Modifiers of Adjectives and Adverbs
ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกับคำว่า modifier กันก่อน modifier หมายถึง “คำขยาย” ในที่นี้เรากำลังพูดถึงคำขยายที่นำมาขยายความคำคุณศัพท์ (adjective) หรือคำกริยาวิเศษณ์ (adverb) ซึ่งก็คือ คำกริยาวิเศษณ์นั่นเองค่ะ หน้าที่ของกริยาวิเศษณ์นั้นคือขยายคำกริยา, คำคุณศัพท์และขยายตัวมันเองก็ได้คือกริยาวิเศษณ์ กริยาวิเศษณ์หรือ adverb ที่ใช้ขยายคำคุณศัพท์และกริยาวิเศษณ์ส่วนใหญ่จะเป็น adverb of degree คือคำที่บอกระดับมาก มากที่สุด ที่สุด เช่น very, so, pretty, fairly, quite, rather, exactly, too, as, more, most คำพวกนี้เวลานำไปขยายจะวางไว้หน้าคำคุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์ที่มันไปขยาย ตัวอย่างเช่น
- Samantha is pretty bossy.
ซาแมนธาค่อนข้างจะชอบทำตัวเป็นเจ้านาย
(pretty ในประโยคนี้ไม่ได้เป็น Adj. ที่แปลว่า น่ารักนะคะ แต่ในประโยคทำหน้าที่เป็น adv. แปลว่า “ค่อนข้าง” มีความหมายเหมือน quite และ rather ค่ะ ในประโยคนี้ pretty ขยายคุณศัพท์คำว่า bossy)
- It’s not too late to apologize.
มันยังไม่สายเกินไปที่จะขอโทษ - You’re so nice.
คุณเป็นคนน่ารักมากๆ - This is rather strange.
เรื่องนี้มันค่อนข้างแปลกๆนะ
ตัวอย่างที่ขยาย adv. เช่น
- He speaks German very well.
เขาพูดภาษาเยอรมันได้ดีมาก - Sofia comes here quite often.
โซเฟียมาที่นี่ค่อนข้างบ่อย
นอกจากนี้ยังมี Adverb ตัวอื่นๆที่ใช้ขยายคุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์ได้อีก เช่น entirely, completely, perfectly, thoroughly, extremely, particularly, tremendously, extraordinarily, wonderfully, awfully, frightfully เช่น
- The trip was extremely exciting.
ทริปนั้นน่าตื่นเต้นสุดๆไปเลย
(extremely ขยาย adj. คำว่า exciting ) - This organization relies entirely on voluntary donations.
องค์กรนี้อยู่มาได้โดยอาศัยเงินที่ได้รับบริจาคมาทั้งหมด
** Adjective สามารถใช้ prepositional phrase หรือ บุพบทวลีมาขยายก็ได้ บุพบทวลีคือ กลุ่มคำที่ขึ้นต้นด้วยคำบุพบท เช่น
- In the past, most wives were dependent on their husbands.
ในอดีต ภรรยาส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาสามี - He is good at English but weak in mathematics.
เขาเก่งภาษาแต่อ่อนคณิตศาสตร์ - It’s not easy to understand.
มันไม่เรื่องง่ายเลยที่จะเข้าใจ - He is a man difficult to deal with.
เขาเป็นคนที่ยากจะรับมือด้วย