นกันค่ะ เช่น

  • My workplace is on Sukhumvit road.
  • We will depart from Don Muang Airport.

9. ชื่อยศ หรือตำแหน่งที่ตามด้วยชื่อคน ไม่ต้องใส่ article เช่น

  • President Obama is coming to Thailand soon.
  • I met Major Wiwat last night.

แต่ถ้าเป็นชื่อตำแหน่งหรือยศที่ไม่มีชื่อผู้รับตำแหน่งหรือยศต่อท้าย มักเป็นคนที่เรารู้จักกันดี ให้ใส่ the เสมอ เช่น

  • The abbot went outside the temple.
    ท่านสมภารออกไปนอกวัดซะแล้ว

** ให้จำนี่คือก็อาจจะจำกันไม่ไหว เอาเป็นว่าถ้าจะใช้ก็ตรวจสอบการใช้กันดีกว่านะคะ เพื่อความถูกต้องนะคะ ^^

หลักการใช้ comma (,)

comma (,)

หลักการใช้ comma (,)

ทักษะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเรียนภาษาอังกฤษก็คือ การเขียน และสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการเขียนโครงสร้างประโยคและการใช้คำศัพท์ให้ถูกต้องก็คือ การใช้เครื่องหมายวรรคตอน   เครื่องหมายวรรคตอนในภาษาอังกฤษที่สำคัญก็คือ comma (,) เจอบ่อยมากๆ!! เพราะฉะนั้นถ้าจะเขียนภาษาอังกฤษ รับรองว่าหลีกเลี่ยง comma ไม่พ้นแน่นอนค่ะ มาดูหลักการใช้ comma กันซะหน่อยดีกว่าว่าใช้ในกรณีใดได้บ้าง

1. ใช้คั่นระหว่างคำนามในประโยค ซึ่งมีมากกว่า 2 คำขึ้นไปเช่น

  • I want to buy bread, tomatoes, onions, and vinegar.

2. ใช้คั่นระหว่างประโยค Independent clause สองประโยคที่มีคำเชื่อม (for, and, nor, but, or, yet, so) คั่นตรงกลาง เช่น

  • I know that she was hungry, but she didn’t eat anything.
  • I went to the bank, and I went to see the dentist.

แต่ในประโยคที่มีใจความสั้นๆ อาจจะไม่ต้องใส่ comma คั่นก็ได้ เช่น

  • I ran fast and I fell down.

3. ใช้คั่นระหว่างประโยค dependent clause และ independent clause เข้าด้วยกัน เช่น

* dependent clause คือ ประโยคที่ไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระ มักมีคำเชื่อม when, while, if, unless, although, after, before, etc.
* independent clause คือประโยคที่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระ

  • When I was five, I used to go abroad with my family.
  • If the bus doesn’t come, I’ll take a taxi.

4. ใช้คั่นระหว่างส่วนขยาย (apposition) กับคำนาม เช่น

  • Lucy, our new boss, is very strict.
  • Daniel, usually the top student in the class, won the first prize.

5. ใช้คั่นระหว่างใจความหลักกับส่วนที่เป็นคำกล่าว (quote) เช่น

  • Joshua said, “I shouldn’t have eaten a lot.”

6. ใช้คั่นระหว่างคำเชื่อม transition word หรือ conjunctive adverb กับประโยค เช่น

  • Tom is a popular student. Moreover, he is a captain of football team.

7. การใช้ comma ในลักษณะอื่นๆ เช่น

  • ใช้กับการเขียนวันที่   February 4, 1987
  • ใช้ในการคั่นตัวเลขหลักพันเป็นต้นไป 32,000   564,987
  • ใช้ในคำพูดเปิดจดหมายอย่างไม่เป็นทางการ   Dear Susie,
  • ใช้ในการลงท้ายจดหมาย   Best regards,   Sincerely Yours,

แค่เครื่องหมาย comma อย่างเดียวก็มีหลักการใช้เยอะแยะซะขนาดนี้แล้ว ยังไงก็ลองเอาไปฝึกใช้ดูนะคะ ^^

ใช้ to กับ for อย่างไรให้ถูกต้อง

ใช้ to กับ for อย่างไรให้ถูกต้อง

ใช้ to กับ for อย่างไรให้ถูกต้อง

เคยเป็นกันมั้ยคะ เวลาจะเขียนภาษาอังกฤษว่า ให้กับเธอ, เพื่อเธอ, สำหรับเธอ, ถึงเธอ บางทีก็แอบสับสนนะว่าจะใช้ to หรือ for ดี   เรามีหลักการใช้ to กับ for ที่ง่ายแสนง่ายมาฝากกันค่ะ

ถ้าพูดถึง to ให้นึกถึง “การเคลื่อนย้ายหรือเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง” หรือมีการ transfer คือ การโอนย้ายแลกเปลี่ยน เช่นประโยคที่บอกว่า   “ฉันกำลังจะไปบ้านนาเดีย”   มีการเคลื่อนย้ายจากบ้านฉันไปบ้านนาเดีย เราก็จะใช้ to

  • I’m going to Nadia’s house.
  • We go to work by subway.
  • I’ve already talked to him.   (การพูดคุยก็เป็นการแลกเปลี่ยนคำพูดบทสนทนากัน)

การให้สิ่งของกับใครก็ใช้ to เหมือนกันค่ะ เพราะมีการ transfer สิ่งของจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง เช่น

  • My grandmother gave a new dress to me.
    ย่าให้ชุดใหม่กับฉัน
  • That good-looking boy gave something to my sister.
    เด็กหนุ่มหน้าตาดีคนนั้นให้อะไรบางอย่างกับน้องสาวฉัน

แต่สำหรับการใช้ for นั้น ให้เรานึกไปถึงสิ่งที่ทำด้วยความตั้งใจ หรือเป็นสิ่งที่ดีๆ มีประโยชน์ พูดง่ายๆคือแปลว่า “สำหรับหรือเพื่อ” นั่นเองค่ะ เช่น

  • My mom always cooks dinner for us.
  • I will do that for you.

หรือประโยคนี้ที่อาจจะใช้ผิดกันบ่อยคือ

  • I’ll sing a song for her. ไม่ใช่     I’ll sing a song to her.

เมื่อรู้หลักการแล้วจะเห็นว่ามันไม่ยากเลย
แต่การใช้ to กับ for ยังมีอีกอย่างหนึ่งคือการบอกจุดประสงค์ในการทำบางสิ่งบางอย่าง

ถ้าเป็น to + Verb (infinitive)
ถ้าเป็น for + Noun / for + Ving

เช่น

  • I stopped by at the supermarket to buy some food.
  • I called Maria to say I love her.
  • She wants to study abroad.

แต่ถ้าเป็น for ต้องตามด้วยคำนามหรือ gerund เช่น

  • I’m going to Asoke tomorrow for an interview.
  • Roza is going to leave for New York tomorrow.
  • This medicine is good for getting rid of pain.

นอกจากนี้ for + Ving ยังใช้สำหรับการบอกเหตุผลของการกระทำในประโยค passive voice เช่น

  • He was punished for not doing his homework.
  • These knives are used for cutting bread.

จบกระบวนการใช้ for และ to แล้วค่ะ คราวนี้รับรองว่าใช้ไม่ผิดอย่างแน่นอน ^^

คำตามหลังรากศัพท์ในภาษาอังกฤษ (suffixes)

คำตามหลังรากศัพท์ในภาษาอังกฤษ

suffixes

Suffixes คือ คำอุปสรรคที่เติมไว้หลังคำหลัก แล้วเปลี่ยนชนิดของคำๆนั้น แต่ความหมายไม่เปลี่ยน การที่เรามีตัวช่วยคอยบอกว่าคำที่ลงท้ายแบบนี้เป็นคำชนิดใด จะช่วยให้เราสามารถใช้คำในประโยคได้ถูกต้อง ถูกตำแหน่ง ตัวอย่างของ suffix ที่พบเจอบ่อยๆมีดังนี้ค่ะ

1. suffix ที่เติมแล้วทำให้เป็นคำนาม (Noun) -ment, -tion, -ness, -ship, -dom, -ence/-ance, -cy, -ism, -hood, -ity เช่น

  • encourage     ——             encouragement
  • organize      ——             organization
  • happy           ——             happiness
  • friend            ——             friendship
  • free              ——             freedom
  • assistant       ——             assistance
  • accurate       ——             accuracy
  • criticize         ——             criticism
  • neighbor       ——             neighborhood
  • pure             ——             purity

2. suffix ที่เติมแล้วทำให้เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective ) -ful, -less, -able/-ible, -ous, -ive, -ish, -ant/-ent เช่น

  • hope             ——             hopeful
  • hope             ——             hopeless
  • move            ——             moveable
  • danger          ——             dangerous
  • persuade      ——             persuasive
  • difference    ——             different

3. suffix ที่เติมแล้วทำให้เป็นคำกริยา (verb) -ify, -ize/-ise, -ate เช่น

  • pure             ——             purify
  • critic             ——             criticize
  • active           ——             activate

4. suffix ที่เติมแล้วทำให้เป็นคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) -ly เช่น

  • happy           ——-            happily
  • suitable        ——-            suitably

รู้ suffix มีประโยชน์อย่างไร? คำตอบคือ ถ้าเรารู้ความหมายของรากศัพท์หรือคำหลัก ก็สามารถเดาความหมายได้ค่ะ ช่วยเรื่องการอ่านได้เยอะเลย ^^