Category Archives: ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

วิธีการเติม ing ที่คำกริยา

วิธีการเติม ing ที่คำกริยา

วิธีการเติม ing ที่คำกริยา

1. เติม ing ท้ายกริยาช่องที่ 1 ได้ทันทีสำหรับกริยาทั่วไป เช่น

  • work — working
  • read — reading
  • watch — watching
  • sing — singing

2. คำกริยาบางพวกมีการเปลี่ยนแปลงรูปก่อนเติม ing พอจะสรุปเป็นกฏได้ดังนี้
2.1. คำพยางค์เดียว มีสระ (vowel) ตัวเดียว ลงท้ายด้วยพยัญชนะ (consonat) ตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะตัวท้ายเข้าไปอีก 1 ตัว เเล้วจึงเติม ing เช่น

  • run — running วิ่ง
  • stop — stopping หยุด
  • put — putting วาง
  • shut — shutting ปิด
  • stir — stirring คน(ผสมให้ทั่ว)
  • beg — begging ขอ,ขอร้อง

2.2 คำสองพยางค์ ซึ่งลงเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์ท้าย มีสระพยางค์ท้ายเพียงตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะตัวท้ายนั้นเข้าอีก 1 ตัว เเล้วจึงเติม ing เช่น Continue reading

ศัพท์กริยา3ช่อง [Tense]

ศัพท์กริยา3ช่อง (tense)

ศัพท์กริยา 3 ช่องที่ใช้บ่อย
คลิปที่1

คลิปที่2

*** คำกริยาบางตัวสามารถเป็นได้ทั้ง regular verbs(คำกริยาที่ผันด้วยการเติมed) และ irregular verbs(คำกริยาที่ผันโดยไม่ได้เติมed)

กริยาช่องที่ 1(ปัจจุบัน)กริยาช่องที่ 2(อดีต)กริยาช่องที่ 3(สิ่งที่ได้ทำแล้ว)ความหมาย
awakeawokeawokenตื่น
bewas, werebeenเป็น,อยู่,คือ
bearborebornทน
beatbeatbeatenตี
becomebecamebecomeกลายเป็น
beginbeganbegunเริ่ม
bendbentbentหัก, งอ
besetbesetbesetโอบล้อมรอบด้าน
betbetbetพนัน
bidbid/badebid/biddenประมูล
bindboundboundผูกติดกัน
bitebitbittenกัด
bleedbledbledเลือดออก
blowblewblownเป่า

Continue reading

คำกริยาในภาษาอังกฤษ (verb)

คำกริยาในภาษาอังกฤษ (verb)

คำกริยา (verb) คือคำบอกอาการหรือการกระทำ(action) หรือความมีอยู่เป็นอยู่ (being) เช่น run, buy, walk, hit, eat เป็นต้น

ตัวอย่างคำกริยา (https://elflearning.jp/)

อาจแบ่งคำกริยาได้ดังนี้
1. คำกริยาหลัก (Main Verbs)
1.1 กริยาที่มีการกระทำ (Action Verb) เช่น walk, feed, jump, toetip, catch, kick, swim,write, bark เป็นต้น
1.2 กริยาที่ไม่มีการกระทำ (No Action Verb) เช่น think, love, look, like, hate, consider เป็นต้น

Action and no Action Verbs

1.3 กรรมตรงและกรรมรองของกริยา(direct and indirect opject) โดย https://www.appuseries.com

***หากต้องการสื่อถึงอดีตกาลก็เพียงแค่เปลี่ยนรูปกริยาเป็นช่องที่2เท่านั้น

2. คำกริยา verb to be คือคำกริยาที่ต้องการสื่อถึงความหมาย เป็น อยู่ คือ นั่นเอง --> is, am, are, was, were (https://www.engvid.com) Continue reading

การออกเสียงคำกริยาที่เติมด้วย ed

การออกเสียงคำกริยาที่เติมด้วย ed

การออกเสียง (Pronunciation)
Regular Verbs เมื่อต้องการทำเป็นรูปอดีตกาลด้วยการเติม ed จะออกเสียงแตกต่างกันได้ 3 เสียง คือ /t/ /d/ /id/

1. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงไม่ก้อง (Voiceless) f, k, p และ s จะออกเสียง ed เป็น /t/ “เทอะ” เช่น
cooked, kissed, watched, finished, stopped, laughed เป็นต้น

2. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงก้อง(Voice) b, g, v, m, n, r, l (เมื่อลองเอามือสัมผัสที่ต้นคอดูเสียงจะสั่น) จะออกเสียง ed เป็น /d/ “เดอะ” เช่น rubbed, arrived, opened เป็นต้น

3. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วย t หรือ d ออกเสียง ed เป็น /id/ “อิด/ทิด” เช่น wanted, needed, visited เป็นต้น

 

 

วิธีการเปลี่ยนคำกริยาให้สื่อถึงอดีตกาลนั้นมี2รูปคือ
1. กริยาที่เปลี่ยนรูปเป็นอดีตกาลได้ด้วยวิธีเติม ed ต่อท้ายโดยตรง(regular verbs) โดยมีกฎเกณฑ์การใส่ ed ดังนี้

  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e ก็เติมแค่ d ต่อท้าย
  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y แต่หน้า y เป็นสระ ให้เติม ed ได้เลย
  • คำกริยาที่ลงท้างด้วยy แต่หน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยนyเป็น i แล้วเติม ed เช่น carried (carry)
  • คำกริยา1พยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ และหน้าพยัญชนะเป็นสละ(a,e,i,o,u) ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายอีก1ตัว แล้วเติม ed เช่น stopped, planned เป็นต้น ยกเว้น tax --> taxed, tow --> towed
  • คำกริยา2พยางค์ที่เน้นเสียง(stress)พยางค์หลัง และพยัญชนะหน้าพยางค์หลังเป็นสละ(a,e,i,o,u) ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายอีก1ตัว แล้วเติม ed เช่น refer --> referred, permit --> permitted เป็นต้น ยกเว้นคำกริยานั้นออกเสียงหนักที่พยางค์แรกให้เติม ed ได้เลย เช่น open --> opened, cover --> covered เป็นต้น
  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย c ให้เติม ked เช่น panicked เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น

  • love --> loved
  • work --> worked
  • worry --> worried
  • cry --> cried
  • play --> planned

2. คำกริยาที่เปลี่ยนรูปเป็นอดีตกาล ที่อยู่นอกเหนือกฎการเติมด้วยed (irregular verbs) ซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอน (ดูเพิ่มเติม ในกริยา3ช่อง) ตัวอย่างเช่น

  • sleep --> slept
  • sit --> sat
  • run --> ran

***ไม่ว่าจะเป็นคำกริยาแบบไหนขอเพียงเราใช้ความรู้สึกถึงช่วงเวลาที่เราต้องการจะสื่อ แล้วเลือกโครงสร้างที่สื่อถึงช่วงเวลานั้นใส่เข้าไป(ไม่ใช่เพียงท่องจำเพียงอย่างเดียว) เราก็จะสามารถสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติและอย่างเข้าใจ เช่น หากพูดกริยาวิ่ง ถ้าเราต้องการสื่อถึงการวิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ให้รู้สึกถึง ran เลย แทนการนึกถึง run แล้วก็มาเปลี่ยนเป็น ran เราก็จะสมารถใช้คำกริยาให้เหมาะกับกาลได้อย่างเข้าใจและไม่ผิด

การบอกเล่าเรื่องที่ผ่านไปแล้ว จบไปแล้ว [Past simple]

เล่าเรื่องที่ผ่านไปแล้ว จบไปแล้ว [Past simple]

ศัพท์ที่ควรรู้

  • consonant n. [คั๊นเสินเนิ่นทฺ] เสียงพยัญชนะ
  • vowel n. [ฝาวโอ็ลฺ] เสียงสระ (a letter representing a vowel sound, such as a, e, i, o, u.)
  • precede v. [พริซีดฺ] นำหน้า, อยู่ข้างหน้า
  • infinitive verb  คือคำกริยารูปปกติ (กริยาที่ไม่ได้เติม s, es, ed, หรือ ing ที่ท้าย)

การบอกเล่าเรื่องที่ผ่านไปแล้ว จบไปแล้วในช่วงเวลาหนึ่งในอดีต(Past simple) ตัวแปรสำคัญที่เราต้องใช้เมื่อต้องการสื่อถึงเรื่องในอดีตก็คือ กริยาช่องที่2 นั่นเอง โดยจะมีหรือไม่มีคำบอกเวลาอยู่ในประโยคก็ได้ เช่นคำว่า yesterday,this morning, ago, last night, last week, last month, last year เป็นต้น

1. ประโยคบอกเล่าถึงเรื่องราวในอดีตในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นอดีตไปแล้ว

  • เขาอยู่ที่บ้าน ==> He was at home.
  • เธอล้างรถของเธอ ==> She washed her car.
  • เขาไม่ได้ล้างรถของเขา ==> He didn’t wash his car.
  • เขาเล่นกีตาร์ ==> He played the guitar.
  • เขาไม่ชอบผักมาก่อน ==> He didn’t like vegetables before.
  • ฉันดูหนังเมื่อวานนี้ ==> I saw a movie yesterday.
  • เขาทำงานที่โรงภาพยนตร์หลังเลิกเรียน (แต่ก่อน) ==> He worked at the movie theater after school.
  • ผมเรียนภาษาไทยมาตอนที่ผมยังเป็นเด็ก ==> I studied Thai when I was a child.
  • เมื่อเดือนก่อนฉันเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ==> Last month, I traveled to Japan.
  • เมื่อวานนี้ฉันไม่ได้เดินทางไปเชียงใหม่ ==> yesterday, I didn’t travel to Chiang Mai.
  • ผมอาศัยอยู่ในจีนเป็นเวลาสองปี ==> I lived in China for two years. (Where do you live?)
  • เขาเรียนภาษาจีนเป็นเวลาสิบปี ==> He studied Chinese for ten years.
  • พวกเขานั่งอยู่ที่สนามหญ้าตลอดทั้งวัน ==> They sat at the lawn all day.
  • เราคุยกันทางโทรศัพท์เป็นเวลาห้านาที ==> We talked on the phone for five minutes.
  • คุณรอพวกเขานานเท่าไหร่ ==> How long did you wait for them?
  • พวกเรารอเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง ==> We waited for half and hour.

2. การถามถึงเรื่องในอดีต ที่ผ่านไปแล้ว

  • เมื่อวานคุณกินทุเรียนใช่ไหม ==> Did you eat durian yesterday?
  • เมื่อคืนคุณมีดินเนอร์ใช่ไหม ==> Did you have dinner last night?
  • สมัยที่คุณเป็นเด็ก คุณอยากเป็นอะไรเมื่อคุณโตขึ้น ==> When you were a kid, what did you want to be when you grew up?
  • คุณได้เล่นเครื่องดนตรีไหมตอนที่คุณเป็นเด็ก ==> Did you play a musical instrument when you were a kid?

3. เมื่อเล่าถึงเรื่องในอดีตและจบลงในอดีต ที่มีสองประโยคขึ้นไป โดยใช้คำเหล่านี้เชื่อมเข้าหากัน

  • แต่(ขัดแย้งกัน) ==> but
  • และ(สอดคล้องกัน) ==> and
  • ดังนั้น(เป็นเหตุเป็นผลกัน) ==> so
  • เพราะว่า(เป็นเหตุเป็นผลกัน) ==> because

ตัวอย่างเช่น

  • เขาเดินทางมาจากสนามบินเวลา 12:00 เช็คอินเข้าโรงแรมเวลา 18:00 น. และได้พบกับบุคคลอื่นเวลา 19:00 น.
    He arrived from the airport at 12:00, checked into the hotel at 18:00, and met the others at 19:00.
  • เมื่อคืนฉันรู้สึกไม่สบาย ดังนั้นจึงเข้านอนแต่หัวค่ำ
    I fell sick so I went to bed early last night.