Category Archives: ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

การใช้ what ในการตั้งคำถาม

What ในภาษาอังกฤษ

การใช้  what  ในการตั้งคำถาม

การตั้งคำถามในภาษาอังกฤษมี 2 ประเภทคือ คำถามแบบ yes/no question  และ  คำถามแบบ wh-question ซึ่งต้องการคำตอบที่บอกรายละเอียด  และคำแสดงคำถามแบบ wh-question ที่นึกถึงเป็นคำแรกๆเลยคือคำว่า what   ซึ่งใครๆก็รู้ว่า แปลว่า “อะไร”   แต่พอจะเอามาใช้ตั้งคำถามนี่สิ!!  มันก็เริ่มต้นไม่ค่อยจะถูก   เรามาดูโครงสร้างการตั้งคำถามโดยใช้ what กันค่ะ

1. What +v. to be +คำนาม?
ส่วนใหญ่เรามักจะใช้โครงสร้างนี้ในการถามชื่อ  ถามที่อยู่  ถามอาชีพ  ถามสัญชาติ หรืออื่นๆ เช่น

  • What is your name?        คุณชื่ออะไร
  • What are their names?    พวกเขาชื่ออะไรกันบ้าง
  • What is your nationality?    สัญชาติของคุณคืออะไร
  • What is your father?        พ่อของคุณเป็นอะไร (ทำอาชีพอะไร)
  • What is the biggest animal in the world?   สัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคืออะไร

2.  What + กริยาช่วย +  ประธาน + กริยาแท้….?
กริยาช่วยและกริยาแท้ในที่นี้จะเปลี่ยนไปตาม tense  เช่น

  • What are you talking about?    คุณกำลังพูดเรื่องอะไร
  • What does she like to eat?        หล่อนชอบกินอะไร
  • What does your father do?     พ่อของคุณทำอาชีพอะไร
  • What will you do in next 5 years?  คุณจะทำอะไรในอีก 5 ปีข้างหน้า

3.  เราสามารถใส่ คำนาม ตามหลัง what ได้  คือ    what + noun    ในกรณีที่เราต้องการถามว่า   (นาม)อะไรที่….?  เช่น

  • What color do you like?            สีอะไรที่คุณชอบ
  • What color is your car?            รถของคุณสีอะไร
  • What kind of job do you want?        งานแบบไหนที่คุณต้องการ
  • What size is this shirt?            เสื้อเชิ้ตตัวนี้ไซส์อะไร
  • What day is today?                วันนี้วันอะไร

** ในกรณีนี้อาจจะใช้ which แทน what ก็ได้   Which สามารถตามด้วย สิ่งของหรือคนก็ได้ คือ Which + สิ่งของ/คน  เช่น

  • Which doctor did you see, Dr. Ellis or Dr. Smith?
    เธอไปหาหมอคนไหนมา ดร. เอลลิส หรือ ดร. สมิธ
  • Which way shall we go?
    เราจะไปทางไหนกันดี

What จะให้ความหมายที่กว้างกว่า which  โดยที่ถ้าเราใช้ which มักจะมีให้เลือกอยู่ไม่กี่อย่าง

การใช้ adverb claus ในภาษาอังกฤษ

adverb claus ในภาษาอังกฤษ

adverb clause

Adverb clause หรือมีอีกชื่อว่า adverbial clause  คืออะไร?  คืออนุประโยคที่รวมตัวกันเพื่อทำหน้าที่ขยายคำกริยาหลักของประโยค  แต่ถ้าจะพูดกันจริงๆแล้ว adverb clause ก็คือ dependent clause นั่นเอง

พูดถึง adverb clause ก็งงแล้ว ยังมี dependent clause มาอีก  ยิ่งดับเบิ้ลงงเลย!!  มาทำความเข้าใจ clause กันก่อนค่ะ

Main clause หรือ independent clause คือ  ประโยคที่มีประธานและกริยาหรืออาจจะมีกรรมหรือส่วนขยายต่อท้ายก็ได้ และที่สำคัญคือเป็นประโยคสมบูรณ์ในตัวเอง อยู่เดี่ยวๆได้โดยไม่ต้องพึ่งใคร   เช่น

  • I’m taking a leave today.
    “ฉันจะลาหยุดวันนี้”

ประโยคนี้อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที ความหมายสมบูรณ์ในตัวของมัน

Dependent clause คือประโยคที่ต้องพึ่งพาอาศัยประโยค main clause เพื่อมาทำให้ความหมายสมบูรณ์  ไม่อย่างนั้นเราจะไม่เข้าใจ เพราะความหมายครึ่งๆกลางๆ  เช่น

  • Because I’m sick.
    “เพราะฉันป่วย”

อ่านแล้วก็ไม่จบ  ค้างๆคาๆว่า  ป่วยแล้วยังไง?  ป่วยแล้วเป็นยังไงต่อ?   แต่ถ้าเอาไปรวมกับประโยคหลัก

  • I’m taking a leave today because I’m sick.
    ฉันลาหยุดเพราะไม่สบาย

(ประโยคนี้ได้ใจความสมบูรณ์เลย)

สรุปคือ dependent clause ไม่สามารถอยู่ลำพังได้  ต้องไปอาศัยประโยคหลักเขาอยู่ด้วย  จากที่บอกไปแล้วข้างต้น dependent clause ก็คือ adverb clause นั่นเอง เพราะฉะนั้น dependent clause มีลักษณะอย่างไร  adverb clause ก็เหมือนกัน   ลักษณะของ adverb clause หลักๆมีดังนี้ค่ะ

1. adverb clause มักจะขึ้นต้นด้วย subordinating conjunction  (คำเชื่อม)  ซึ่งจะแยกย่อยไปตามกรณีได้อีก ตัวอย่างของ subordinating conjunction แยกตามประเภทก็ตามนี้

  • adverb clause บอกเวลา  :  when, while, before, after, whenever, as, until, as soon as, since, etc.
  • adverb clause บอกสถานที่ :  where, wherever
  • adverb clause บอกลักษณะอาการ  :  as, as if, as though
  • adverb clause บอกเหตุผล :  because, as, since, whereas, seeing that, due to the fact that
  • adverb clause แสดงความขัดแย้ง : although, though, even though, however, despite the fact that, in spite of the fact that
  • adverb clause แสดงเงื่อนไข : if, unless, if only, supposing (that), providing (that)

2. adverb clause จะประกอบด้วยประธานและกริยา เหมือนประโยคทั่วไป แต่ยังไม่ใช่ประโยคสมบูรณ์
3. adverb clause จะอยู่โดดๆไม่ได้ เพราะใจความจะไม่สมบูรณ์ พูดง่ายๆคือ ไม่รู้เรื่องนั่นเอง!!

ตัวอย่าง adverb clause

  • As this is the first time she has visited Bangkok, she is very excited.
    เนื่องจากนี่เป็นครั้งแรกที่เธอได้มาเที่ยวกรุงเทพฯ เธอเลยรู้สึกตื่นเต้น

ส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็น adverb clause ที่ขึ้นต้นด้วย as เพื่อแสดงความเป็นเหตุเป็นผล  และแน่นอนว่าถ้าตัดประโยคด้านหลังออกนี่ไม่รู้เรื่องแน่นอน

  • Call me as soon as you arrive there.
    โทรหาด้วยทันทีที่ถึงที่นั่น

Adverb clause คือส่วนที่ขีดเส้นใต้ ขึ้นต้นด้วย as soon as เพื่อบอกเวลา

** คราวนี้ไปเจอประโยคแบบนี้ที่ไหน เราก็จะเรียกถูกแล้วล่ะว่า อันนี้คืออะไร มีความสำคัญหรือวิธีใช้ยังไง

Part of speech ชนิดของคำในภาษาอังกฤษ

Part of speech ชนิดของคำในภาษาอังกฤษ

Part of speech

Part of speech  คือ ชนิดของคำในภาษาอังกฤษ เช่น คำนาม คำกริยา ฯลฯ  ซึ่งไม่ใช่แกรมม่าร์เรื่องใหม่ในภาษาอังกฤษแต่อย่างใด  เป็นแกรมม่าร์พื้นฐานเสียด้วยซ้ำ  เพียงแต่เรารู้จัก part of speech แบบแยกส่วน  เพราะพอเริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษ ก็เริ่มกันที่การทำความรู้จักกับคำนาม  คำกริยา  คำคุณศัพท์กันไปเลย  โดยที่ไม่เคยรู้เลยว่ามันคือส่วนประกอบของ part of speech

Part of speech ประกอบไปด้วย  8  ชนิดด้วยกัน ซึ่งแต่ละชนิดก็แตกย่อย ออกลูกออกหลานกันไปอีกมากมาย คำในภาษาอังกฤษที่เราใช้ๆกันอยู่จะเป็นหนึ่งในแปดชนิดนี้   มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

1.  Noun (คำนาม)   คือ  คำที่ใช้เรียกแทน คน สัตว์ สิ่งของ   ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้  ห้อง  หนังสือ  ชื่อคน  ชื่อโรงพยาบาล  ชื่อภูเขา  ล้วนเป็นคำนามทั้งสิ้น
เมื่อมีคำนามแล้วเอาไปทำอะไรได้บ้าง?  คำนามทำหน้าที่เป็นประธาน  เป็นกรรม และเป็นส่วนเติมเต็มในประโยค  เช่น

  • The cat is wagging its tail.    แมวกำลังกระดิกหางของมัน

The cat เป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค  ส่วน tail เป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยค

  • She is the leader of our group.

The leader of our group เป็นกลุ่มคำนามโดยมีนามหลักคือคำว่า leader  ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของประโยค

2.  Pronoun (คำสรรพนาม)  คือคำที่ใช้แทนคำนาม เพื่อจะได้ไม่พูดนามนั้นซ้ำ หรือแทนสิ่งที่รู้กันอยู่แล้วระหว่างผู้พูดหรือสิ่งที่เราไม่รู้หรือไม่แน่ใจว่าคืออะไร  ทำหน้าที่เป็นประธานก็ได้ หรือเป็นกรรมก็ได้  เช่น

  • The children are in the room. They are cleaning up the room.
    (They แทนคำนาม The children)
  • Nobody comes with me.
    (Nobody เป็นประธาน  แทนคำนามที่ไม่เฉพาะเจาะจง)

3. Verb (คำกริยา)  คำกริยาคือคำที่แสดงกริยาอาการหรือการกระทำในประโยค  เช่น

  • He’s playing football.
    (play  แปลว่า เล่น   แสดงการกระทำในประโยค ถือเป็นส่วนสำคัญในประโยค  ถ้าประโยคขาดกริยาจะถือว่าประโยคนั้นไม่สมบูรณ์)

4. Adjective (คำคุณศัพท์)  คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม  เน้นว่า ขยายนามเท่านั้นไม่ขยายอย่างอื่น  เมื่อทำหน้าที่ขยายนาม  ตำแหน่งของคำคุณศัพท์ในประโยคจึงต้องอยู่หน้านาม  หรือในบางกรณีจะตามหลัง verb to be และ linking verb  เช่น

  • Susan isn’t a fat woman.
  • She looks upset.

5. Adverb (คำกริยาวิเศษณ์)  คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำกริยา  เช่น

  • Tony always drives carefully.
    (carefully เป็น adverb ทำหน้าที่ขยายกริยา drive)

นอกจากขยายกริยาแล้ว  ยังขยายคำคุณศัพท์หรือขยายกริยาวิเศษณ์ด้วยกันเองได้อีกด้วย  เช่น

  • It was so hot yesterday.
    (so เป็น adverb ขยายคำคุณศัพท์ hot)
  • She ran very fast.
    (very เป็น adverb ขยายคำกริยาวิเศษณ์  fast)

6.  preposition  (คำบุพบท)  คือคำที่ใช้บอกตำแหน่ง  บอกสถานที่  บอกทิศทาง  แสดงการเคลื่อนไหว  หรือบอกความสัมพันธ์ระหว่างคำนามหรือสรรพนามกับคำอื่นๆ ในประโยค  เช่น

  • The cat is lying on the floor.
  • I went to Marry’s wedding party with my family.

7.  Conjunction  (คำเชื่อม)  คือคำที่ใช้เชื่อมระหว่าง คำกับคำ  กลุ่มคำกับกลุ่มคำ หรือประโยคกับประโยค  เช่น

  • I went to bed late last night, so I got up late this morning.
  • I usually have bread and cereal for breakfast.

8.  Interjection (คำอุทาน)  คำอุทานคือคำที่ใช้แสดงอารมณ์ ความรู้สึกที่หลากหลาย ที่เกิดขึ้น ณ ตอนนั้น  มักใช้ในภาษาพูด  เช่น

  • Oh!   Ouch!  Eh!  Hey!  Hello!   Oh dear!
  • Oh dear! Does it hurt?

Part of speech ทั้ง 8  ชนิดนี้ เชื่อว่าหลายคนรู้จักกันอยู่แล้ว เรียนกันมาแล้ว แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร  หรือคำๆนี้เรียกว่าคำอะไร   การที่เรารู้จักชนิดของคำจะทำให้เราไม่วางคำมั่วซั่วสะเปะสะปะในประโยค  นึกจะวางตรงไหนก็วาง เพราะแต่ละคำมีหน้าที่ มีตำแหน่งของมันในประโยค  ถ้าเราเข้าใจพื้นฐาน  ไม่ว่ามันจะแตกแยกย่อยออกไปมากแค่ไหนก็เข้าใจได้ไม่ยากแล้วล่ะค่ะ ^^

Fragment ในภาษาอังกฤษคืออะไร

Fragment ในภาษาอังกฤษคืออะไร

Fragment ในภาษาอังกฤษคืออะไร

ปัญหาหนึ่งที่พบว่าการเขียนภาษาอังกฤษมันยากก็คือ คนไทยจะเขียนประโยคที่ไม่สมบูรณ์เขียนเสร็จก็รีบใส่จุด full stop ทันทีโดยคิดว่านั่นคือประโยคที่ใช้ได้แล้ว สมบูรณ์แล้ว ประโยคที่ขาดๆ ไม่สมบูรณ์นี้เรียกว่า Fragment ซึ่งเป็นเพียงวลี หรือกลุ่มคำแต่ยังไม่เป็นประโยค ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าประโยคที่สมบูรณ์ในภาษาอังกฤษจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ ต้องมีประธาน และ ต้องมีกริยา หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปถือว่าไม่เป็นประโยคสมบูรณ์ ยกเว้นประโยคคำสั่งที่มีแต่กริยาขึ้นต้นประโยคได้ และประโยคที่สมบูรณ์จะต้องไม่ทำให้ผู้อ่านเกิดสับสนหรือเกิดค้างคาในความหมายของประโยค มาดูตัวอย่าง Fragment กันค่ะ

1. Bangkok which is the capital city of Thailand.
2. I like listening to music. And like singing a song.
3. This evening, we won’t go out. Because it’ s raining.

ประโยคแรกขาดกริยา ถึงแม้จะมีคำว่า is อยู่ แต่ is เป็นกริยาของประโยคย่อยที่มาขยาย Bangkok

ประโยคที่สอง ตรงส่วนที่ขีดเส้นใต้เป็น fragment เพราะขาดประธาน
ประโยคที่สาม ส่วนที่ขีดเส้นใต้ ถ้าดูดีๆก็มีครบทั้งประธานและกริยา แต่มันมี because มานำหน้านี่สิ!! ประโยคนี้แปลว่า “เพราะฝนกำลังตก” ก็ทำให้ผู้อ่านเกิดคำถามว่า ฝนตกแล้วทำไม? ฝนตกแล้วมันยังไง? ไม่ได้ใจความสมบูรณ์ในประโยค
Fragment ในประโยคเกิดได้หลายแบบ ดังต่อไปนี้ค่ะ

(1.) dependent clauses fragment : dependent clause คือประโยคที่ไม่สามารถอยู่ได้โดยอิสระ ต้องไปพึ่งพาประโยคอื่น ประโยคเช่นนี้มักมี คำเชื่อมหรือ subordinating word นำหน้า ซึ่งถือว่ายังไม่ใช่ประโยคสมบูรณ์ เช่น

  • After I talked to him.

ประโยคนี้เป็น fragment เพราะมีคำเชื่อม after อยู่ข้างหน้า และใจความของประโยคก็ยังไม่ครบถ้วน เพราะหลังจากที่ฉันคุยกับเขา แล้วเป็นยังไงต่อ? ยังเกิดคำถามค้างคาอยู่ วิธีการแก้คือ ต้องเพิ่มประโยคอื่นเข้าไปอีกประโยคให้ได้ใจความ เช่น

  • After I talked to him, he decided to help us.

(2.) fragment ที่ขาดประธาน เช่น

  • Mike hates eating vegetable. But likes eating carrot.

ประโยคที่ขีดเส้นใต้เป็น fragment เพราะขาดประธาน วิธีการแก้ก็คือรวมประโยคแรกและประโยคที่สองเข้าด้วยกันซะ เพราะประธานคือคนๆเดียวกัน

  • Mike hates eating vegetable but likes eating carrot.

(3.) fragment ที่เป็นส่วนขยาย fragment ในลักษณะนี้ผู้เขียนมักแยกเอาส่วนขยายออกมาซึ่งไม่ถือเป็นประโยคสมบูรณ์ เช่น

  • Tehran is the capital city of Iran. Formerly called Persia.

ประโยคที่ขีดเส้นใต้ เป็นวลีที่มาขยายคำนาม Iran วิธีการแก้ก็คือแค่รวมเอา fragment เข้าไปกับประโยคแรก ดังนี้

  • Tehran is the capital city of Iran, Formerly called Persia.

(4.) fragment ที่ขาดกริยาหลัก เช่น

  • Learning English as a second language.

ประโยคนี้ขาดกริยาหลักของประโยค ถึงแม้ประโยคนี้จะมี learning ที่ดูเหมือนคำกริยาแต่จริงๆแล้วเป็น V-ing ที่ทำหน้าที่เสมือนคำนาม แปลว่า “การเรียน” วิธีการแก้ก็คือหาคำกริยาใส่เข้าไป คือ

  • Learning English as a second language is important nowadays.

เวลาเขียนประโยคหรือเขียน paragraph จึงต้องระวังไม่ให้เขียน fragment เพราะจะทำให้งานเขียนของเราขาดความสละสลวยทางไวยากรณ์ค่ะ ^^

ตีแผ่การใช้ whether อย่างมืออาชีพ!

ตีแผ่การใช้ whether

ตีแผ่การใช้  whether อย่างมืออาชีพ!

คำว่า whether  เป็นคำเชื่อม  ความหมายตามท้องเรื่องแปลว่า “หรือไม่” แต่ใช้ยังไงก็ยังใช้ไม่ค่อยจะถูกซักที  เป็นคำที่ไม่ค่อยจะคุ้นซักเท่าไหร่ วิธีการเอาไปใช้นี่ก็ไม่ธรรมดานะ ถึงกับต้องแยกเป็นข้อๆเลยทีเดียว  มาดูกันค่ะ

1.  ใช้เพื่อเลือกว่าจะทำ A หรือ B  เช่น

  • I’m wondering whether he explains everything to me or just keeps silence.
    ฉันกำลังสงสัยว่าเขาจะอธิบายทุกอย่างให้ฉันฟังหรือจะปิดปากเงียบ
  • I’m deciding whether I go on or give up.
    ฉันกำลังตัดสินใจว่าฉันจะทำต่อหรือจะเลิก

** ในกรณีที่คนที่เลือกจะทำเป็นคนๆเดียวกับคนที่คิดหรือตัดสินใจหรือสงสัย พูดง่ายๆคือคนเดียวกับประธานหลัก  เราสามารถละประธานหลัง whether ได้ค่ะ แต่ใส่   “to”  เข้าไปแทน  เช่น

  • I’m deciding whether I go on or give up.
    =    I’m deciding whether to go on or give up.
  • Laila’s thinking whether she works in a company or runs her own business.
    =     Laila’s thinking whether to work in a company or run her own business.

2.  ใช้เพื่อเลือกว่าจะทำ A  หรือไม่ทำ A  เช่น

  • He asked me whether we have to move to London.
    เขาถามฉันว่าพวกเราจำเป็นต้องย้ายไปลอนดอนหรือเปล่า
  • I don’t know whether I should accept his invitation.
    ฉันไม่รู้ว่าฉันควรจะรับคำเชิญของเขาหรือไม่

** ในกรณีนี้เราสามารถละคนที่ต้องเลือกได้เช่นเดียวกับข้อแรก  คือใส่ to เข้าไปหลัง whether

3.  ใช้ในความหมายว่า “ไม่ว่า”  โดย ไม่ว่า A หรือ B ยังไงๆก็จะทำ C หรือไม่มีผลต่อ C  เช่น

  • Whether I work or study, I always do my best.
    ไม่ว่าฉันจะทำงานหรือจะเรียน ฉันก็มักจะทำให้ดีที่สุดเสมอ

4. ใช้ในความหมายว่า “ไม่ว่า” เช่นกันแต่เป็น  “ไม่ว่าจะทำ A หรือไม่ทำ A ก็ไม่มีผลอะไรทั้งสิ้น  เช่น

  • Whether my dad allows or not, I will go anyway.
    ไม่ว่าพ่อจะอนุญาตหรือไม่ ฉันก็จะไปอยู่ดี
  • Whether she loves me or not, I will marry her.
    ไม่ว่าหล่อนจะรักผมหรือไม่  ผมก็จะแต่งงานกับเธอ

**  ในข้อที่ 4 นี้เป็นการบอกว่า ไม่ว่าจะ A หรือไม่ A  ฉันก็จะทำหรือไม่ทำ B อยู่ดี เราต้องใส่ or not เข้าไปเพื่อให้ประโยคได้ใจความสมบูรณ์  ส่วนในข้อที่ 2  เลือกว่าจะทำ A หรือไม่ทำ A เหมือนกัน  แต่เราไม่จำเป็นต้องใส่ or not ก็ได้  ถ้าใส่ก็เพื่อเป็นการเน้นสิ่งที่จะทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้นเท่านั้น

**  ในการแยกว่า whether ที่เราอ่านเจอเป็นแบบไหน สิ่งที่ต้องใส่ใจให้มากคือบริบทหรือ context ที่อยู่รอบๆค่ะ  เพราะมันจะบอกเราได้ว่า whether ในประโยคนี้ต้องการสื่ออะไร

การใช้ It

การใช้ It

การใช้ It

อันที่จริงการใช้  It มันก็ไม่น่าจะมีอะไรเยอะแยะ  ก็แค่สรรพนามที่ใช้แทน สัตว์หรือสิ่งของที่เป็นเอกพจน์   ที่รู้มามันก็ใช่ แต่ประโยชน์ของ It มันธรรมดาซะที่ไหน!!  มันเอาไปใช้ได้หลากหลายรูปแบบดังนี้ค่ะ

1.  It  เป็นสรรพนามใช้แทน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่  เช่น

  • I like this house. It is the place where I was born.
  • Have you seen my cake? I bought it yesterday.

**  แต่ It สามารถใช้กับคนได้ในบางกรณี คือ กรณีที่เป็นเด็กทารกแล้วเราไม่รู้เพศที่แน่นอน  หรือพูดโดยไม่ต้องคำนึงถึงเพศของเด็ก  เราสามารถใช้ It  ได้  เช่น

  • The baby is in that room. It’s crying.
  • My aunt delivered her baby this morning. It weighs 2225 grams.

2.  ใช้เกี่ยวกับอากาศ ระยะทาง เวลา  เช่น

  • It’s very hot out there today.

** เวลาพูดถึงอากาศเราจะไม่ใช้ I’m hot   หรือ  I’m cold  แต่ใช้ It แทนนะคะ

  • It’s half past six.
  • It’s raining too much to go out tonight.
  • It’s 100 meters to the resort.

3.  ใช้เป็นประธานของ verb to be ตามด้วย to infinitive หรือ that clause โดยส่วนมากมักจะอยู่ในรูปโครงสร้าง

It is + adjective + to…………
หรือ    It is + adjective + that……

เช่น

  • It’s quite difficult to forget someone you love.
  • It’s not necessary that you protest every time I say something.

4.  ใช้ในสำนวนประโยคของ passive voice  เช่น

  • It is said that………         กล่าวกันว่า
  • It is believed that……….    เชื่อกันว่า
  • It is hoped that………    หวังกันว่า
  • It is understood well that……     เป็นที่เข้าใจกันดีว่า

เช่น

  • It is said that he has moved to Madrid since last May.
  • It is believed that Picasso completed 50,000 art works during his life.

เห็นมั๊ยคะว่า It มันเอาไปใช้ได้มากกว่าการนำไปแทน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่แค่นั้น

ประโยค If-clause

ประโยค If-clause

ประโยค If-clause

ประโยค If-clause ก็คือประโยคเงื่อนไข คือถ้าทำอย่างนั้น ผลจะเกิดเป็นอย่างนี้  ประโยค If-clause ที่ร่ำเรียนกันมา  หรือที่ควรจะรู้จักก็มีอยู่ 3 แบบ ด้วยกันค่ะ  เกณฑ์ในการแบ่งก็ตามเงื่อนไขและเวลา  แต่ก่อนจะไปดูว่า 3 แบบนี้มีอะไรบ้าง เราลองมาทำความรู้จักกับหน้าตาของประโยค If-clause กันก่อน ประโยค If-clause ประกอบด้วยสองส่วนคือส่วนที่มี If  หรือประโยคที่เป็นเหตุ  และอีกส่วนจะไม่มี if คือประโยคที่เป็นผล  เช่น

  • If my son passes his exam, I will buy him a guitar.

ประโยคที่มี If คือประโยคเหตุ  “ถ้าลูกชายสอบผ่าน”  ส่วนที่สองคือประโยคผล “ฉันจะซื้อกีตาร์ให้ลูก”   นี่คือเงื่อนไขที่ผู้พูดได้สร้างไว้
สองส่วนนี้สามารถสลับตำแหน่งกันได้  แต่ถ้า If อยู่ด้านหน้า จะต้องมีเครื่องหมายคอมมา  (,) คั่นตรงกลาง  แต่ถ้าเอาส่วนที่เป็นผลขึ้นก่อน (คือส่วนที่ไม่มี if)ก็ไม่ต้องใส่คอมมา เช่น

  • I will buy my son a guitar if he passes his exam.

1. ประโยค If-clause แบบที่ 1 คือ  ประโยคเงื่อนไขที่อาจจะเป็นไปได้ในปัจจุบัน  เวลาพูด If-clause แบบที่ 1 นี้ ส่วนใหญ่โอกาสจะเป็นไปได้สูง  เงื่อนไขเวลาคือปัจจุบันดังนั้น tense ที่จะมาเกี่ยวข้องก็หนีไม่พ้น  present simple tense แน่นอนค่ะ เพราะมันเป็น tense ที่บอกข้อเท็จจริง   present simple จะไปใช้ในประโยคที่มี if หรือประโยคเหตุ  ส่วนประโยคผลเราใช้ เป็น future simple ค่ะ  โครงสร้างเป็นแบบนี้

If + Present simple, Subject + will + V1

เช่น

  • If I finish my work before 6 o’clock, I will pick you up.
    ถ้าฉันทำงานเสร็จก่อนหกโมง ฉันจะไปรับ
  • What will you do if she refuses your proposal?
    คุณจะทำยังไงถ้าเธอปฏิเสธการขอแต่งงาน

** ในส่วนของประโยคที่มี if  อาจจะใช้ present tense อื่นๆก็ได้  เช่น present continuous ตามแต่สถานการณ์  เช่น

  • If you’re trying to be normal, you will never know how amazing you can be.

2.  ประโยค If-clause แบบที่ 2  คือ  ประโยคเงื่อนไขที่เป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้ยากในปัจจุบัน  พูดง่ายๆคือสิ่งที่เราสมมติหรือมโนขึ้นมาเอง  เช่น ถ้าฉันเป็นเธอ หรือ ถ้าฉันเป็นนก หรือ ถ้าฉันมีเงินพันล้าน  อะไรประมาณนี้ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ หรือเป็นไปได้ยากมากๆ  ก็เข้าข่ายแบบที่ 2  นี้เลยค่ะ  ส่วน tense ที่จะใช้ใน If-clause แบบที่ 2 นี้ก็คือ past simple ค่ะ  ที่ใช้ tense ที่เป็นอดีต  เพราะเหตุการณ์นี้เราพูดในปัจจุบันแทนที่จะเป็น present simple  แต่มันดันเป็นความจริงในปัจจุบันที่เป็นไปไม่ได้ก็เลยทำให้ความจริงผิดเพี้ยนไป  จึงใช้ past simple แทน  เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันคือสิ่งที่เพี้ยนไปจากความเป็นจริงนั่นเอง!!

โครงสร้างของ If-clause แบบที่ 2 คือ

If + past simple , Subject + would + V1

เช่น

  • If I had a private jet, I would go to Switzerland.
    ถ้าฉันมีเครื่องบินส่วนตัว ฉันจะสวิซเซอร์แลนด์
  • If you were the Prime Minister, what would you change about this country?
    ถ้าคุณเป็นนายกรัฐมนตรี คุณจะเปลี่ยนอะไรในประเทศนี้

**  มีข้อยกเว้นนิ๊ดนึงตรงที่  ถ้าหากว่าประธานเป็น I, she, he กริยาจากที่เคยใช้ I was, she was, he was ก็จะเปลี่ยนเป็น I were, she were, he were นะคะ   เฉพาะในประโยคเงื่อนไขเท่านั้น  (จำง่ายๆว่า  ไหนๆมันก็เป็นเรื่องสมมติแล้ว เราก็สมมติให้ were ใช้กับ I, she, he ได้ก็แล้วกัน เพื่อแสดงว่าสิ่งที่เราพูดมันตรงข้ามกับความเป็นจริง)

  • If Leon’s mother were alive, she would still be a professor in Oxford University.

3. If-clause แบบที่ 3 นี้ คือ ประโยคเงื่อนไขที่แสดงความเป็นไปไม่ได้ในอดีต หรือเป็นการสมมติเหตุการณ์ในอดีตที่ไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น หรือถ้ามันเกิดขึ้นก็สมมติว่ามันไม่เกิดขึ้น Tense ที่ใช้เราจะใช้ past perfect tense  โครงสร้างหน้าตามันเป็นแบบนี้

If + past perfect, Subject + would have + V3

เช่น

  • If I had set my alarm clock, I wouldn’t have got up late.
  • I and Jack wouldn’t have known each other if he hadn’t been my brother’s friend.

** วิธีการจำว่า If-clause แต่ละแบบใช้ tense อะไรให้เรานึกถึงหลักความเป็นจริงคือ แบบที่ 1 เป็นไปได้ในปัจจุบัน ใช้ present simple ธรรมดา  แต่แบบที่ 2 และ 3 เป็นเรื่องสมมติขึ้นมา ฉะนั้นเราจะถอย tense ไปหนึ่ง tense เพื่อแสดงว่ามันคือการสมมติ คือ  แบบที่ 2 เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน  จาก present เราเปลี่ยนเป็น past simple  และ แบบที่ 3  เป็นไปไม่ได้ในอดีต  จากคำว่า อดีตมันควรจะเป็น past simple เราก็ถอยไปเป็น past perfect ซะ  ลองเอาไปใช้ดูค่ะ ^^

Participle ตอนที่ 2 (Past participle)

Past participle (V3)

Participle ตอนที่ 2 (Past participle)

participle นั้นมี 2 แบบ คือ present participle และ past participle  ตอนที่แล้วได้อธิบายถึงการใช้ present participle ไปแล้ว  ฉะนั้นจากนี้ไปจะอธิบายถึงการนำ past participle ไปใช้กันต่อค่ะ  past participle ก็คือ กริยาช่องที่ 3  ไม่ว่าจะอยู่ในรูป V-ed หรือ เปลี่ยนรูปก็ตาม  มีวิธีใช้ดังนี้ค่ะ

1.  ใช้ใน perfect tense  คือวางไว้หลัง กริยาช่วย have/has  เช่น

  • He hasn’t finished his work yet.    เขายังทำงานไม่เสร็จ
  • They have gone to Chiangmai.    พวกเขาไปเชียงใหม่แล้ว

2.  วางไว้หลัง verb to be จะกลายเป็นรูปประโยคแบบ passive voice (ประธานถูกกระทำ) เช่น

  • No one is promoted this year.     ไม่มีใครได้เลื่อนตำแหน่งในปีนี้
  • I wasn’t told anything.        ไม่มีใครบอกอะไรฉันเลย

3.  วางไว้หน้าคำนามที่ขยาย ทำหน้าที่เสมือน adjective จะให้ความหมายเป็น passive voice คือ นามนั้นถูกกระทำ  เช่น

  • My father is fixing the broken table.       พ่อกำลังซ่อมโต๊ะที่หักอยู่
  • The stolen bag has been found.                  กระเป๋าที่ถูกขโมยหาเจอแล้ว

4.  ใช้ในการลดรูปของ adjective clause ซึ่งคือประโยคย่อยที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า โดยใช้ในความหมายที่ถูกกระทำ  เช่น

  • The man who was stabbed last night has already died.
    =    The man stabbed last night has already died.
    ผู้ชายที่ถูกแทงเมื่อวานตายแล้ว
  • This is the bag which was made in Korea.
    =    This is the bag made in Korea.
    นี่คือกระเป๋าที่ผลิตในเกาหลี

5.  ใช้ในการลดรูป adverb clause  (adverb clause คือ ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือน adverb คือขยายกริยา โดยมากมักมี conjunction นำหน้า เช่น when, though, since, etc. ) หรือเมื่อรวมประโยคสองประโยคเข้าด้วยกัน เช่น

  • Since the dog was kicked by that boy, it barked angrily.
    =    Kicked by that boy, the dog barked angrily.
    เพราะถูกเด็กชายคนนั้นเตะ เจ้าสุนัขตัวนั้นจึงเห่าอย่างโกรธเกรี้ยว
  • She was admired by her teacher. She felt happy.
    =    Admired by her teacher, she felt happy.
    ตอนที่เธอได้รับคำชมจากครู เธอรู้สึกมีความสุข

** ข้อควรระวังในการใช้ประโยคลักษณะนี้คือ  ประธานของทั้งสองส่วนนี้จะต้องเป็นคนเดียวกัน  เช่นในประโยคแรก ตัวที่เห่าและตัวที่โดนเตะก็คือสุนัขตัวเดียวกัน  และประโยคที่สอง คนที่ได้รับคำชมและคนที่มีความสุขคือคนๆเดียวกัน

Participle ตอนที่ 1 (Present participle)

Present participle

Participle ตอนที่ 1 (Present participle)

ถ้าพูดถึง participle หน้าตาอย่างเป็นทางการของมันคือ  V-ing กับ V-ed (กริยาช่อง 3) ซึ่งมันก็จะมีชื่อเรียกประจำตัวอีกเช่นกัน คือ  Present participle (V-ing) และ Past participle (V-ed)  แต่ละประเภทก็จะมีวิธีการนำไปใช้งานที่แตกต่างกันดังนี้ค่ะ

Present participle (V-ing) กริยาในรูปของ Verb ที่เติม ing นั้นมีเกลื่อนไปหมดเลยค่ะ  แล้วเราจะแยกยังไงว่าอันไหนคืออันไหน  ง่ายๆเลยก็คือดูหน้าที่ของมัน  ถ้าใครจำ gerund ได้ มันก็คือ V-ing เหมือนกันแต่หน้าที่ของมันคือเสมือนคำนาม  แต่ present participle นั้น เราจะพบมันได้ตามตำแหน่งต่างๆดังต่อไปนี้ค่ะ

1.  ใน continuous tense  ไม่ว่าในปัจจุบัน หรือ อดีต ก็จะพบ V-ing ยืนเด่นเป็นสง่าอยู่ด้านหลัง Verb to be เช่น

  • She is talking on the phone.
  • I saw Smith when I was walking home last night.

2.  ใช้ขยายคำนาม ทำหน้าที่เหมือน adjective คือขยายนามตัวนั้น  โดยวางไว้หน้าคำนามนั้น  เช่น

  • A boiling kettle is on the stove.

หรือใช้ขยายนามโดยเป็นการลดรูปของ adjective clause ในความหมายที่นามนั้นเป็นผู้กระทำ  เช่น

  • The man talking to Timmy is my dad.

*ประโยคนี้มาจากประโยคเต็มๆคือ The man who talks to Timmy is my dad.
หรือใช้ขยายคำนามที่เป็นกรรมของกริยาต่อไปนี้  find, keep, leave, catch, set, get, send, discover, bring, draw, imagine, paint, show, take เช่น

  • Jimmy kept me waiting the whole day.  (ขยายกรรม me )
  • Her mom left her crying in the room.

3.  ใช้ขยายประโยคทั้งประโยคก็ได้  เช่น

  • Frankly talking, he shouldn’t be promoted.

4.  ใช้รวมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน หรือใช้ในการลดรูป adverb clause (adverb clause คือ ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เหมือน adverb คือขยายกริยา โดยมากมักมี conjunction นำหน้า เช่น when, though, since, etc. ) เช่น

  • The boy arrived home. The boy had something to eat hungrily.
    =  Arriving home, the boy had something to eat hungrily.
    พอมาถึงบ้าน เด็กชายก็หาอะไรกินอย่างหิวโหย
  • When Jimmy was standing on the road, he saw the accident.
    =    Standing on the road, Jimmy saw the accident.
    ขณะที่กำลังยืนอยู่บนถนน จิมมี่ก็เห็นอุบัติเหตุ
  • I am a captain. I have to be responsible for looking after the team.
    =    Being a captain, I have to be responsible for looking after the team.
    เนื่องจากเป็นกัปตัน ฉันเลยต้องรับผิดชอบดูแลทีม

5.  ใช้ตามหลังคำกริยาแสดงการรับรู้  เช่น  see, feel, hear, smell, watch, notice, observe, etc.  ซึ่งจะให้ความหมายว่าการกระทำนั้นกำลังดำเนินอยู่

  • I noticed that man shoplifting in the shop.
    ฉันสังเกตเห็นชายคนนั้นกำลังขโมยของในร้าน
  • She saw the police arresting the thief.
    หล่อนเห็นตำรวจกำลังจับขโมย

Present participle ใช้ได้หลากหลายจริงๆค่ะ  มีทั้งที่เราคุ้นเคยและไม่เคยจะคุ้น  ลองเอาไปฝึกใช้กันนะคะ  ส่วนในตอนที่ 2 จะอธิบายถึงการใช้ past participle ต่อค่ะ ^^

Subjunctive Sentence

Subjunctive Sentence

Subjunctive Sentence
Subjunctive  มันคืออะไร?  แค่ได้ยินชื่อก็คิดว่าน่าจะยากแล้วใช่มั๊ยคะ   แต่จริงๆแล้วเราอาจจะเคยพูดเคยเห็นประโยคนี้มาก่อนแน่นอนค่ะ  Subjunctive sentence คือประโยคที่แสดงการขอร้อง การเสนอแนะ การแนะนำ ความปรารถนา การแสดงเงื่อนไข  มี 3  แบบด้วยกันคือ

1.  Present subjunctive
2.  Past subjunctive
3.  Past perfect subjunctive

1. Present subjunctive คือประโยคที่แสดงการเสนอแนะ ขอร้อง หรือปรารถนา  คำที่คีย์เวิร์ดสำคัญคือกริยากลุ่มนี้ค่ะ   ask, advise, insist, recommend, suggest, require, request, decide, prefer, order, urge  เช่น

  • My mom insists that I tidy up my room today.
  • She suggested that I be there before 8 a.m.

คำกริยาที่อยู่หลัง กริยากลุ่มนี้ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น จะต้องเป็นกริยารูปธรรมดา ไม่ผันไม่เติม  ประโยคแรก กริยา tidy up ก็เป็นรูปธรรมดา  ประโยคที่สองถึงแม้ว่ากริยาหลักจะเป็นอดีต แต่กริยา be ที่ตามหลังมาก็จะเป็นรูปธรรมดา แทนคำว่า is, am, are

  • My father recommends that I not be lazy.

ถ้าเป็นปฏิเสธก็ให้ใส่ not เข้าไปหน้ากริยารูปธรรมดาได้เลยค่ะ  ไม่ต้องเติม doesn’t หรือ don’t เข้าไป
หรืออาจจะอยู่ในรูปประโยคที่ใช้ adjective ก็ได้  เช่น  advisable, crucial, essential, important, desirable, etc

  • It’s important that she attend the meeting.
    (ในประโยคนี้ attend ไม่ต้องเติม s  ถึงแม้ว่าประธานจะเป็น she ก็ตาม)
  • It’s advisable that he do exercise every day.
    (ในประโยคนี้ กริยาใช้ do ถึงแม้ประธานจะเป็น he ก็ตาม)

**  ถ้าอยู่ในรูปประโยคที่กล่าวมาแล้วล่ะก็  กริยาต้องเป็นรูปธรรมดา  ไม่ผันไม่เติมอะไรใดๆทั้งสิ้น

2.  Past subjunctive  คือประโยคที่แสดงความปรารถนาที่ไม่สามารถเกิดขึ้นจริง เป็นไปไม่ได้หรือตรงข้ามกับความจริงในปัจจุบัน  คำที่แสดง past subjunctive ได้แก่ wish, as if, as though, if only    กริยาที่ตามหลังคำพวกนี้จะต้องเป็นรูปอดีตเสมอ  เช่น

  • I wish you were here.
    ฉันปรารถนาให้เธอมาอยู่ที่นี่  (แต่ตอนนี้เธอไม่ได้อยู่ซึ่งตรงข้ามกับความจริงในปัจจุบัน)
  • He wishes he finished his work.
    เขาอยากทำงานให้เสร็จ (แต่ตอนนี้ยังไม่เสร็จ)
  • He talks as if he knew it well.
    เขาพูดราวกับว่าเขารู้ทุกสิ่งอย่าง

3.  Past perfect subjunctive  คือประโยคที่แสดงความปรารถนาที่ไม่เกิดขึ้นจริง หรือตรงข้ามกับความจริงในอดีต  คำที่แสดง past perfect subjunctive ได้แก่ wish, as if, as though, if only  กริยาหลังคำเหล่านี้จะอยู่ในรูปของ past perfect หรือ had + V3

  • I wish you had been at the meeting yesterday.
    ฉันอยากให้คุณเข้าประชุมเมื่อวานนี้
    (แต่จริงๆแล้วคุณไม่ได้เข้าประชุมเมื่อวาน  ซึ่งตรงข้ามกับความจริงในอดีต)
  • He wished he had told her his feeling last night.
    เขาปรารถนาที่จะบอกความรู้สึกของเขากับเธอเมื่อคืนนี้
    (แต่จริงๆแล้ว เขาไม่ได้บอกออกไป)

ชื่อยากแค่ไหน แต่ถ้าเราเข้าใจโครงสร้างซะอย่างก็ใช้ถูกแน่นอนค่ะ  ฝึกใช้บ่อยๆใช้ไม่ผิดแน่นอน ^^