Subject-Verb Agreement
เวลาเขียนประโยคแต่ละครั้งสิ่งที่เป็นปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ การเลือกคำกริยาให้สอดคล้องกับประธานเพราะเราเกิดไม่แน่ใจขึ้นมาว่าประธานของประโยคเขานับเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ แล้วกฎของมันก็แยกย่อยออกมาเยอะแยะมากมายจำกันไม่หมดเลยทีเดียว มาดูกันทีละข้อเลยค่ะ
1. มาดูกฎเบสิคกันก่อนเลย ถ้าประธานเป็นเอกพจน์คือมีหนึ่งเดียว กริยาเป็นเอกพจน์ และถ้าประธานมีหลายคนหรือหลายสิ่ง กริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์ไปตามระเบียบ
เช่น
- This room is for our guests.
- These children live near my house.
2. ถ้าประธานมี 2 ตัว เชื่อมด้วย “and” ให้ถือเป็นประธานพหูพจน์ กริยาจึงต้องเป็นพหูพจน์ เช่น
- My brother and I are twins.
แต่!! ถ้าประธานที่เชื่อมด้วย “and” แต่เป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นหน่วยเดียวกัน ให้ถือเป็นเอกพจน์ และใช้กริยาเอกพจน์ เช่น
- Bread and butter is my favorite breakfast. (ขนมปังและแยมหรือขนมปังทาแยมมันคือของชิ้นเดียวกัน มันจึงเป็นเอกพจน์)
3. ประธานที่มีวลีหรือคำขยายต่อท้าย จะนับเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้น ให้ดูประธานที่อยู่ข้างหน้าเป็นหลัก เช่น
- Many boys including my brother like playing computer game.
- Tammy together with her family has reserved the table at this restaurant.
4. คำต่อไปนี้เมื่อเป็นประธานของประโยคให้ถือเป็นเอกพจน์
anybody everybody someone
anyone everyone somebody
anything everything something
anywhere everywhere somewhere
each + singular N. either + singular N. neither + singular N.
each of + Plural N. either of + Plural N. neither of + plural N.
เช่น
- Everyone agrees to your plan.
- Each of the lessons takes an hour.
5. ประธานซึ่งเชื่อมด้วยคำต่อไปนี้ กริยาให้ถือตามประธานตัวหลัง
or neither… nor
either….or not only……but also
เช่น
- Not only Jim but also his friends are coming to the party tonight.
- Neither the Prime minister nor his representatives are to attend the meeting.
6. คำต่อไปนี้ถ้าใช้แทนคำนามนับได้ ถือเป็นพหูพจน์เสมอ
all both (a) few
many severa some
เช่น
- All are going to miss the train.
- Few are attending the meeting.
- Many were invited to the lunch but only twelve showed up.
7. มาถึงคิวของคำบอกปริมาณกันบ้าง มีเยอะแยะแยกเป็นกลุ่มได้ดังนี้ค่ะ
7.1 วลีบอกปริมาณต่อไปนี้ถ้าตามด้วยนามเอกพจน์ กริยาต้องใช้เอกพจน์ ถ้าตามด้วยนามพหูพจน์กริยาต้องใช้พหูพจน์
a lot of plenty of most of some of
lots of all of none of percent of
เช่น
- I think a lot of English wine is too sweet.
- Plenty of people are in the room.
7.2 วลีบอกปริมาณต่อไปนี้ใช้กับคำนามนับได้ที่เป็นพหูพจน์ และกริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์ตามด้วย ซึ่งได้แก่คำว่า
a number of many
a large number of a good many
a great number of a great many
เช่น
- A number of students are playing football.
- A large number of tourists get lost because of that sign.
7.3 วลีบอกปริมาณต่อไปนี้ เมื่อใช้กับนามนับไม่ได้ กริยาต้องใช้รูปเอกพจน์ตลอดไป
much a large number of
a great deal of a large amount of
a good deal of a large quantity of
เช่น
- A large amount of money was stolen from the bank.
8. ประธานที่ขึ้นต้นด้วย Infinitive Phrase (วลีที่นำหน้าด้วย to) หรือ gerund (Ving) ถือว่าเป็นเอกพจน์ กริยาต้องเป็นรูปเอกพจน์
เช่น
- To get up early is my habit.
- Swimming is my favorite sport.
9. ประโยคที่มี who, which, that เป็น Relative Pronoun กริยาของ Relative Pronoun จะใช้รูปของเอกพจน์หรือพหูพจน์ให้ยึดตามคำที่มันแทนซึ่งอยู่ข้างหน้า
เช่น
- The students who are trying hard will pass the exam. (who = students)
- That girl who wears pink dress is my younger sister. (who = girl)
10. จำนวนเงินหรือมาตราต่างๆ ถือเป็นเอกพจน์
เช่น
- Twenty thousand bahts is too high for this camera.
- Two hundred miles is a long way.
11. เศษส่วนของคำนามพหูพจน์ ใช้กริยาเป็นพหูพจน์ เศษส่วนของคำนามเอกพจน์ ใช้กริยาเป็นเอกพจน์
เช่น
- Two-thirds of the boys are absent.
- Two-thirds of the wall has been painted.
เยอะมากมายสำหรับกฎที่ต้องจำ อันไหนใช้บ่อยก็จำได้ แต่ถ้าอันไหนไม่ค่อยได้ใช้ก็ต้องกางตำรากันนิดนึงเพราะถ้าเป็นงานเขียน หลักไวยากรณ์อาจจะต้องแม่นยำกว่าเวลาพูดค่ะ ^^