Category Archives: ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

กริยาแบบ Finite and Non-finite verb

Finite and Non-finite verb

Finite and Non-finite verb

คำกริยาในภาษาอังกฤษถ้าแบ่งตามหน้าที่จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. Finite verb (กริยาแท้)
2. Non-finite verb (กริยาไม่แท้)

1. Finite verb (กริยาแท้) คือ กริยาที่ทำหน้าที่แสดงอาการหรือการกระทำของประธานในประโยค ลองนึกภาพดูว่าในประโยคใดประโยคหนึ่งอาจจะมีคำที่มีรูปร่างหน้าตาเป็นคำกริยาปรากฎอยู่มากกว่า 1 คำ แต่จะมีกริยาเพียงตัวเดียวที่เป็นกริยาแท้ในประโยค เป็นกริยาของประธานในประโยค  กริยาที่เป็น finite verb จะสามารถผันรูปได้ตาม subject, Tense, mood และ voice เช่น

ผันตาม Tense

  • I am not playing game, but I am doing homework.
    (ผันเป็น verb ที่เติม ing ตาม present continuous tense)
  • They have just finished their work.
    (ผันเป็น verb ช่อง 3ตาม present perfect tense)

ผันตาม subject

  • She goes to work by car every day. (ประธานเอกพจน์)
  • Many people like going abroad.   (ประธานพหูพจน์)

ผันตาม voice

  • Sarah told me her secret.   (active voice)
  • I was told about this matter many times. (passive voice)

ผันตาม mood

  • I recommended that he see a doctor. (subjunctive mood)    **ไม่ใช่ he sees

2. Non-finite verb (กริยาไม่แท้) คือ กริยาที่จะไม่ผันตาม tense, subject, mood หรือ voice และจะทำหน้าที่อย่างอื่นในประโยค จะไม่ทำหน้าที่เป็นกริยา   กริยาไม่แท้ในภาษาอังกฤษจะมี 3 ประเภท คือ

2.1 gerund คือ กริยาที่เติม ing (Ving) ทำหน้าที่เป็นคำนามในประโยค  เช่น

  • Smoking isn’t allowed here.
  • I try to avoid meeting him.

2.2  to infinitive คือ กริยารูปธรรมดาที่ตามหลัง to ทำหน้าที่เป็นคำนามในประโยค เช่น

  • The best way to live happily in the society is to be open-minded.
  • To love is to risk.

2.3 participle คือกริยาที่เติม –ed หรือเป็นกริยาช่อง 3   ทำหน้าที่เป็นเหมือนคำคุณศัพท์คือขยายประธานในประโยค เช่น

  • Let a sleeping dog lie.
    อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน
    (เป็นสำนวนสุภาษิต หมายถึง อย่าหาเรื่องใส่ตัว )
  • He’s driving a rented car.
    เขากำลังขับรถคันที่เช่ามา

** ในประโยคหนึ่งอาจจะมีกริยาหลายตัว เราจะต้องแยกให้ได้ว่า กริยาใดเป็นกริยาแท้ในประโยคและกริยาใดเป็นกริยาไม่แท้ เพื่อที่เวลาแปลความหมายจะได้ไม่สับสน

  • She wants to know you.
    ในประโยคนี้ กริยาแท้คือ คำว่า wants ซึ่งมีการผันตามประธานที่เป็นเอกพจน์ ส่วน to know เป็นกริยาไม่แท้ ที่เป็น to infinitive

** การรู้จักกริยาแท้และกริยาไม่แท้มีส่วนช่วยในการทำความเข้าใจกับการอ่านเป็นอย่างมาก เพื่อให้ความเข้าใจในเนื้อเรื่องไม่คลาดเคลื่อนค่ะ

หลักการใช้ must กับ have to ใช้ต่างกันอย่างไร

must กับ have to ใช้ต่างกันอย่างไร

หลักการใช้ must กับ have to ใช้ต่างกันอย่างไร

ทั้ง must และ have to ใช้เพื่อแสดงความจำเป็นในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเหมือนกัน แต่มีวิธีการใช้เหมือนกันเล็กน้อยค่ะ แต่โครงสร้างประโยคในการใช้ must กับ have to เหมือนกันคือ ต้องตามด้วย verb infinitive หรือ กริยารูปธรรมดา ไม่ผัน ไม่เติม

must + verb (infinitive)
have to + verb (infinitive)

  • I must quit smoking.                  ฉันต้องเลิกสูบบุหรี่
  • I have to quit smoking.              ฉัน(จำเป็น)ต้องเลิกสูบบุหรี่

สองประโยคนี้แปลว่า ต้องเลิกสูบบุหรี่ เหมือนกัน แต่เราจะใช้ must ในกรณีที่เราคิดว่าสิ่งนั้นจำเป็นต้องทำ เป็นความเชื่อหรือเป็นความคิดของเราเองที่คิดว่ามันจำเป็นต้องทำ
แต่ have to นั้นใช้ในกรณีที่สถานการณ์เป็นตัวบังคับให้เราจำเป็นต้องทำ ซึ่งบางที่เราอาจจะไม่อยากทำ อาจจะเป็นกฎ หรือข้อบังคับให้ทำ เช่น

  • You have to stop eating salty food.
    คุณจำเป็นต้องเลิกกินอาหารรสเค็ม
    (อาจจะเป็นคำสั่งหมอที่ให้เลิกกินอาหารรสเค็ม)

ลองมาเปรียบเทียบกับการใช้ must ในประโยคข้างล่างค่ะ

  • You must stop eating salty food.
    คุณต้องเลิกกินอาหารรสเค็มได้แล้ว
    (อาจจะเป็นความคิดของผู้พูดเองว่า อีกฝ่ายต้องเลิกกินอาหารเพราะถ้ากินอาหารรสเค็มมากเกินไปจะทำให้เป็นโรคได้)
  • Must I go now?
    ฉันต้องไปตอนนี้เลยมั้ย
  • Do they have to pay the money?
    พวกเขาต้องจ่ายเงินมั้ย

*** แต่ถ้าเป็นประโยคปฏิเสธจะมองเห็นความแตกต่างได้ชัด ดังนี้ค่ะ

  • must not หรือ mustn’t แปลว่า จะต้องไม่(เป็นกฎหรือข้อบังคับที่ห้ามให้ปฏิบัติ)
  • don’t have to หรือ doesn’t have to แปลว่า ไม่จำเป็นต้อง (จะทำหรือไม่ทำก็ได้)

รูปปฏิเสธและคำถามของ have to ต้องใช้ verb to do เข้ามาช่วย จะเติม not ข้างหลังไปเลยเหมือน must ไม่ได้ ตัวอย่างประโยค เช่น

  • You mustn’t park here. It’s not allowed.
    คุณไม่ได้รับอนุญาตให้จอดรถที่นี่
  • The students mustn’t wear shoes in the classroom.
    นักเรียนจะต้องไม่ใส่รองเท้าในห้องเรียน
  • We don’t have to wear uniform on Friday.
    พวกเราไม่จำเป็นต้องใส่ชุดเครื่องแบบในวันศุกร์
  • He doesn’t have to tell me what happened. Someone has already told me.
    เขาไม่จำเป็นต้องบอกฉันก็ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น มีคนบอกฉันแล้ว

** สรุปคือmust กับ have to ในรูปประโยคบอกเล่าและคำถาม จะมีความหมายใกล้เคียงกันหรือต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ในประโยคปฏิเสธจะมีความหมายที่ต่างกันอย่างชัดเจนค่ะ

like กับ would like มันไม่เหมือนกันนะ!

like กับ would like มันไม่เหมือนกันนะ!

like กับ would like มันไม่เหมือนกันนะ!

บางคนคิดว่า like กับ would like น่าจะแปลเหมือนๆกัน เพราะมันก็ like เหมือนๆกัน ถ้าคุณคิดอย่างนั้น….คุณคิดผิดค่ะ!! เพราะสองคำนี้มันมีความหมายต่างกันเลย และใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกันด้วย

** likeแปลว่า ชอบ มักตามด้วยคำกริยาที่เติม ing (Ving) หรือที่เรียกว่า gerund หรือตามด้วย to infinitive (to + Verb) ก็ได้

like + Ving
like + to + V. infinitive

เช่น

  • I like eating chocolate cake.
    ฉันขอบกินเค้กช้อคโกแลต
  • She likes wandering around the city alone.
    เธอชอบเดินเตร่ๆไปรอบเมืองคนเดียว
  • They like to swim in the lake on Saturday.
    พวกเขาชอบว่ายน้ำในทะเลสาบในวันเสาร์

** would likeหมายถึง อยากจะ หรือ ต้องการ

would like + to + verb
would like + Noun

เช่น

  • I would like to go sightseeing this old city before we go back.
    ฉันอยากจะไปเที่ยมชมเมืองเก่านี้ก่อนที่เราจะกลับ
  • I’m so thirsty. I would like some water.
    ฉันกระหายน้ำมากๆ ฉันอยากได้น้ำสักหน่อย
  • Would you like some tea or coffee?
    คุณอยากได้ชาหรือกาแฟสักหน่อยมั้ย

บางคนอาจจะเห็น would like ในรูปย่อแบบนี้ก็ได้ คือ ‘d like เช่น

  • I’d like to take a leave tomorrow because I feel not well today.          ฉันอยากจะลาหยุดวันพรุ่งนี้เพราะว่าวันนี้ฉันรู้สึกไม่ดีเลย
  • He would like to speak English but he doesn’t have an environment for English talking.
    เขาอยากจะพูดภาษาอังกฤษ แต่เขาไม่ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่พูดภาษาอังกฤษ

*** would like มีความหมายเหมือนกับ want คือแปลว่าต้องการ หรือ อยาก เหมือนกัน เพียงแต่ would like จะฟังดูสุภาพกว่าเท่านั้นเองค่ะ

กริยา action verb & stative verb

กริยา action verb & stative verb

action verb & stative verb

คำกริยาในภาษาอังกฤษมีเย๊อะแยะมากมาย เรารู้กันดีอยู่แล้วว่ากริยาคือคำที่แสดงการกระทำ แค่กริยาอย่างเดียวก็ถูกแบ่งเป็นกลุ่มได้หลายแบบ ในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. Action verb
  2. Stative verb

1. action verbหรือ บางคนเค้าก็เรียกว่า dynamic verb คือคำกริยาที่แสดงอาการ การกระทำ มีการขยับเขยื้อน เคลื่อนไหว พูดง่ายๆคือ เรานึกภาพออกว่าเขาทำกริยานั้นๆอย่างไร เช่น ถ้าบอกว่า เขากินข้าว เราก็นึกภาพออกว่าเขากำลังตักข้าวเข้าปาก   หรือ เขากระโดด เราก็เห็นภาพคนกำลังกระโดด   ที่มันได้ชื่อเก๋ๆมาอีกชื่อหนึ่งว่า dynamic verb เพราะคำว่า dynamic มันแปลว่า เคลื่อนไหว ไงล่ะคะ กริยากลุ่มนี้มีเยอะแยะ มากมาย ส่วนใหญ่ก็เป็นกริยาที่เราเรียนมากันตั้งแต่ประถมนั่นแหละค่ะ เช่น eat, drink, speak, write, catch, go, walk, watch, sit, hit, sleep, hold, etc. นี่แค่ตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพของ action verb เท่านั้นค่ะ

2. stative verbหรือบางครั้งเรียกว่า state verb หรือ abstract verb คือคำกริยาที่ไม่ได้แสดงการกระทำหรือการเคลื่อนไหว แต่เป็นกริยาที่แสดงสภาวะ คำกริยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม stative verb แบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังนี้ค่ะ

2.1 คำกริยาที่แสดงการรับรู้ แสดงถึงการใช้ประสาทสัมผัส ดู ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สึก คือ hear, see, smell, taste, feel ตัวอย่างประโยค เช่น

  • The roast chicken smells good.              ไก่ย่างกลิ่นหอมจัง
  • I heard someone crying outside.            ฉันได้ยินใครบางคนร้องไห้อยู่ข้างนอก

2.2 คำกริยาที่แสดงสภาวะทางความคิด เช่น believe, know, recognize, think, doubt, mean, remember, understand, forget, realize, suppose, etc.

  • I don’t know Jason, so I won’t invite him to my birthday party.
  • I recognized you as soon as you come into the room.

2.3 คำกริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของ เช่นbelong, own, have, possess

  • That is the only valuable thing I possess.         นั่นเป็นสิ่งมีค่าชิ้นเดียวที่ฉันมี
  • I don’t have any money left.                            ฉันไม่มีเงินเหลืออยู่เลย

2.4 คำกริยาแสดงอารมณ์หรือความรู้สึก เช่นlove, like, hate, mind, envy, wish, prefer, fear, surprise, astonish, etc.

  • I like her style.
  • I prefer tea to cake.

2.5 คำที่แสดงการวัดหรือการประมาณค่า เช่น weigh, cost, measure, contain, equal, etc.

  • This pack of sugar weighs more than that one. น้ำตาลถุงนี้หนักมากกว่าถุงนั้น
  • The ring costs 23,000 baht. แหวนวงนี้ราคา 23,000 บาท

2.6 คำกริยาแสดงสภาวะอื่นๆ เช่นverb to be (is, am, are), owe, seem, exist, require, etc.

  • I owe you a lot. ฉันเป็นหนี้คุณมากมายเหลือเกิน
  • It seems that you don’t understand me.   ดูเหมือนว่าเธอจะไม่เข้าใจฉัน

*** stative verb บางคำเป็นได้ทั้ง action verb และ stative verb ดังนั้นในการนำไปใช้จะต้องแยกนิดนึงว่า เป็นแบบไหนเพราะถ้าเป็นแบบ stative verb จะเอามาทำเป็น continuous tense หรือกริยารูปกำลังกระทำไม่ได้ เช่น

  • The cake tastes delicious. (stative verb) เค้กมีรสอร่อย
    (เราจะไม่พูดว่า The cake is tasting delicious. แปลว่า เค้กกำลังมีรสอร่อย แบบนี้ผิดค่ะ )
  • I’m tasting the soup. Let’s see if it’s too much salty. (action verb)
    ฉันกำลังจะชิมซุปถ้วยนี้ ดูสิว่าจะเค็มไปมั้ย

เมื่อแยกความแตกต่างระหว่าง stative verb และ action verb ได้แล้วก็ระมัดระวังเวลาใช้ด้วยนะคะ ^^

collective noun (สมุหนาม)

collective noun

collective noun (สมุหนาม)

Collective noun หรือ สมุหนาม คืออะไร? Collective noun ก็คือ คำนามที่ใช้เรียกบุคคลหรือสิ่งของที่เป็นกลุ่ม เป็นฝูง เป็นพวก หรือเป็นหมู่คณะ ตัวอย่างเช่น กลุ่มคน   โขลงช้าง ช่อดอกไม้ ฝูงหมาป่า ทีมฟุตบอล เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย เราจะแบ่ง collective noun ออกเป็น หมวดหมู่ของคน   หมวดหมู่ของสัตว์ และหมวดหมู่ของสิ่งของค่ะ วิธีการเขียนก็มักจะนำเอาคำที่บอกหมวดหมู่ (เช่น flock, cluster, herd, heap, group, etc.) มาไว้ข้างหน้า แล้วใส่ of ตามเข้าไป ตามด้วยคำนามทั่วไป ถ้าหากเป็นคำนามนับได้ก็จะเป็นรูปพหูพจน์ แต่ถ้าหากเป็นนามนับไม่ได้ก็จะเป็นรูปเดิม   ไม่ต้องเติม s/esอย่างนามพหูพจน์ มาดู collective noun ที่มักจะพบบ่อยกันค่ะ

หมวดหมู่คน

  • A group of students  นักเรียนกลุ่มหนึ่ง
  • An army of soldiers  ทหารหนึ่งกองทัพ
  • A choir of singers   คณะนักร้องคณะหนึ่ง
  • A crew of sailors   ลูกเรือกลุ่มหนึ่ง
  • A band of musicians นักดนตรีวงหนึ่ง
  • A gang of teenagers  วัยรุ่นแก๊งค์หนึ่ง
  • A crowd of people  คนหมู่หนึ่ง

หมวดหมู่สัตว์

  • A herd of cattle  วัวฝูงหนึ่ง
  • A flock of sheep  แกะฝูงหนึ่ง
  • A hive of bees   ผึ้งรังหนึ่ง
  • A flight of birds  นกฝูงหนึ่ง
  • A school of fish   ปลาฝูงหนึ่ง

หมวดหมู่สิ่งของ

  • A bunch of flowers ดอกไม้ช่อหนึ่ง
  • A cluster of stars  ดาวกลุ่มหนึ่ง
  • A heap of stones  หินกองหนึ่ง
  • A pack of sugar  น้ำตาลถุงหนึ่ง
  • A stack of wood  ไม้กองหนึ่ง

นอกจากการเขียนโดยใช้ of คั่นระหว่างคำบอกหมวดหมู่กับคำนามแล้ว ยังมีคำศัพท์บางคำที่มีความหมายเป็นกลุ่มก้อน หรือเป็นหมู่คณะอยู่ในตัวมันเองแล้ว เช่น

  • family  ครอบครัว
  • team   ทีม
  • jury คณะลูกขุน
  • party พรรคหรือคณะ
  • fleet กองเรือ
  • government  คณะรัฐบาล
  • mob หมู่คน
  • committee    คณะกรรมการ
  • class  ชั้น ชนิด
  • the public  สาธารณชน

การใช้ collective noun ในประโยคนั้นบางคนอาจจะสงสัยว่า มันมีความหมายเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ แล้วต้องผันกริยาเติม s/esมั้ย หรือใช้ is, are หรือจะ have หรือ has ดี จะใช้เลือกใช้กริยาเอกพจน์หรือพหูพจน์ดี อันนี้ขอบอกว่า เวลานำไปใช้ขึ้นอยู่กับความหมายที่ผู้ใช้ต้องการจะสื่อ ว่าต้องการจะให้หมายถึง กลุ่มๆเดียว หรือ แยกแยะออกไปเป็นรายคนหรือรายตัว เช่น

  • A flock of sheep is worth one million baht.
    แกะฝูงหนึ่งมีราคา 1 ล้านบาท
    (ผู้พูดใช้ในความหมายว่าแกะทั้งฝูง ไม่ได้แยกเป็นตัวๆ)
  • A flock of sheep are eating quietly in the fields.
    แกะฝูงหนึ่งต่างก็กำลังกินกันอย่างเงียบๆในทุ่งหญ้า
    (หมายถึงแกะแต่ละตัว แยกเป็นรายตัวในฝูง)
  • The committee has 20 members.
    คณะกรรมการมีสมาชิกทั้งหมด 20 คน
  • The committee are making their decision.
    คณะกรรมการ (แต่ละคน) กำลังตัดสินใจอยู่

เจาะลึกการใช้คำว่า even อย่างมืออาชีพ!!

เจาะลึกการใช้คำว่า even อย่างมืออาชีพ!!

เจาะลึกการใช้คำว่า even อย่างมืออาชีพ!!

ในภาษาพูดของภาษาอังกฤษ บางคนอาจจะเคยได้ยินเขาพูดคำว่า even ในประโยคกันบ่อยๆ even อย่างนั้น even อย่างนี้ even อย่างโน้น ถ้าเอามาพูดบ้างน่าจะเข้าท่าแห๊ะ น่าจะดูเหมือนเจ้าของภาษาเขาพูดกัน แต่ก่อนจะนำไปใช้ก็ต้องรู้จักความหมายและการนำไปใช้กันก่อนนะคะว่า even หมายความว่าอะไรได้บ้าง  มาดูที่ ความหมายง่ายๆ ของ even กันก่อนค่ะ

evenแปลว่า จำนวนคู่ก็ได้ เช่น

  • 24 is an even number.
    24 เป็นเลขจำนวนคู่
  • 51 isn’t an even number.
    เลข 51 ไม่ใช่เลขคู่

evenแปลว่า “เสมอ หรือ เท่ากัน” ก็ได้ เช่น

  • My mark and Janie’s mark are even.
    คะแนนของฉันกับคะแนนของเจนี่เท่ากัน
  • I was so upset after I had my hair cut. My new haircut isn’t even.
    ฉันหัวเสียมากๆเลยหลังจากไปตัดผมมา ผมทรงใหม่นี่ไม่เท่ากันเลย

คราวนี้มาถึงความหมายของ even ที่แปลย๊ากยากกันบ้าง เพราะบางทีไปเจอในประโยคก็ไม่รู้จะแปลมันว่าอะไร จริงๆ even เนี่ยไม่ได้มีไว้เท่ๆในประโยคอย่างเดียวนะคะ เพราะมันยังเป็นการพูดให้คนฟังเห็นภาพหรือเป็นการเน้นย้ำ พูดง่ายๆคือเพิ่มอรรถรสทางภาษานั่นเอง

evenถ้าแปลเป็นภาษาพูดของไทยก็จะแปลว่า “แม้แต่, แม้กระทั่ง, ขนาด” เช่น

  • Even Nathan who always comes early is late today.
    ขนาดอีตานาธานที่มาเช้าประจำ วันนี้ยังมาสายเลย
  • Can you see even the kids can do it? Why can’t you do it?
    เห็นมั้ยว่าแม้แต่พวกเด็กๆยังทำได้เลย แล้วทำไมคุณจะทำไม่ได้

evenแปลเป็นภาษาพูดแบบไทยๆ ได้อีกว่า “ด้วยซ้ำ” เป็นการเน้นความหมายของประโยคให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น

  • Martin didn’t even talk to me.
    มาร์ตินไม่คุยกับฉันเลยด้วยซ้ำ
  • How can I call you? I don’t even know your number.
    ชั้นจะไปโทรหาเธอได้ไง แม้แต่เบอร์โทรศัพท์ก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำ

เอาละค่ะ รู้การใช้ even กันอย่างนี้แล้วก็นำไปใช้กันได้เลยจ้า ^^

การใช้ yet

การใช้ yet

การใช้ yet

yet  เป็นคำศัพท์ที่มีหลายหน้าที่และหลายความหมาย เราอาจพบเจอ yet ได้ในหลายๆตำแหน่งของประโยค ฟังแบบนี้ปุ๊บก็อาจจะสงสัยว่ามันแปลว่าอะไรได้บ้าง มาดูกันเลยค่ะว่า yet ใช้อย่างไรได้บ้าง

—– yet แปลว่า “ยัง” —–

yet ในความหมายว่า “ยัง” นี้ เราจะเห็นบ่อยในประโยคปฏิเสธหรือประโยคคำถามของ perfect tense แปลว่า ยังไม่ได้ทำสิ่งนี้ หรือ ทำสิ่งนี้แล้วหรือยัง เช่น

  • Have they made up yet?     พวกเขาคืนดีกันหรือยัง
  • She hasn’t got married yet.   หล่อนยังไม่ได้แต่งงาน
  • Has she finished her work yet?    เธอทำงานเสร็จหรือยัง
  • I haven’t eaten anything yet.  ฉันยังไม่ได้กินอะไรเลย

*** แต่บางครั้งเราก็ใช้ใน present tense หรือ past tense ก็ได้ เช่น

  • Did you talk to him yet?      ได้คุยกับเขาแล้วหรือยัง
  • Do you have a car yet?          มีรถสักคันแล้วหรือยัง

—–yet แปลว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดยังไม่เกิดขึ้น—–

ในความหมายนี้อาจจะพบเจอได้ในสองรูปแบบคือ has yet to + verb กับ V. to be yet to + verb เช่น

  • Our attempt has yet to meet their expectation and we need to work harder.
    ความพยายามของเรายังไม่ตรงตามความต้องการของพวกเขาและเราจะต้องทำงานหนักให้มากขึ้น
  • The best moment is yet to come.
    ช่วงเวลาที่ดีที่สุดยังไม่มาถึง
  • His theory is yet to be confirmed.
    ทฤษฎีของเขายังไม่ได้รับการยืนยัน

—–yet ที่เป็นคำเชื่อมประโยค มีความหมายว่า “แต่” “อย่างไรก็ตาม” ——

  • We are totally different, yet we can get along well.
    พวกเราต่างกันมากแต่พวกเราก็เข้ากันได้ดี
  • My sister keeps complaining about the service of this restaurant. Yet, she comes here very often.
    พี่สาวฉันเอาแต่บ่นเรื่องการบริการของร้านอาหารร้านนี้ แต่เจ้าหล่อนก็มากินอาหารที่นี่อยู่บ่อยๆ

——yet ใช้ในความหมายว่า สิ่งๆนั้นเป็นที่สุด—–

  • This will be the most important information yet.
    นี่คงจะเป็นข้อมูลที่สำคัญที่สุดเลย (จนถึงตอนนี้)
  • His project is the best yet.
    โครงการของเขาดีที่สุด

—–yet ใช้ตามหลังคำบอกเวลา เพื่อบอกว่าสิ่งนั้นหรือสิ่งนี้จะเกิดขึ้นหรือจะเสร็จสิ้นนับจากนี้ไปอีกกี่วัน (เท่าระยะเวลาที่ yet ตามหลัง)——

  • The conference will be held for a week yet.
    การประชุมจะถูกจัดขึ้นเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์

—– yet ใช้ในประโยคเปรียบเทียบ เพื่อเน้นว่าสิ่งนี้ใหญ่กว่า ดีกว่า เล็กกว่า แพงกว่า หรืออื่นๆ กว่าอีกสิ่งหนึ่ง—–

  • The house is more expensive yet than any of the others we’ve looked for.
    บ้านหลังนี้แพงกว่าบ้านหลังไหนๆที่เราหาเลย

*** เจอการใช้ yet เข้าไปนี่ถึงกับมึนสักพักใหญ่ๆเลย ยังไงก็ลองค่อยทำความเข้าใจนะคะ

correlative conjunction คำเชื่อมคู่

คำเชื่อมคู่

correlative conjunction

Conjunction คือ คำสันธานหรือคำเชื่อมในภาษาอังกฤษ โดยปกติ conjunction จะแบ่งออกเป็น coordinating conjunction และ subordinating conjunction แต่มีคำเชื่อมอีกประเภทหนึ่งคือ correlative conjunction ซึ่งคือ คำเชื่อมคู่หรือคำเชื่อมที่ประกอบด้วยคำสองคำ โดยใช้เชื่อมประโยคที่มีระดับเท่ากันคือเป็น Independent clause ทั้งคู่ ตัวอย่างของ correlative conjunction มีดังนี้

1. either…or แปลว่า “ไม่…ก็” (ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง) โดยปกติระหว่าง either…or จะเป็น นามวลี หรือ ประโยคก็ได้ เช่น

  • Either the government or relevant organizations must be responsible for this matter.
    ไม่รัฐบาลก็องค์กรที่เกี่ยวข้องจะต้องรับผิดชอบกับเรื่องนี้
  • Either you’ll leave my house or I’ll call the police.
    คุณจะออกจากบ้านของฉันหรือจะให้ฉันเรียกตำรวจ
  • You must tell either your dad or your mom.
    คุณต้องบอกไม่พ่อก็แม่ของคุณ

2. neither…or แปลว่า “ไม่…และ” คือ ไม่ทั้งสองอย่าง ใช้ในความหมายที่เป็นปฏิเสธ เช่น

  • If the service is terrible, the customer will neither come nor buy products at your shop.
    ถ้าบริการไม่ดี ลูกค้าก็จะไม่มาและก็ไม่ซื้อสินค้าที่ร้านค้าคุณ
  • I normally neither do exercise nor eat healthy food, so I become overweight.
    ปกติฉันก็ไม่ได้ทั้งออกกำลังกายและกินอาหารที่มีประโยชน์ ฉันจึงอ้วน

** ประโยคที่มี neither…nor มีความหมายเป็นปฏิเสธอยู่แล้ว จึงไม่ต้องใส่คำที่แสดงความปฏิเสธลงไปซ้ำอีก
*** ลองเปรียบเทียบการใช้ either…or และ neither…nor จากสองประโยคนี้ค่ะ

  • Either Izumi or Nana will come with us.
    ไม่อิซูมิก็นานะจะไปกับเราด้วย
  • Neither Izumi nor Nana will come with us.
    ทั้งอิซูมิและนานะจะไม่ไปกับเรา

ข้อควรระวังในการใช้สองคำนี้คือกริยาจะต้องผันตามคำนามที่อยู่หลัง or หรือ nor เช่น

  • Either you or he is the representative of the school.
    ไม่คุณก็เขาที่จะเป็นตัวแทนของโรงเรียน

3. not only…but also แปลว่า   “ไม่เพียงแต่…แต่ยังอีกด้วย”

  • Parents not only want their children to be smart, but also to be good.
    พ่อแม่ไม่เพียงแต่ต้องการให้ลูกๆเป็นคนเก่งแต่ต้องการให้เป็นคนดีด้วย

4. Both…and แปลว่า “ทั้ง…และ”

  • Both my sister and my brother can speak French very well.
    ทั้งน้องชายและน้องสาวของฉันพูดฝรั่งเศสได้ดีทั้งคู่

5. whether…or แปลว่า “หรือไม่”

  • The meeting will be held whether you are free or not.
    การประชุมจะถูกจัดขึ้นไม่ว่าคุณจะว่างหรือไม่
  • I don’t know whether my boss is satisfied with my work.
    ฉันไม่รู้ว่าเจ้านายจะพอใจงานฉันหรือป่าว

** ตัวอย่างของ correlative conjunction ที่ยกตัวอย่างมานี้จะเป็นคำที่เจอบ่อย และแต่ละตัวก็มีความหมายแตกต่างกันไป ลองฝึกใช้ดูค่ะ

ความแตกต่างระหว่าง present perfect กับ present perfect continuous

present perfect กับ present perfect continuous

ความแตกต่างระหว่าง present perfect กับ present perfect continuous

เรื่อง Tense เป็นปัญหายุ่งยากในการเรียนภาษาอังกฤษมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Tense ที่ใกล้เคียงกันมักจะสร้างความสับสนเวลาใช้ว่าจะเลือกใช้ Tense ไหนดี แล้วมันต่างกันอย่างไร ในที่นี้จะเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง present perfect กับ present perfect continuous tense

โครงสร้างของสอง Tense นี้ก็ใกล้เคียงกัน คือ

Present perfect :  ประธาน + have / has + V3

Present perfect continuous : ประธาน + have / has + been + Ving

** จำง่ายๆว่า ถ้าเป็น continuous ปุ๊บจะต้องมี Ving อย่างแน่นอน

หลักการใช้ของทั้งสอง Tense นี้เนื่องจากว่ามันเป็น perfect tense ทั้งคู่ เหตุการณ์ที่มันจะเกี่ยวข้องด้วยก็จะเป็นเหตุการณ์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แต่!! Present perfect continuous tense จะเน้นความต่อเนื่องของเหตุการณ์มากกว่า ฉะนั้นจะเลือกใช้ tense ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับนัยยะของสิ่งที่เขาต้องการจะสื่อ โดยถ้าหากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบต่อเนื่อง หรือ “ทำแบบไม่หยุดพัก” ให้ใช้ present perfect continuous เพื่อที่คนฟังจะได้เห็นภาพของความต่อเนื่อง ลองเปรียบเทียบสองประโยคนี้ดูค่ะ

  • The children have studied for their exam since this morning. (present perfect)
  • The children have been studying for their exam since this morning. (present perfect continuous)

ประโยคแรก “เด็กๆอ่านหนังสือเตรียมสอบกันตั้งแต่เมื่อเช้า” คนฟังก็จะเห็นภาพว่าเด็กนั่งอ่านหนังสือกัน อาจจะอ่านบ้าง พักบ้าง เล่นบ้าง แต่อ่านกันตั้งแต่เช้าประโยคที่สอง แปลเหมือนกัน แต่คนฟังอาจจะเห็นภาพว่าเด็กๆนั่งอ่านกันมาตั้งแต่เช้าโดยไม่หยุดพักเลย คร่ำเคร่งจดจ่ออยู่กับหนังสือกันมาก

ดังนั้นลักษณะเหตุการณ์จะคล้ายคลึงกัน แต่สิ่งที่ผู้พูดต้องการจะสื่อออกมาหรือแฝงเอาไว้นั้นคือ “ความต่อเนื่อง”

ตัวอย่างอื่นๆ เช่น

  • It has rained for three hours.
    ฝนตกมา 3 ชั่วโมงแล้ว (อาจจะเป็นการตกตลอด 3 ชั่วโมงติดต่อกันหรือตกแบบตกๆหยุดๆก็ได้)
  • It has been raining for three hours.
    ฝนตกติดต่อกันมา 3 ชั่วโมงแล้ว (ตกแบบไม่ขาดสาย)

** แต่ในบางกรณีถ้าเป็นเหตุการณ์ที่เสร็จสิ้นแล้ว และไม่ได้มีการดำเนินมาอย่างต่อเนื่องแต่ผลลัพธ์ยังมีอยู่ Tense ที่ใช้จะเป็น present perfect  เพราะบางเหตุการณ์เกิดขึ้นแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น ใครบางคนทำแก้วแตก ระยะเวลาที่ทำแก้วแตกใช้เวลาไม่นาน จึงไม่แสดงถึงความต่อเนื่อง แต่ผลลัพธ์ของมันคือ แก้วใบนั้นแตกไปแล้ว ประโยคนี้จึงควรใช้ present perfect อย่างไม่ต้องสงสัย คือ Someone has broken the glass.

เกี่ยวเนื่องจากประเด็นนี้คือ ส่วนใหญ่ present perfect จะใช้ในเหตุการณ์ที่เสร็จสิ้นไปแล้ว และ present perfect continuous จะใช้กับเหตุการณ์ที่ดำเนินมาแต่ยังไม่เสร็จสิ้น เช่น

  • Robert has washed his car.
    โรเบิร์ตล้างรถแล้ว      (เหตุการณ์เสร็จแล้วอาจจะเห็นภาพเป็นรถใหม่เอี่ยมของโรเบิร์ตเพราะผ่านการล้างมาแล้ว)
  • Robert has been washing his car since 10 o’clock.
    โรเบิร์ตกำลังล้างรถของเขาอยู่ตั้งแต่ 10 โมง (ล้างมาตั้งนานแล้ว แต่ยังไม่เสร็จ อาจจะเห็นภาพโรเบิร์ตกำลังล้างรถอยู่)

** แต่ present perfect continuous ก็นำมาพูดถึงเหตุการณ์ที่เสร็จสิ้นแล้วได้เหมือนกัน เพื่อต้องการชี้ให้เห็นถึงร่องรอยหรือผลลัพธ์ของเหตุการณ์ว่าที่เป็นแบบนี้เพราะได้เกิดเหตุการณ์มาอย่างต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เช่น เพื่อนของคุณอาจจะทักว่า

  • You look tired.
    คุณดูเพลียๆนะ      คุณก็ตอบเพื่อนไปว่า
  • I haven’t been sleeping properly last night.
    เมื่อคืนนอนไม่ค่อยหลับเท่าไหร่ (คือเน้นว่าไม่ได้นอนหลับสนิทแบบต่อเนื่อง หรือหลับๆตื่นๆเลยดูเพลีย)

สรุปได้ว่า ประเด็นหลักที่ทั้งสอง Tense นี้ต่างกันคือ “ความต่อเนื่องของเหตุการณ์” ดังนั้นกริยาตัวใดที่ไม่แสดงความต่อเนื่อง เช่น arrive, stop, break เป็นต้น จึงเอามาใช้เป็น present perfect continuous ไม่ได้ และกริยาอีกกลุ่มที่นำมาใช้ใน present perfect continuous    ไม่ได้คือ กริยากลุ่มที่ไม่แสดงอาการการกระทำ (action verb) ซึ่งเป็นกริยาที่บอกความรู้สึก เช่น like, know, understand เช่น

  • Scientists have known about genetic coding in DNA since the early 1950.
    นักวิทยาศาสตร์ได้ล่วงรู้เกี่ยวกับรหัสของยีนในดีเอ็นเอมาตั้งแต่ปี 1950
  • I have liked this guy for 4 years.
    ฉันชอบผู้ชายคนนี้มา 4 ปีแล้ว

** แต่ปกติ present perfect continuous อาจจะไม่ค่อยได้ใช้เหมือน present perfect แต่ถ้าเราเข้าใจการใช้ present perfect continuous แล้วเราจะใช้ภาษาอังกฤษได้เหมือนเจ้าของภาษามากขึ้น

หลักการใช้ some กับ any

การใช้ some กับ any

หลักการใช้ some กับ any
some กับ any เป็นคำนำหน้าคำนามที่ใช้บอกปริมาณ แปลว่า “บ้าง หรือ จำนวนหนึ่ง” ทั้งสองคำนี้สามารถนำหน้าคำนามนับไม่ได้ และคำนามนับได้พหูพจน์ได้ เช่น

some milk               any coffee
some tourists         any students

เราจะใช้ some ในประโยคบอกเล่า เช่น

  • We have some milk in the fridge.
  • There are some books on the shelf.

some สามารถใช้ในกรณีที่เป็นประโยคคำถามได้ แต่จะเป็นประโยคคำถามที่ผู้ถามมั่นใจอยู่แล้วว่าเขาจะตอบ yes เช่น

  • Would you like some coffee?
  • Have you lost something?
  • Could I have some water, please?

สำหรับ any เราใช้ ในประโยคคำถามและประโยคปฏิเสธทั่วๆไป เช่น
ประโยคปฏิเสธ

  • I don’t have any money left.
  • There aren’t any birds in the tree.

** ประโยคปฏิเสธในที่นี้รวมไปถึงประโยคบอกเล่าที่มีคำที่มีความหมายในเชิงปฏิเสธ ถึงแม้ว่าจะไม่มีคำว่า not อยู่ในประโยคก็ตาม เช่น

  • I hardly ask for any help.
  • We can’t live without any water.

ประโยคคำถาม

  • Do you have any pens?
  • Have you found anything important?
  • Is there any coffee in the cup?

นอกจากนี้เรายังใช้ any ในกรณีที่เป็นเรื่องที่ไม่เจาะจง เช่น

  • Which dress would you like to wear to the party?
    คุณอยากใส่ชุดไหนไปงานปาร์ตี้
  • Any dress.
    ชุดไหนก็ได้

เรายังใช้ any กับประโยค If-clause ได้อีกด้วย เช่น

  • If anyone wants to answer the question, please raise your hand.
  • If anything goes wrong, I’ll cancel the project.