Category Archives: Tense ในภาษาอังกฤษ

ความแตกต่างระหว่าง present perfect กับ present perfect continuous

present perfect กับ present perfect continuous

ความแตกต่างระหว่าง present perfect กับ present perfect continuous

เรื่อง Tense เป็นปัญหายุ่งยากในการเรียนภาษาอังกฤษมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Tense ที่ใกล้เคียงกันมักจะสร้างความสับสนเวลาใช้ว่าจะเลือกใช้ Tense ไหนดี แล้วมันต่างกันอย่างไร ในที่นี้จะเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง present perfect กับ present perfect continuous tense

โครงสร้างของสอง Tense นี้ก็ใกล้เคียงกัน คือ

Present perfect :  ประธาน + have / has + V3

Present perfect continuous : ประธาน + have / has + been + Ving

** จำง่ายๆว่า ถ้าเป็น continuous ปุ๊บจะต้องมี Ving อย่างแน่นอน

หลักการใช้ของทั้งสอง Tense นี้เนื่องจากว่ามันเป็น perfect tense ทั้งคู่ เหตุการณ์ที่มันจะเกี่ยวข้องด้วยก็จะเป็นเหตุการณ์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แต่!! Present perfect continuous tense จะเน้นความต่อเนื่องของเหตุการณ์มากกว่า ฉะนั้นจะเลือกใช้ tense ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับนัยยะของสิ่งที่เขาต้องการจะสื่อ โดยถ้าหากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบต่อเนื่อง หรือ “ทำแบบไม่หยุดพัก” ให้ใช้ present perfect continuous เพื่อที่คนฟังจะได้เห็นภาพของความต่อเนื่อง ลองเปรียบเทียบสองประโยคนี้ดูค่ะ

  • The children have studied for their exam since this morning. (present perfect)
  • The children have been studying for their exam since this morning. (present perfect continuous)

ประโยคแรก “เด็กๆอ่านหนังสือเตรียมสอบกันตั้งแต่เมื่อเช้า” คนฟังก็จะเห็นภาพว่าเด็กนั่งอ่านหนังสือกัน อาจจะอ่านบ้าง พักบ้าง เล่นบ้าง แต่อ่านกันตั้งแต่เช้าประโยคที่สอง แปลเหมือนกัน แต่คนฟังอาจจะเห็นภาพว่าเด็กๆนั่งอ่านกันมาตั้งแต่เช้าโดยไม่หยุดพักเลย คร่ำเคร่งจดจ่ออยู่กับหนังสือกันมาก

ดังนั้นลักษณะเหตุการณ์จะคล้ายคลึงกัน แต่สิ่งที่ผู้พูดต้องการจะสื่อออกมาหรือแฝงเอาไว้นั้นคือ “ความต่อเนื่อง”

ตัวอย่างอื่นๆ เช่น

  • It has rained for three hours.
    ฝนตกมา 3 ชั่วโมงแล้ว (อาจจะเป็นการตกตลอด 3 ชั่วโมงติดต่อกันหรือตกแบบตกๆหยุดๆก็ได้)
  • It has been raining for three hours.
    ฝนตกติดต่อกันมา 3 ชั่วโมงแล้ว (ตกแบบไม่ขาดสาย)

** แต่ในบางกรณีถ้าเป็นเหตุการณ์ที่เสร็จสิ้นแล้ว และไม่ได้มีการดำเนินมาอย่างต่อเนื่องแต่ผลลัพธ์ยังมีอยู่ Tense ที่ใช้จะเป็น present perfect  เพราะบางเหตุการณ์เกิดขึ้นแค่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น ใครบางคนทำแก้วแตก ระยะเวลาที่ทำแก้วแตกใช้เวลาไม่นาน จึงไม่แสดงถึงความต่อเนื่อง แต่ผลลัพธ์ของมันคือ แก้วใบนั้นแตกไปแล้ว ประโยคนี้จึงควรใช้ present perfect อย่างไม่ต้องสงสัย คือ Someone has broken the glass.

เกี่ยวเนื่องจากประเด็นนี้คือ ส่วนใหญ่ present perfect จะใช้ในเหตุการณ์ที่เสร็จสิ้นไปแล้ว และ present perfect continuous จะใช้กับเหตุการณ์ที่ดำเนินมาแต่ยังไม่เสร็จสิ้น เช่น

  • Robert has washed his car.
    โรเบิร์ตล้างรถแล้ว      (เหตุการณ์เสร็จแล้วอาจจะเห็นภาพเป็นรถใหม่เอี่ยมของโรเบิร์ตเพราะผ่านการล้างมาแล้ว)
  • Robert has been washing his car since 10 o’clock.
    โรเบิร์ตกำลังล้างรถของเขาอยู่ตั้งแต่ 10 โมง (ล้างมาตั้งนานแล้ว แต่ยังไม่เสร็จ อาจจะเห็นภาพโรเบิร์ตกำลังล้างรถอยู่)

** แต่ present perfect continuous ก็นำมาพูดถึงเหตุการณ์ที่เสร็จสิ้นแล้วได้เหมือนกัน เพื่อต้องการชี้ให้เห็นถึงร่องรอยหรือผลลัพธ์ของเหตุการณ์ว่าที่เป็นแบบนี้เพราะได้เกิดเหตุการณ์มาอย่างต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน เช่น เพื่อนของคุณอาจจะทักว่า

  • You look tired.
    คุณดูเพลียๆนะ      คุณก็ตอบเพื่อนไปว่า
  • I haven’t been sleeping properly last night.
    เมื่อคืนนอนไม่ค่อยหลับเท่าไหร่ (คือเน้นว่าไม่ได้นอนหลับสนิทแบบต่อเนื่อง หรือหลับๆตื่นๆเลยดูเพลีย)

สรุปได้ว่า ประเด็นหลักที่ทั้งสอง Tense นี้ต่างกันคือ “ความต่อเนื่องของเหตุการณ์” ดังนั้นกริยาตัวใดที่ไม่แสดงความต่อเนื่อง เช่น arrive, stop, break เป็นต้น จึงเอามาใช้เป็น present perfect continuous ไม่ได้ และกริยาอีกกลุ่มที่นำมาใช้ใน present perfect continuous    ไม่ได้คือ กริยากลุ่มที่ไม่แสดงอาการการกระทำ (action verb) ซึ่งเป็นกริยาที่บอกความรู้สึก เช่น like, know, understand เช่น

  • Scientists have known about genetic coding in DNA since the early 1950.
    นักวิทยาศาสตร์ได้ล่วงรู้เกี่ยวกับรหัสของยีนในดีเอ็นเอมาตั้งแต่ปี 1950
  • I have liked this guy for 4 years.
    ฉันชอบผู้ชายคนนี้มา 4 ปีแล้ว

** แต่ปกติ present perfect continuous อาจจะไม่ค่อยได้ใช้เหมือน present perfect แต่ถ้าเราเข้าใจการใช้ present perfect continuous แล้วเราจะใช้ภาษาอังกฤษได้เหมือนเจ้าของภาษามากขึ้น

Past Simple Tense VS. Present Perfect Tense ใช้ต่างกันอย่างไร

Past Simple Tense VS. Present Perfect Tense

Past Simple Tense VS. Present Perfect Tense ใช้ต่างกันอย่างไร

I've been in hospital for three weeks.  I was in hospital for six weeks

 

เรื่อง Tense เนี่ย…จะหลบจะหลีกจะเลี่ยงยังไงมันก็ต้องเลี้ยวมาเจอกับมันอยู่ดีค่ะ! แต่มีสอง Tense ที่พาคนไทยหัวใจอังกฤษทั้งหลายสับสนมานักต่อนักแล้ว นั่นก็คือ เจ้า Past simple Tense กับ Present Perfect Tense

เรารู้มาว่า Past Simple ใช้กับเหตุการณ์ในอดีต ส่วน Present Perfect ใช้กับเหตุการณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาคือ!!…มันมีความเป็นอดีตเหมือนกัน แล้วจะแยกใช้ยังไง??   เอาง่ายๆเลย ลองดูสองภาพด้านบนค่ะ

ภาพบนเป็น Present perfect มีความหมายว่า “ฉันอยู่โรงพยาบาลมา 3 อาทิตย์แล้ว”

ส่วนภาพล่างเป็น Past simple เจ้าหนุ่มบอกเพื่อนว่า “ตูเนี่ยไปอยู่ในโรงพยาบาลมา 6 อาทิตย์”

มองจากภาพแล้วพอเห็นความแตกต่างมั๊ยคะ??….ใช่แล้วค่ะ….ภาพซ้ายที่ใช้ Present perfect เขาอยู่มาตั้งแต่ 3 อาทิตย์ที่แล้ว และปัจจุบันก็ยังอยู่ ยังใส่ชุดคนไข้ ให้น้ำเกลืออยู่    แต่ภาพขวาที่ใช้ Past Simple ตอนที่เขาพูด ตัวเขาไม่ได้อยู่ที่โรงพยาบาลแล้ว…ออกมาเที่ยวได้สบายอุราแล้วค่ะ   สรุปคือ…Present perfect พูดถึงเหตุการณ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันก็ยังทำอยู่   แต่ Past simple พูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดแล้ว จบแล้ว …

ลองดูกันอีกสักตัวอย่างนึง…

  • I have lost my key.   “ฉันทำกุญแจหาย”
  • I lost my key, but I found it just now.   “ฉันทำกุญแจหาย แต่เจอแล้วเมื่อกี๊”

นัยยะที่แฝงไว้ ที่ผู้ฟังสามารถอนุมานได้ก็คือ

ประโยคแรก…ทำกุญแจหาย จนถึงปัจจุบันตอนที่พูดก็ยังหาไม่เจอ     แต่ประโยคหลัง…ทำหาย แต่ตอนที่พูดหาเจอแล้ว

แต่ความแตกต่างมันยังไม่หมดเพียงเท่านี้ค่ะ!!   ถ้าเหตุการณ์ในอดีตที่พูดเนี่ย ไม่ได้บอกเวลาแน่นอนจะใช้ Present perfect ค่ะ แต่ถ้ามีเวลาในอดีตบอกแน่นอนจะใช้ Past simple  เปรียบเทียบจาก 2 ประโยคนี้ค่ะ

  • I have told him.     “ฉันบอกเขาแล้ว”
  • I told him yesterday. “ฉันบอกเขาแล้วเมื่อวาน”

สองประโยคนี้…..เกิดขึ้นแล้ว…..แต่ ประโยคแรก (Present perfect) บอกไปแล้ว แต่ตอนไหนไม่รู้ เน้นที่ผลของการกระทำมากกว่าว่า บอกแล้ว เขาก็จะต้องรู้แล้ว

ส่วนประโยคหลัง (Past simple) บอกเขาไปแล้ว เน้นเวลาแน่นอนด้วยว่า บอกไปเมื่อวานนี้    สรุปคือ…Present perfect เล่าเหตุการณ์ในอดีตได้ แต่ไม่เวลาบอกแน่นอน แต่ Past simple เล่าเหตุการณ์ในอดีต แต่มีเวลาบอกแน่นอน…

** หลักใหญ่ใจความของความแตกต่างระหว่าง 2 Tense มันก็เป็นด้วยประการฉะนี้ล่ะค่ะ ^^

เมื่อต้องการสื่อภาษาอังกฤษให้รู้ว่า “กำลังทำ” [Continuous Tense]

“กำลังทำ” Continuous Tense

“กำลังทำ” Continuous Tense

ในโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษ หากเราต้องการสื่อให้คนอื่นรู้ว่ากำลังทำ ทำได้โดยการใช้ Verb to be เข้ามาช่วย ให้อยู่ในรูปโครงสร้าง Verb to be + Verb-ing ที่เรียกกันว่า Continuous Tense

1. เมื่อสื่อถึงปัจจุบัน(Present Continuous)ว่ากำลังทำอยู่ จะอยู่ในโครงสร้าง [ประธาน + is,am,are + Verb-ing] โดยมีหลักการ ใช้ Verb to be(กริยาช่วย) ดังนี้

  • ประธานเป็น เอกพจน์, he, she, it ให้ใช้ is
  • ประธานเป็น I ให้ใช้ am
  • ประธานเป็น พหูพจน์, you, we, they, people ให้ใช้ are

ตัวอย่างคลิปจาก anglo-link.com

***ข้อควรระวังที่มักใช้ผิด (Common Mistakes)

  • I am living in Spain.(temporary) --> I live in Spain.
  • I am coming from Japan.(just been to Japan) --> I come from Japan.
  • Our company is producing glass. (only at the moment) --> Our company produces glass.
  • The economy is growing again this year. เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตอีกครั้งในปีนี้(ชั่วคราว ไม่ใช่ทุกปี)
  • Look, it snows.(mistake) --> Look, it’s snowing.

2. เมื่อต้องการสื่อถึงอดีต สิ่งที่กำลังทำในตอนนั้น หรือเหตุการณ์ที่กำลังทำในตอนนั้น(Past Continuous) จะอยู่ในโครงสร้าง [ประธาน + was,were + Verb-ing] โดยมีหลักการ ใช้ Verb to be(กริยาช่วย) ดังนี้ Continue reading

ศัพท์กริยา3ช่อง [Tense]

ศัพท์กริยา3ช่อง (tense)

ศัพท์กริยา 3 ช่องที่ใช้บ่อย
คลิปที่1

คลิปที่2

*** คำกริยาบางตัวสามารถเป็นได้ทั้ง regular verbs(คำกริยาที่ผันด้วยการเติมed) และ irregular verbs(คำกริยาที่ผันโดยไม่ได้เติมed)

กริยาช่องที่ 1(ปัจจุบัน)กริยาช่องที่ 2(อดีต)กริยาช่องที่ 3(สิ่งที่ได้ทำแล้ว)ความหมาย
awakeawokeawokenตื่น
bewas, werebeenเป็น,อยู่,คือ
bearborebornทน
beatbeatbeatenตี
becomebecamebecomeกลายเป็น
beginbeganbegunเริ่ม
bendbentbentหัก, งอ
besetbesetbesetโอบล้อมรอบด้าน
betbetbetพนัน
bidbid/badebid/biddenประมูล
bindboundboundผูกติดกัน
bitebitbittenกัด
bleedbledbledเลือดออก
blowblewblownเป่า

Continue reading

การออกเสียงคำกริยาที่เติมด้วย ed

การออกเสียงคำกริยาที่เติมด้วย ed

การออกเสียง (Pronunciation)
Regular Verbs เมื่อต้องการทำเป็นรูปอดีตกาลด้วยการเติม ed จะออกเสียงแตกต่างกันได้ 3 เสียง คือ /t/ /d/ /id/

1. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงไม่ก้อง (Voiceless) f, k, p และ s จะออกเสียง ed เป็น /t/ “เทอะ” เช่น
cooked, kissed, watched, finished, stopped, laughed เป็นต้น

2. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงก้อง(Voice) b, g, v, m, n, r, l (เมื่อลองเอามือสัมผัสที่ต้นคอดูเสียงจะสั่น) จะออกเสียง ed เป็น /d/ “เดอะ” เช่น rubbed, arrived, opened เป็นต้น

3. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วย t หรือ d ออกเสียง ed เป็น /id/ “อิด/ทิด” เช่น wanted, needed, visited เป็นต้น

 

 

วิธีการเปลี่ยนคำกริยาให้สื่อถึงอดีตกาลนั้นมี2รูปคือ
1. กริยาที่เปลี่ยนรูปเป็นอดีตกาลได้ด้วยวิธีเติม ed ต่อท้ายโดยตรง(regular verbs) โดยมีกฎเกณฑ์การใส่ ed ดังนี้

  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e ก็เติมแค่ d ต่อท้าย
  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y แต่หน้า y เป็นสระ ให้เติม ed ได้เลย
  • คำกริยาที่ลงท้างด้วยy แต่หน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยนyเป็น i แล้วเติม ed เช่น carried (carry)
  • คำกริยา1พยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ และหน้าพยัญชนะเป็นสละ(a,e,i,o,u) ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายอีก1ตัว แล้วเติม ed เช่น stopped, planned เป็นต้น ยกเว้น tax --> taxed, tow --> towed
  • คำกริยา2พยางค์ที่เน้นเสียง(stress)พยางค์หลัง และพยัญชนะหน้าพยางค์หลังเป็นสละ(a,e,i,o,u) ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายอีก1ตัว แล้วเติม ed เช่น refer --> referred, permit --> permitted เป็นต้น ยกเว้นคำกริยานั้นออกเสียงหนักที่พยางค์แรกให้เติม ed ได้เลย เช่น open --> opened, cover --> covered เป็นต้น
  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย c ให้เติม ked เช่น panicked เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น

  • love --> loved
  • work --> worked
  • worry --> worried
  • cry --> cried
  • play --> planned

2. คำกริยาที่เปลี่ยนรูปเป็นอดีตกาล ที่อยู่นอกเหนือกฎการเติมด้วยed (irregular verbs) ซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอน (ดูเพิ่มเติม ในกริยา3ช่อง) ตัวอย่างเช่น

  • sleep --> slept
  • sit --> sat
  • run --> ran

***ไม่ว่าจะเป็นคำกริยาแบบไหนขอเพียงเราใช้ความรู้สึกถึงช่วงเวลาที่เราต้องการจะสื่อ แล้วเลือกโครงสร้างที่สื่อถึงช่วงเวลานั้นใส่เข้าไป(ไม่ใช่เพียงท่องจำเพียงอย่างเดียว) เราก็จะสามารถสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติและอย่างเข้าใจ เช่น หากพูดกริยาวิ่ง ถ้าเราต้องการสื่อถึงการวิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ให้รู้สึกถึง ran เลย แทนการนึกถึง run แล้วก็มาเปลี่ยนเป็น ran เราก็จะสมารถใช้คำกริยาให้เหมาะกับกาลได้อย่างเข้าใจและไม่ผิด

การบอกเล่าเรื่องที่ผ่านไปแล้ว จบไปแล้ว [Past simple]

เล่าเรื่องที่ผ่านไปแล้ว จบไปแล้ว [Past simple]

ศัพท์ที่ควรรู้

  • consonant n. [คั๊นเสินเนิ่นทฺ] เสียงพยัญชนะ
  • vowel n. [ฝาวโอ็ลฺ] เสียงสระ (a letter representing a vowel sound, such as a, e, i, o, u.)
  • precede v. [พริซีดฺ] นำหน้า, อยู่ข้างหน้า
  • infinitive verb  คือคำกริยารูปปกติ (กริยาที่ไม่ได้เติม s, es, ed, หรือ ing ที่ท้าย)

การบอกเล่าเรื่องที่ผ่านไปแล้ว จบไปแล้วในช่วงเวลาหนึ่งในอดีต(Past simple) ตัวแปรสำคัญที่เราต้องใช้เมื่อต้องการสื่อถึงเรื่องในอดีตก็คือ กริยาช่องที่2 นั่นเอง โดยจะมีหรือไม่มีคำบอกเวลาอยู่ในประโยคก็ได้ เช่นคำว่า yesterday,this morning, ago, last night, last week, last month, last year เป็นต้น

1. ประโยคบอกเล่าถึงเรื่องราวในอดีตในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นอดีตไปแล้ว

  • เขาอยู่ที่บ้าน ==> He was at home.
  • เธอล้างรถของเธอ ==> She washed her car.
  • เขาไม่ได้ล้างรถของเขา ==> He didn’t wash his car.
  • เขาเล่นกีตาร์ ==> He played the guitar.
  • เขาไม่ชอบผักมาก่อน ==> He didn’t like vegetables before.
  • ฉันดูหนังเมื่อวานนี้ ==> I saw a movie yesterday.
  • เขาทำงานที่โรงภาพยนตร์หลังเลิกเรียน (แต่ก่อน) ==> He worked at the movie theater after school.
  • ผมเรียนภาษาไทยมาตอนที่ผมยังเป็นเด็ก ==> I studied Thai when I was a child.
  • เมื่อเดือนก่อนฉันเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ==> Last month, I traveled to Japan.
  • เมื่อวานนี้ฉันไม่ได้เดินทางไปเชียงใหม่ ==> yesterday, I didn’t travel to Chiang Mai.
  • ผมอาศัยอยู่ในจีนเป็นเวลาสองปี ==> I lived in China for two years. (Where do you live?)
  • เขาเรียนภาษาจีนเป็นเวลาสิบปี ==> He studied Chinese for ten years.
  • พวกเขานั่งอยู่ที่สนามหญ้าตลอดทั้งวัน ==> They sat at the lawn all day.
  • เราคุยกันทางโทรศัพท์เป็นเวลาห้านาที ==> We talked on the phone for five minutes.
  • คุณรอพวกเขานานเท่าไหร่ ==> How long did you wait for them?
  • พวกเรารอเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง ==> We waited for half and hour.

2. การถามถึงเรื่องในอดีต ที่ผ่านไปแล้ว

  • เมื่อวานคุณกินทุเรียนใช่ไหม ==> Did you eat durian yesterday?
  • เมื่อคืนคุณมีดินเนอร์ใช่ไหม ==> Did you have dinner last night?
  • สมัยที่คุณเป็นเด็ก คุณอยากเป็นอะไรเมื่อคุณโตขึ้น ==> When you were a kid, what did you want to be when you grew up?
  • คุณได้เล่นเครื่องดนตรีไหมตอนที่คุณเป็นเด็ก ==> Did you play a musical instrument when you were a kid?

3. เมื่อเล่าถึงเรื่องในอดีตและจบลงในอดีต ที่มีสองประโยคขึ้นไป โดยใช้คำเหล่านี้เชื่อมเข้าหากัน

  • แต่(ขัดแย้งกัน) ==> but
  • และ(สอดคล้องกัน) ==> and
  • ดังนั้น(เป็นเหตุเป็นผลกัน) ==> so
  • เพราะว่า(เป็นเหตุเป็นผลกัน) ==> because

ตัวอย่างเช่น

  • เขาเดินทางมาจากสนามบินเวลา 12:00 เช็คอินเข้าโรงแรมเวลา 18:00 น. และได้พบกับบุคคลอื่นเวลา 19:00 น.
    He arrived from the airport at 12:00, checked into the hotel at 18:00, and met the others at 19:00.
  • เมื่อคืนฉันรู้สึกไม่สบาย ดังนั้นจึงเข้านอนแต่หัวค่ำ
    I fell sick so I went to bed early last night.