Adverb หรือที่เรารู้จักกันคือ “กริยาวิเศษณ์” มีคำว่ากริยาอยู่ แสดงว่า adverb จะต้องเกี่ยวข้องกับคำกริยาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ใช่ค่ะ! เพราะ adverb ทำหน้าที่ขยายกริยา นอกจากขยายกริยาแล้วก็ยังขยายคำคุณศัพท์ และคำกริยาวิเศษณ์ด้วยกันเองอีกด้วย ปัญหาของกริยาวิเศษณ์ก็คือ เราจะพบมันอยู่ในตำแหน่งต่างๆได้หลายตำแหน่งในประโยค แต่หลักในการวาง adverb ในประโยคก็ขึ้นอยู่กับประเภทของ adverb นั้นๆ ซึ่ง adverb แบ่งออกเป็นประเภทได้ดังนี้ค่ะ
1. Adverb of manner กริยาวิเศษณ์ที่บอกลักษณะอาการ adverb กลุ่มนี้จะบอกเราว่าประธานทำกริยานั้นๆด้วยลักษณะอาการอย่างไร เช่น
- The 18-year-old girl drove carelessly along the road.
เด็กหญิงอายุ 18 ขับรถอย่างประมาทไปตามถนน - The river flows slowly to the sea.
แม่น้ำไหลอย่างช้าๆลงสู่ทะเล - The thief reluctantly admitted his guilt.
ขโมยยอมรับความผิดของเขาอย่างลังเล
adverb ประเภทนี้วางไว้ได้หลายตำแหน่งคือ หลังกริยาตัวที่มันไปขยาย หรือถ้าประโยคนั้นมีกรรมก็วางไว้หลังกรรมก็ได้ หรือบางครั้งอาจจะวางไว้กริยาก็ได้ แต่ถ้าต้องการเน้นข้อความก็สามารถวางไว้หน้าประโยคได้ เช่น
- Hopefully, the president will change his mind.
2. Adverb of place กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่การกระทำกริยา เช่น there, here, somewhere, upstairs, in the + (place), etc.
- His sister is waiting for him in the the library.
น้องสาวของเขากำลังรอเขาในห้องสมุด - She has sat there for an hour.
เธอนั่งตรงนั้นมาชั่วโมงนึงแล้ว
ตำแหน่งในการวาง adverb ประเภทนี้มักวางหลังกริยา หรือหลังกรรมของกริยานั้นๆ
3. Adverb of time กริยาวิเศษณ์บอกเวลาในการกระทำกริยา เช่น now, tomorrow, recently, afterwards, at once, since then, etc. เช่น
- My brother is leaving now .
น้องชายฉันกำลังจะไปแล้วตอนนี้ - His sister will fly to England tonight .
พี่สาวของเขาจะบินไปอังกฤษคืนนี้ - They play tennis in the afternoon .
พวกเขาเล่นเทนนิสตอนกลางวัน
ตำแหน่งในการวาง adverb ประเภทนี้มักวางไว้ท้ายประโยค
4. Adverb of frequency กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ เช่น always, usually, often, sometimes, etc. เช่น
- She is always late.
เธอมักสายประจำ - He usually hangs out with his friends on Friday.
เขามักออกไปเที่ยวกับเพื่อนในวันศุกร์
การวาง adverb ประเภทนี้มักวางหน้าคำกริยา แต่ถ้าประโยคนั้นมี verb to be ให้วางไว้หลัง verb to be
5. Adverb of degree คำกริยาวิเศษณ์บอกปริมาณ เช่น absolutely, almost, barely, completely, enough, entirely, fairly, far, hardly, just, much, nearly, quite, really, rather, so, too, very, etc.
- The child is not old enough to go to school.
- The man drove too fast .
- Jane is much taller than her sister.
- It’s very hot here.
เรามักจะวางกริยาวิเศษณ์ประเภทนี้หน้าคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์ที่มันไป ขยาย ยกเว้น enough ที่วางไว้หลังคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์
คนไทยส่วนใหญ่เวลาพูดหรือเขียนมักขาดส่วนขยายพวกนี้ไป เลยทำให้ประโยคดูห้วนๆ ไม่ได้อรรถรส ลองฝึกใช้ adverb กันดูนะคะ