Category Archives: ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

Capitalization การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ

Capitalization การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ

Capitalization การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ

ในภาษาอังกฤษนั้นมีการใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญเบื้องต้นในภารเรียนภาษาอังกฤษ ดังนั้นเราจึงต้องควรรู้หลักการคร่าวๆในการใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ดังนี้ค่ะ

1. ใช้เมื่อเป็นคำขึ้นต้นของประโยค เช่น

  • She is a new teacher.
  • Tigers are dangerous animals.

2. ใช้เมื่อเป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อคน สถานที่ แม่น้ำ หนังสือ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของประโยคก็ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ เช่น

  • Drego is very smart and handsome.
  • The Da Vinci Code is a famous novel of Dan Brown.
  • The Nile River is the longest river in the world.

3. ชื่อทวีป ประเทศ ชื่อเมือง ชื่อสัญชาติ เชื้อชาติ ภาษา ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ เช่น

  • We’re leaving for Korea, but we can’t speak Korean language.
  • Asia is the biggest continent in the world.
  • My father is British but my mother is Thai.

4. ชื่อสถาบัน องค์กร หน่วยงาน สมาคม สมาพันธ์ ต่างๆ เช่น

  • I work at the Art Museum.
  • You have to contact the Royal Embassy.

5. ชื่อวันในสัปดาห์ หรือเดือน ให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ เช่น

  • I don’t have to work on Saturday and Sunday.
  • I was born in March.

6. ชื่อเทศกาลต่างๆ เช่น

  • Our family will reunite on Christmas Day.
  • I celebrated Easter with my family last year.

7. ใช้เมื่อเป็นคำนำหน้าชื่อ ยศ หรือ ตำแหน่ง เช่น

  • Mr. Carton is our important customer.
  • The President is coming to Thailand soon.

8. สรรพนาม I ต้องใช้พิมพ์ใหญ่เสมอ ถึงแม้ว่าจะอยู่กลางประโยคก็ตาม เช่น

  • Marry and I are going to visit Peru next month.

9. ใช้กับคำอุทาน เช่น

  • Oh My God!
  • O Lord, please help me.

** เมื่อทราบหลักการใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ เวลานำไปใช้เขียนภาษาอังกฤษก็จะทำให้ถูกต้องตามหลักภาษาค่ะ

หลักการใช้ Verb to have

Verb to have

หลักการใช้ Verb to have

Verb to have มี 3 ตัวคือ have, has, had

1. ถ้าเป็นกริยาหลักในประโยคจะแปลว่า “มี หรือ กิน”

Has จะใช้กับประธานเอกพจน์
Have จะใช้กับประธานพหูพจน์

เช่น

  • I’m having dinner with my old friends.
  • She has two luxury cars.

ในกรณีที่ have has เป็นกริยาหลักแล้วต้องการทำเป็นรูปปฏิเสธหรือคำถาม ให้ใช้กริยาช่วย verb to do เข้ามาช่วยนะคะ ห้ามใส่ not หลัง have / has ไปเลย เพราะhave has ในที่นี้เป็นกริยาหลักไม่ใช่กริยาช่วยนะคะ เช่น

  • She doesn’t have much money.
  • I don’t have any pens.
  • Do you have a car?

** ถ้าประธานเป็นเอกพจน์แล้วใช้ has เมื่อเติม doesn’t เข้าไปจะต้องเปลี่ยน has กลับมาเป็น have เหมือนเดิม

2. เป็นกริยาช่วยใน perfect tense คือโครงสร้าง

have/has/had + V3

เช่น

  • She has helped me for two hours.
  • I had locked the door before I left the room.
  • They have waited for you for three hours.

ถ้าต้องการทำเป็นประโยคปฏิเสธหรือคำถามให้เติม not หลัง verb to have ได้เลยเพราะเป็นกริยาช่วยในประโยค เช่น

  • They haven’t waited for you for three hours.
  • I hadn’t locked the door before I left the room.

3. have/had + to จะหมายถึง “จำเป็นต้อง”   เช่น

  • She has to finish the report by four o’clock.
  • They have to follow the rules.

4. ใช้ในประโยค causative form ตามโครงสร้างนี้คือ

have someone do something   (ในความหมายว่าให้ใครทำอะไรให้โดยบอกผู้กระทำ)

  • The teacher has her students clean the room.
    คุณครูให้นักเรียนทำความสะอาดห้อง

have something done        (ในความหมายว่าให้ใครทำอะไรให้โดยไม่บอกตัวผู้กระทำ

  • I had my hair cut.
    ฉันไปตัดผมมา (ให้ช่างตัดผม)

5. ในสำนวนที่มีการใช้ verb to have ตามหลังด้วยคำกริยาแล้วมี a นำหน้าคำกริยาตัวนั้นจะมีผลทำให้กริยาตัวนั้นเป็นคำนาม   แปลความหมายโดยยึดกริยาข้างหลัง เช่น

  • My grandfather has a walk every morning.
    คุณปู่ออกไปเดินทุกเช้า
  • I and my friends had a swim in the pool yesterday.
    ฉันและเพื่อนๆไปว่ายน้ำที่สระเมื่อวานนี้
  • I want to have a rest.
    ฉันต้องการพักผ่อน

หลักการใช้ verb to do

verb to do

หลักการใช้ verb to do

Verb to do มี 3 ตัวคือ do, does, did ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งกริยาหลักและกริยาช่วยในประโยค verb to do สามารถนำไปใช้ได้ดังนี้ค่ะ

1. ใช้เป็นกริยาหลักของประโยคจะแปลว่า “ทำ” เช่น

  • They do homework before going to bed.
  • She does the housework alone.
  • I think I did the best thing for us.

2. เป็นกริยาช่วยของประโยค present simple tense และ past simple tense เพื่อทำให้เป็นประโยคปฏิเสธและประโยคคำถาม   ที่ต้องอาศัย verb to do เข้ามาช่วย เพราะในประโยคบอกเล่าไม่มีกริยาช่วยตัวอื่นเลย วิธีการทำเป็นประโยคปฏิเสธก็ง่ายแสนง่ายคือ เอา not ไปเติม หลัง verb to do แล้ววางไว้หน้ากริยาหลักก็จะทำให้ประโยคกลายเป็นปฏิเสธได้ เช่น

  • She doesn’t want to quit the job.
  • I didn’t do homework, so I was punished.

แต่ถ้าต้องการทำเป็นประโยคำถามก็ให้เอา verb to do ไปวางไว้หน้าประโยค ในกรณีที่เป็นประโยคคำถามแบบ yes/no question   เช่น

  • Did you go to Malaysia last month?
  • Do you like sausages?
  • Does she do exercise every day?

** เวลาตอบก็ง่ายแสนง่ายอีกเช่นกัน เช่นถ้าถามว่า

A: Do you like sausages?
B: Yes, I do. / No, I don’t.

A: Does she do exercise every day?
B: Yes, she does. / No, she doesn’t.

แต่ถ้าเป็นประโยคคำถามแบบ Wh-question ให้วางไว้หลัง Wh-question words เช่น

  • What does she read?
  • What did she eat last night?

3. ใช้ do, does, did วางไว้หน้าคำกริยาเพื่อแสดงการเน้นว่าต้องทำเช่นนั้นจริงๆหรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ เช่น

  • I do love you.
    ผมรักคุณจริงๆ
  • She does drives to Chonburi alone.
    เธอขับรถไปชลบุรีคนเดียวจริงๆ
  • They did live here two years ago.
    พวกเขาอยู่ที่นี่จริงๆเมื่อสองปีที่แล้ว

หลักการใช้ verb to be

verb to be

หลักการใช้ verb to be  

Verb to be ประกอบไปด้วยทั้งหมด 5 ตัวด้วยกันคือ is, am, are, was, were โดยรูป base form ของ verb to be คือ be เมื่อใช้อย่างกริยาหลักจะแปลว่า “เป็น, อยู่, คือ”

เช่น

  • I’m a teacher.         ฉันเป็นครู
  • He is the only one that I care.     เขาเป็นคนเดียวที่คนแคร์

แต่เมื่อเป็นกริยาช่วยมันจะเอาไปใช้ในกรณีดังต่อไปนี้

1.1 วางไว้หน้าคำคุณศัพท์ เช่น

  • These girls are afraid of the angry dogs.
  • She is worried about her exam result.

1.2 ใช้เป็นกริยาช่วยในประโยค continuous tense เพื่อบอกว่า “กำลังทำ” ซึ่งมีทั้งประโยคที่เป็น present continuous ที่เป็นปัจจุบันและ past continuous ที่เป็นอดีต เช่น

Present continuous tense

  • I’m looking for my key in the room.
  • She’s jogging in the park.

** เวลาทำเป็นปฏิเสธหรือคำถามให้ใส่ not เข้าไปหลัง verb to be ได้เลย และเมื่อทำเป็นประโยคคำถามให้เอา verb to be มาไว้ข้างหน้า เช่น

  • They are not playing tennis.
  • Are you listening to me?
  • Is she talking on the phone?

Past continuous tense

  • She was wandering around the stores.
  • I wasn’t sleeping when he came.
  • Were they having dinner when someone knocked the door?

1.3 ใช้ในโครงสร้างประโยค passive voice (ประโยคที่ประธานถูกกระทำ) เพราะโครงสร้างประโยคแบบ passive voice คือ

Verb to be + V3

เช่น

  • Hundreds of people were killed by the flood.
  • The car was fixed yesterday.

** เวลาทำเป็นปฏิเสธก็ใส่ not หลัง verb to be ได้เลยเช่นกัน เช่น

  • The bridge wasn’t built in 1987.

1.4 วางไว้หน้า infinitive with to แปลว่า “จะ, จะต้อง” เพื่อบอกแผนการ คำสั่ง คำขอร้อง การเตรียมการ เช่น

  • She is to leave now.
    เธอจะต้องออกเดินทางเดี๋ยวนี้
  • We are to be paid at the end of this month.
    พวกเราอาจจะได้รับค่าจ้างปลายเดือนนี้

1.5 วางไว้หน้าสำนวน about to จะแปลว่า “กำลังจะ” เช่น

  • She is about to leave.
    เธอกำลังจะออกไปแล้ว
  • I am about to fall down.
    ฉันกำลังจะล้ม

อ่านเพิ่มเติม verb to be ใช้ตอนไหน??

Sentence type ชนิดของประโยค

Sentence type

Sentence type ชนิดของประโยค

ประโยคในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันดังนี้ค่ะ

1. Simple sentence – คือประโยคความเดียว หลักการง่ายๆที่จะเป็น simple sentence ได้นั้นคือจะต้องมีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว พูดง่ายๆก็คือ มีประธานกับกริยาที่บ่งบอกแค่การกระทำอย่างเดียว ซึ่งประโยคใจความเดียวอาจจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.1 เป็นประโยคสั้นๆ ประกอบไปด้วยคำเพียงสองคำก็ถือว่าเป็น simple sentence แล้ว เช่น

  • Larry smiled.

1.2 จะเป็นประโยคยาวๆก็ได้แต่มีแค่กริยาหลักเพียงตัวเดียว เช่น

  • Larry who is my elder brother smiled happily with his friends.

** ส่วนที่ขีดเส้นใต้นั้นคือส่วนมาขยายตัวประธานและตัวกริยา ถึงแม้จะทำให้ประโยคยาวขึ้นแต่ใจความสำคัญก็ยังมีแค่ใจความเดียว

1.3 simple sentence อาจจะเป็นประโยคบอกเล่าหรือคำถามหรือปฏิเสธก็ได้ เช่น

  • Did Larry smile happily?
  • Larry didn’t smile happily with his friends.

2. Compound sentence – คือประโยคความรวม ซึ่งก็คือประโยคที่มีใจความสำคัญมากกว่า 1 ใจความ หรือมีประธานและกริยามากกว่า 1 ชุด โดยทั้งสองประโยคเชื่อมด้วยคำเชื่อมประเภท coordinating conjunction (and, but, or, so, for, nor, yet) และเมื่อแยกประโยคทั้งสองออกจากกันจะได้ประโยคที่มีใจความสมบูรณ์ ( Independent clause) เช่น

  • She’s poor, but she’s a good girl.
  • David got a lot of flowers in Valentine Day, for he is handsome and smart.
  • This morning, I went to the bank, and I had lunch with my friends.

3. Complex sentence – คือประโยคความซ้อน คือประโยคที่มีประธานและกริยามากกว่า 1 ชุด และเชื่อมด้วย subordinating conjunction (when, while, if, although, after, before, as, since, etc.) เมื่อแยกทั้งสองประโยคออกจากกันจะได้ประโยคหนึ่งที่มีใจความสมบูรณ์ อยู่ได้โดยอิสระ (Independent clause) และอีกประโยคหนึ่งจะมีใจความไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถอยู่ตามลำพังได้ (Dependent clause) ประโยคแบบหลังนี้มักจะมี subordinating conjunction นำหน้า เช่น

  • If I were you, I wouldn’t do that.
  • As we was walking home, the accident happened.
  • We watched TV together after we had had dinner.

4. Compound-Complex sentence – คือประโยคที่มีทั้งความรวมและความซ้อนอยู่ด้วยกัน ดังนั้นมันจึงประกอบไปด้วยประโยคที่มีใจความสมบูรณ์อย่างน้อย 2 ประโยค และประโยคที่มีใจความไม่สมบูรณ์อีก 1 ประโยค เช่น

  • Timmy forgot his wife’s birthday, so he gave her a very wonderful gift when he finally remembered.
  • Although I don’t like cake, I bought coffee cake from the mall, and I like it so much.

Collocation คืออะไร?

collocation ในภาษาอังกฤษ

Collocation คืออะไร?

คนไทยส่วนใหญ่เรียนภาษาอังกฤษโดยเน้นเรียนไวยากรณ์ และเน้นท่องคำศัพท์เป็นคำๆ แต่จริงๆแล้วเจ้าของภาษาเขาเรียนคำศัพท์กันเป็นเซตๆ เป็นกลุ่มๆค่ะ ว่าคำไหนใช้กับอะไร ซึ่งถือเป็นข้อผิดพลาดของคนไทยเพราะเมื่อเราเรียนคำศัพท์กันแบบแยกเป็นคำๆ พอนำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษเราก็จะนำคำมาเรียงต่อๆกันให้ได้ความหมายที่เราต้องการโดยเราจะไม่รู้เลยว่าจริงๆแล้วเจ้าของภาษาเขาใช้กันอย่างไร และเรื่องที่กำลังจะพูดถึงต่อไปนี้คือเรื่อง collocation

Collocation คือ คำหรือกลุ่มคำ ที่ต้องใช้ร่วมกันเสมอ หรือภาษาพจนานุกรมเขาให้ความหมายไว้ว่า “คำปรากฏร่วม”   เช่นในภาษาอังกฤษ เวลาจะบอกว่า “ลมแรง” เขาใช้คำว่า strong wind จะใช้ heavy wind ไม่ได้     แต่พอ “ฝนตกหนัก” เขาก็ใช้คำว่า heavy rain   หรืออย่างคำว่า “กาแฟแก่หรือรสเข้มข้น” เขาก็ใช้ strong coffee ถ้าเราแปลตรงตัวอาจจะใช้คำว่า old coffee ก็ได้ 555 ซึ่งแน่นอนว่าผิดความหมายไปไกลแน่ๆ คำที่ใช้คู่กันในความหมายใดความหมายหนึ่งแบบนี้แหละค่ะที่เขาเรียกว่า collocation ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากๆในการเรียนรู้คำศัพท์และแต่งประโยค เพราะเราจะใช้ภาษาได้เหมือนเจ้าของภาษาจริงๆ

มีการจำแนก collocation ออกเป็นประเภทดังนี้ค่ะ

1. grammatical collocation หมายถึง วลีที่ประกอบด้วยคำหลัก (อาจเป็นคำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำกริยา) ปรากฏคู่กับคำบุพบทหรือโครงสร้างไวยากรณ์อื่นๆเช่น infinitive หรือ อนุประโยค ตัวอย่างเช่น

1.1 คำนามเป็นหลัก

  • noun + preposition เช่น    news about, interest on,  reason for,   satisfaction with,   attempt to

1.2 คำคุณศัพท์เป็นหลัก

  • Adjective + preposition ในกลุ่มนี้มักจะพบบ่อย และเราต้องรู้ว่า adjective ตัวนี้ใช้คู่กับ preposition อะไร เช่น  angry at,  responsible for, interested in, afraid of,  satisfied with
  • Adjective + infinitive   เช่น  ready to,  easy to

1.3 คำกริยาเป็นหลัก เช่น

  • Verb + preposition  เช่น    adhere to,  run out of, apply for,  rely on, deal with, wait for, believe in,  sorry for
  • Verb + infinitive      เช่น     offer to,   want to
  • Verb + that clause  เช่น    suggest that…. ,  think that…

2. lexical collocation หมายถึง กลุ่มคำที่ปรากฏร่วมกันประเภทที่นอกเหนือจากประเภทแรกมักประกอบด้วยคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ เช่น

  • noun of noun   เช่น     a bouquet of flower,   a flock of sheep,    bars of soap
  • Verb + noun     เช่น     make mistake,  break the law, commit a crime,   make a wish, make a living,  keep secret
  • Adjective + noun เช่น       heavy smoker, express bus,   strong supporter,  express mail
  • noun + noun  เช่น     light source, land reform
  • noun + verb  เช่น     light shines,  plane takes off
  • verb + adverb   เช่น     argue heatedly

** ที่อธิบายมานี้เพื่อให้เข้าใจความเป็น collocation ว่าหมายถึงอะไร และเหตุใดจึงมีความสำคัญ ในครั้งต่อไปถ้าอยากจะเรียนรู้คำศัพท์ก็ให้จำเป็นเซตๆไปเลยดีกว่านะคะ ^^

ว่าด้วยเรื่องของ like

ว่าด้วยเรื่องของ like

ว่าด้วยเรื่องของ like

เวลาที่เราเจอคำว่า like เนี่ยอย่าไปคิดว่ามันแปลว่า “ชอบ” ไปซะหมดนะคะ เพราะมันยังมีความหมายอื่นๆอีกค่ะ แล้วไหนจะญาติโกโหติกาของ like จำพวก alike, unlike, likely อีก พวกนี้ก็ตัวปัญหาเหมือนกัน เพราะแต่ละตัวก็ดันใช้ไม่เหมือนกันอีก ** เรื่องนี้พวกข้อสอบ ONET, GAT หรือสอบภาษาอังกฤษทั้งหลายชอบเอามาออกนักแล** มาตีแผ่เรื่อง like กันดีกว่า เริ่มด้วยคำว่า like ก่อนเลยแล้วกัน

1. like
Like เป็นได้ทั้ง คำกริยา (verb) คำคุณศัพท์ (adjective) และคำบุพบท (preposition) ถ้าชนิดของคำต่างกัน ความหมายก็จะแตกต่างกันไปนะคะ ลองเปรียบเทียบจากประโยคด้านล่าง

  • She is like her mother.
  • She likes eating meat like chicken, beef, and lamb.

มาดูกันสิว่า like ตัวไหน ทำหน้าที่อะไรและมีความหมายว่าอย่างไรกันบ้าง

ในประโยคแรก like เป็น adjective เพราะตามหลัง Verb to be แปลว่า “เหมือน” ค่ะ ดังนั้นประโยคแรกจึงแปลว่า

“เธอเหมือนแม่ของเธอ”

ประโยคที่สอง มี like อยู่สองตัว ตัวแรกทำหน้าที่เป็น verb ในประโยค เพราะมีการผันตาม tense คือ เติม s ตามกฎของ present simple tense แปลว่า “ชอบ” ส่วนตัวที่สอง ทำหน้าที่เป็น preposition ที่เชื่อมระหว่าง noun กับ noun แปลว่า “เช่น, ตัวอย่างเช่น” ดังนั้นประโยคนี้จึงแปลว่า         “เธอชอบกินเนื้อเช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว และเนื้อแกะ”

ตัวอย่างอื่นๆ เช่น

  • Like his brother, Harry rides a bicycle to school. (ประโยคนี้ like ทำหน้าที่เป็นบุพบท)
    เช่นเดียวกับพี่ชายของเขา แฮรี่ขี่จักรยานไปโรงเรียน
  • He makes me feel like a princess.
    เขาทำให้ฉันรู้สึกเหมือนเจ้าหญิง

2. alike
เป็นได้ทั้งคำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์ค่ะ แปลว่า “เหมือน, เช่นเดียวกับ, อย่างเดียวกับ” แต่ถ้า alike ตัวนี้เป็น adjective จะไม่สามารถนำมาวางไว้หน้าคำนามได้ ดังนั้นมันจึงต้องตามหลัง verb to be หรือ linking verb เท่านั้น ส่วนใหญ่เรามักจะเห็นมันอยู่ท้ายประโยค เช่น

  • Monkeys and gibbons are alike.
    ลิงกับชะนีนั้นคล้ายกัน
  • Nana and Neena are alike because they are twins.
    นาน่ากับนีน่าหน้าตาเหมือนกันเพราะพวกเขาเป็นฝาแฝดกัน
  • These rules apply to everybody alike.
    กฎพวกนี้บังคับใช้กับทุกคนเหมือนๆกัน

** ประโยคนี้ alike เป็น adverb

3. unlike
เป็นได้ทั้งคำคุณศัพท์และคำบุพบท มีความหมายว่า “ไม่เหมือน, แตกต่าง”

  • The sisters are quite unlike.
    พี่น้องคู่น้องไม่ค่อยจะเหมือนกันเลย
    (ในประโยคนี้ unlike ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์เพราะตามหลัง verb to be)
  • Unlike other cars, beetle has a very unique style.
    ไม่เหมือนกับรถคันอื่นๆทั่วไป รถเต่าจะมีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเอง
    (ในประโยคนี้ unlike ทำหน้าที่เป็น คำบุพบท )

4. likely
มาถึงตัวสุดท้าย   likely จะเป็นได้ทั้ง adjective และ adverb แปลว่า “มีแนวโน้มว่า,   มีท่าทางว่า, น่าจะเป็นไปได้ว่า” เช่น

  • He’s likely to be late so you should tell him again that the meeting is at eight.
    เขาน่าจะมาสาย ดังนั้นคุณน่าจะบอกเขาอีกครั้งว่าการประชุมมีตอนแปดโมงเช้า
  • Smallpox was likely present in Europe by about 300 CE.
    โรคฝีดาษเป็นไปได้ว่าจะมีอยู่ในยุโรปช่วงปี ค.ศ. 300

** แค่ like ตัวเดียวแต่แตกแขนงออกได้ไปอีกหลายคำเลย เพราะฉะนั้นเราถึงได้บอกว่าภาษาอังกฤษมันดิ้นได้ ^^

การใช้ here และ there

การใช้ here และ there

การใช้ here และ there

คำว่า here กับ there ทั้งสองคำนี้พื้นเพของมันคือ adverb of place หรือคำกริยาวิเศษณ์บอกตำแหน่ง/ สถานที่ here แปลว่า “ที่นี่” there แปลว่า “ที่นั่น” ตัวอย่างประโยค เช่น

  • Susan isn’t there. I don’t know where she is.
    ซูซานไม่ได้อยู่ที่นั่น ฉันไม่รู้ว่าเธออยู่ที่ไหน
  • Is anybody here?
    มีใครอยู่ที่นี่มั้ย
  • Come over here and sit down with us.
    มานี่สิ มานั่งรวมกับพวกเราสิ

โดยทั่วไป here กับ there ก็จะจับจองตำแหน่งท้ายประโยคเอาไว้ คือ วางไว้หลังสุด แต่ในบางครั้งเราจะเห็น here กับ there โผล่มาขึ้นต้นประโยคบ้าง จุดประสงค์เพื่อเน้นใจความ เป็นการพูดคล้ายๆประโยคอุทาน ซึ่งความหมายนั้นก็ต้องดูตามสถานการณ์    โดยมีโครงสร้างดังนี้ค่ะ

  1. Here / There + Verb (be / come / go) + Noun
  2. Here / There + Pronoun + Verb (be / come / go)

ตัวอย่างโครงสร้างแบบที่ 1

  • Here comes Alice!
    นี่ๆไง อลิซมาแล้ว

(คนพูดอาจจะเห็นอลิซเดินมาแต่ไกล จึงพูดเป็นการเน้นบอกว่า อลิซมานั่นแล้ว และในที่นี่กริยาที่ตามหลัง Alice ก็ต้องเติม s ด้วยเพราะ Alice เป็นประธานเอกพจน์)

  • Hurry up! There goes the train!
    รถไฟมานั่นแล้วไง

สำหรับคำว่า There goes อาจจะหมายถึงจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ได้ เช่น

  • There goes our love again.
    รักของเราพังลงอีกครั้ง
  • There goes my diet.
    ฉันเริ่มงดอาหารอยู่
  • There goes our bus. I’ll have to walk.
    รถเมล์ไปนู่นแล้ว คงต้องเดินแล้วแหละ
  • There is the prince!
    นั่นไง เจ้าชาย

(There ในที่นี้ หมายถึง over there แปลว่า “ที่นั่น” อย่าสับสนกับ there is / there are ที่แปลว่า “มี” นะคะ)

ตัวอย่างโครงสร้างแบบที่ 2

  • Here it is.
    นี่ไง

(ใช้พูดเวลาที่เรายื่นสิ่งของให้คนอื่น)

  • There she is.
    นั่นไง เธออยู่นั่นไง

บางครั้งภาษาก็มีลูกเล่นเพื่อให้เกิดความสละสลวย สร้างอารมณ์ความรู้สึกขณะพูดหรือเขียน ภาษาอังกฤษก็ไม่ยกเว้นเช่นกัน ดังนั้นนอกจากต้องเรียนประโยคธรรมดาสามัญแล้วยังต้องเรียนประโยคในลักษณะนี้ด้วย เพื่อความเข้าใจในตัวภาษาอย่างถ่องแท้นะคะ ^^

คำขยาย adjectives และ adverbs

คำขยาย adjectives และ adverbs

Modifiers of Adjectives and Adverbs

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า modifier กันก่อน modifier หมายถึง “คำขยาย” ในที่นี้เรากำลังพูดถึงคำขยายที่นำมาขยายความคำคุณศัพท์ (adjective) หรือคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ซึ่งก็คือ คำกริยาวิเศษณ์นั่นเองค่ะ หน้าที่ของกริยาวิเศษณ์นั้นคือขยายคำกริยา, คำคุณศัพท์และขยายตัวมันเองก็ได้คือกริยาวิเศษณ์   กริยาวิเศษณ์หรือ adverb ที่ใช้ขยายคำคุณศัพท์และกริยาวิเศษณ์ส่วนใหญ่จะเป็น adverb of degree คือคำที่บอกระดับมาก มากที่สุด ที่สุด เช่น very, so, pretty, fairly, quite, rather, exactly, too, as, more, most คำพวกนี้เวลานำไปขยายจะวางไว้หน้าคำคุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์ที่มันไปขยาย ตัวอย่างเช่น

  • Samantha is pretty bossy.
    ซาแมนธาค่อนข้างจะชอบทำตัวเป็นเจ้านาย

(pretty ในประโยคนี้ไม่ได้เป็น Adj. ที่แปลว่า น่ารักนะคะ แต่ในประโยคทำหน้าที่เป็น adv. แปลว่า “ค่อนข้าง” มีความหมายเหมือน quite และ rather ค่ะ ในประโยคนี้ pretty ขยายคุณศัพท์คำว่า bossy)

  • It’s not too late to apologize.
    มันยังไม่สายเกินไปที่จะขอโทษ
  • You’re so nice.
    คุณเป็นคนน่ารักมากๆ
  • This is rather strange.
    เรื่องนี้มันค่อนข้างแปลกๆนะ

ตัวอย่างที่ขยาย adv. เช่น

  • He speaks German very well.
    เขาพูดภาษาเยอรมันได้ดีมาก
  • Sofia comes here quite often.
    โซเฟียมาที่นี่ค่อนข้างบ่อย

นอกจากนี้ยังมี Adverb ตัวอื่นๆที่ใช้ขยายคุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์ได้อีก เช่น entirely, completely, perfectly, thoroughly, extremely, particularly, tremendously, extraordinarily, wonderfully, awfully, frightfully เช่น

  • The trip was extremely exciting.
    ทริปนั้นน่าตื่นเต้นสุดๆไปเลย
    (extremely ขยาย adj. คำว่า exciting )
  • This organization relies entirely on voluntary donations.
    องค์กรนี้อยู่มาได้โดยอาศัยเงินที่ได้รับบริจาคมาทั้งหมด

** Adjective สามารถใช้ prepositional phrase หรือ บุพบทวลีมาขยายก็ได้ บุพบทวลีคือ กลุ่มคำที่ขึ้นต้นด้วยคำบุพบท เช่น

  • In the past, most wives were dependent on their husbands.
    ในอดีต ภรรยาส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาสามี
  • He is good at English but weak in mathematics.
    เขาเก่งภาษาแต่อ่อนคณิตศาสตร์
  • It’s not easy to understand.
    มันไม่เรื่องง่ายเลยที่จะเข้าใจ
  • He is a man difficult to deal with.
    เขาเป็นคนที่ยากจะรับมือด้วย

การใช้ no matter…

การใช้ no matter…

การใช้ no matter…

คำว่า no matter เป็นคำเชื่อม หรือ conjunction ตัวหนึ่งค่ะ แปลได้เก๋ๆว่า

“ไม่ว่าจะ…….”   แต่รู้จักแล้ว รู้ความหมายแล้ว แต่ปัญหาคือเวลาจะนำไปใช้ ใช้ยังไง? เวลาเจอประโยคที่มี no matter ถ้าลองสังเกตดูจะเห็นว่ามันมักจะอยู่คู่กับ wh-question word ตลอดเวลา ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าโครงสร้างการใช้ no matter จะเป็นแบบนี้ค่ะ

No matter + wh-question word + sentence

ตัวอย่างประโยค เช่น ถ้าเราต้องการจะเขียนประโยคว่า “ไม่ว่าเธอจะเป็นใคร ฉันก็จะรักเธอ” (Wowwww ^^) จะเขียนโดยใช้ no matter ได้อย่างไรมาดูกันค่ะ

เริ่มแรกเลยก็เอา No matter มาขึ้นต้นประโยค   จากนั้นมองหาคำที่เป็น wh-question word ในประโยคก็ไปจ๊ะเอ๋กับคำว่า “ใคร” ซึ่งก็คือ who

No matter who……

พอได้มาถึงตรงนี้ปุ๊บ เอาที่เหลือคือ “เธอจะเป็น…” ใส่เข้าไปเล้ยยยย กลายเป็น

No matter who you are, I will love you.

ได้ประโยค no matter มาใช้สบายอุราแล้ว หรือจะสลับเอาประโยคหลังมาไว้ด้านหน้าก็ไม่ผิดก็จะกลายเป็น I will love you no matter who you are. แต่ comma จะหายไปแค่นั้นเอง

มาดูตัวอย่างประโยคอื่นๆกันค่ะ

  • No matter what I say, he always listens.
    ไม่ว่าฉันจะพูดอะไร เขาก็มักจะฟังเสมอ
  • No matter where you are, I can feel that you stay by my side.
    ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน ฉันก็รู้สึกได้ว่าคุณอยู่ข้างๆฉันตลอด
  • No matter how I explain it, he doesn’t understand.
    ไม่ว่าฉันจะอธิบายอย่างไร เขาก็ไม่เข้าใจ

** การใช้ how นะคะ อาจจะมีอีกแบบหนึ่งคือ how + adjective เช่น how hard มีความหมายว่า ยากเย็นแค่ไหน หรือ how long, how cold, etc.

  • No matter how hard you try, you won’t get it.
    ไม่ว่าคุณจะพยายามหนักแค่ไหน คุณก็จะไม่ได้มันไปหรอก
  • No matter how long it takes, I’ll wait for her.
    ไม่ว่าจะต้องใช้เวลานานแค่ไหน ฉันก็จะรอเธอ

** บางครั้งเราอาจจะเจอคำว่า no matter what อย่างเดียว แบบนี้ก็ใช้ได้ค่ะ มันมาจากประโยคเต็มว่า no matter what happens แปลว่า “ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น”

  • Don’t give up no matter what.
    อย่ายอมแพ้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
  • I’ll stay by your side no matter what.
    ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นฉันก็ยังจะยืนอยู่ข้างเธอ

สุดท้ายนี้ No matter how hard English is, I’ll never give up learning. “ไม่ว่าภาษาอังกฤษจะยากสักแค่ไหน ฉันก็จะไม่เลิกเรียนเด็ดขาด” ^^