phrasal verbs (กริยาวลี)

phrasal verbs

phrasal verbs (กริยาวลี)

Phrasal verbs หรือ กริยาวลี คือกลุ่มคำกริยาที่ประกอบไปด้วย คำกริยา (verb)และคำบุพบท (preposition) เมื่อรวมกันแล้วความหมายมักจะเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น

give up   แปลว่า   เลิก, หยุด     (เราไม่สามารถแปล give ว่า ให้ และ up แปลว่า ขึ้น แล้วนำมารวมกันแปลว่า “ให้ขึ้น” ได้)
come across แปลว่า พบโดยบังเอิญ ( come = มา, across = ข้าม)

ตัวอย่างอื่นๆเช่น

call off           ยุติ, ยกเลิก                        look up         ค้นหา
look after      ดูแล                                  turn into       กลายเป็น
carry on        ทำต่อไป                           turn up         ปรากฎตัว

Phrasal verbs แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. แบบ Separable verbs คือ กริยาวลีที่สามารถแยก verb และ preposition ได้ซึ่งมักเป็นกริยาวลีที่ต้องการกรรม เช่น   turn on, turn off, take off, try on, etc. เช่น

  • You must take off your shoes before entering the room.

สามารถเขียนได้ว่า

  • You must take your shoes off before entering the room.
  • Please turn off the light. หรือ Please turn the light off.
  • You can try on the shirt. หรือ You can try the shirt on.

** ในกรณีที่กรรมเป็นคำสรรพนามจะต้องวางไว้หน้าคำบุพบทเสมอ เช่น

  • You can try it on. จะเขียนว่า You can try on it. ไม่ได้
  • Please turn it off จะเขียนว่า Please turn off it ไม่ได้

** ถ้าหากว่า กรรมเป็นกลุ่มคำที่เป็นยาวๆ จะไม่สามารถวางไว้หน้าบุพบทได้ ให้วางไว้หลังกริยาวลีเสมอ เช่น

  • He gave away every book that he possessed. (ถูกต้อง)
  • He gave every book that he possessed away. (ผิด)

2. แบบ inseparatable verbs คือกริยากลุ่มที่ถ้ามีกรรมมารับจะไม่สามารถแยก verb กับ preposition ออกจากกันได้ ต้องวางกรรมไว้หลังสุด เช่น

  • The teachers have to look after students at school.
    ไม่สามารถเขียนว่า The teachers have to look students after at school.

ในบางครั้งกริยาวลีอาจจะเป็นแบบ three-word verb คือมีการใช้คำบุพบทมากกว่า 1 ตัว เช่น

put up with             อดทนกับ                catch up with                    ตามทัน
look down to           ดูถูก                        run out of                หมด

ตัวอย่างประโยค เช่น

  • We are about to run out of water.
    พวกเรากำลังจะไม่มีน้ำ
  • I can’t put up with that noise any longer.
    ฉันทนเสียงนั่นต่อไปไม่ได้แล้ว

** มีอีกประเด็นหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ กริยาบางตัวที่ตามด้วยคำบุพบทจะไม่ใช่ กริยาวลี วิธีการแยกแยะระหว่างกริยาวลีและกริยาที่ตามด้วยคำบุพบทคือ กริยาที่ตามด้วยคำบุพบท คือ กริยาที่มีคำบุพบทแต่ไม่เปลี่ยนความหมายของคำกริยานั้น เช่น agree with ก็ยังคงมีความหมายเดิมของ agree และ with คือ “เห็นด้วยกับ” หรือ wait for ก็ยังแปลว่า “รอ”

แต่กริยาวลี คือ กลุ่มคำที่ประกอบไปด้วย คำกริยา และ บุพบท โดยที่จะให้ความหมายใหม่ขึ้นมา เช่น ask out ไม่ได้มีเค้าความหมายเดิมของ ask และ out แต่จะแปลว่า “ชวนออกไปข้างนอก” หรือ run into แปลว่า “พบ(ใครคนหนึ่ง)โดยบังเอิญ

การเข้าใจความหมายของกริยาวลีจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆสำหรับหลายๆคนเพราะมันมีความหมายที่ไม่ใช่ความหมายเดิมนั่นเอง วิธีการเดียวก็คือต้องเจอบ่อยๆใช้บ่อยๆจึงจะจำได้เอง ^^