Category Archives: กริยาช่วยในภาษาอังกฤษ

No กับ Not ใช้ต่างกันอย่างไร

No กับ Not ใช้ต่างกันอย่างไร

No กับ Not  ใช้ต่างกันอย่างไร
คนส่วนใหญ่ก็มักจะคิดว่า  No แปลว่า “ไม่”  Not ก็แปลว่า  “ไม่”  มันก็คงจะใช้เหมือนๆกันนั่นแหละ  แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลยค่ะ   คำว่า No  แปลว่า ไม่ แค่ตอนตอบคำถามที่เป็น Yes/No question เท่านั้น

  • Do you have any money?     No,  I don’t.
  • Will you go out tonight?      No, I won’t.

แต่ถ้าไปเจอ no ที่อื่นมันจะไม่ได้แปลว่า ไม่  แล้วค่ะ  แต่แปลว่า  “ไม่มี” ต่างหาก   เวลาใช้ก็แค่เอาไปวางไว้หน้าคำนาม  แล้วนามนั้นก็จะอันตรธานหายไป  ไม่มีโดยทันที  เช่น

  • I have no idea.
  • I had to walk home last night because there was no bus.
  • Hurry up! We have no time left.
  • No student passes math exam.

มาดูทางฝั่ง  not  กันบ้าง   not  เนี่ยแหละค่ะที่แปลว่า ไม่ ตัวจริงเสียงจริง  ใช้ในความหมายปฏิเสธโดยใช้คู่กับคำกริยา หรือ  คำคุณศัพท์  หรือ คำนาม   แต่!!  กฎคือ มันจะเข้ามาเสียบหน้าคำพวกนี้ลอยๆไม่ได้  มันต้องมีตัวช่วยเข้ามาวางไว้หน้า not  นั่นก็คือ  กริยาช่วย (Auxiliary verb)  นั่นเองค่ะ  มีทั้ง  Verb to be, Verb to do, Verb to have, และ modal verb  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มี not ตามหลังได้เลยในความหมายปฏิเสธ  เช่น

  • Susie does not speak French.
  • I do not need your help.
  • You are not my boss.
  • She is not tall.
  • You should not wear shoes in Japanese home.

แต่เป็นธรรมดาของภาษาอังกฤษ  ตั้งกฎนู่นกฎนี่กฎนั่นมาตั้งมากมาย แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่ดี  ข้อยกเว้นของการใช้  not ก็คือ  มันสามารถไปวางไว้หน้านามได้เหมือนกัน  แปลกไหมล่ะ  แต่มีข้อแม้ว่านามนั้นต้องมีคำบอกจำนวนอยู่ข้างหน้า  เช่น

  • Not many people are allowed to enter the stadium.
  • Not much sugar was used in this dish.

นอกจากนี้ในบางกรณี  ก็สามารถเลือกได้ว่าจะใช้  no หรือ not  เช่น

  • There was not any food left in the kitchen.
  • There was no food left in the kitchen.

สองประโยคนี้ความหมายเหมือนกันค่ะ คือแปลว่า ไม่มีอาหารเหลืออยู่ในห้องครัว

  • I have no money.
  • I don’t have any money.

สองประโยคนี้ก็มีความหมายเดียวกัน  ซึ่ง don’t ก็คือ do not ที่เป็นรูปย่อ  แต่ข้อควรระวังคือ  อย่าเอาสองคำนี้มาใช้รวมกันเด็ดขาด  คือ  I don’t have no money.  อย่างนี้ผิดค่ะ  เพราะ ถ้าจะใช้ no ก็ไม่ต้องมี don’t ข้างหน้าแล้ว  เพราะ no มีความหมายเป็นปฏิเสธอยู่แล้ว กริยาจึงต้องเป็นรูปประโยคบอกเล่า  แต่ถ้าจะใช้  don’t  ก็อย่าเอา  no  มาทับซ้อนกัน   ใช้แค่ตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้นค่ะ  ประมาณว่า  เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้  ^^

หลักการใช้ be ในภาษาอังกฤษ

หลักการใช้ be ในภาษาอังกฤษ

หลักการใช้ be

หลักการใช้ be
หลักการใช้ be

หลายคนคงจะเคยเห็นคำว่า be อยู่ในประโยคภาษาอังกฤษมาบ้าง ซึ่งบางทีก็ชวนสับสนเหมือนกันว่า be มันคืออะไร แล้วใช้ยังไง และคำถามที่น่าจะโดนใจใครหลายๆคนคือ “จะรู้ได้อย่างไรว่าตรงนี้ต้องใช้ be”

ก่อนอื่นคงต้องมาทำความรู้จักกับ be ก่อนว่า be คืออะไร?   be ก็คือ รูปธรรมดาหรือ base form ของ verb to be (is, am, are) ที่เรารู้จักนั่นแหละค่ะ หลักการใช้ be มีดังนี้ค่ะ

**   เรามักจะเห็น be อยู่ตามหลัง กริยาช่วยหรือ modal verb (will, would, can, could, may, might, must, should, etc.) เช่น

  • We should be hardworking.
    พวกเราควรจะขยัน
  • He should be a teacher because he can get along well with children.
    เขาควรจะเป็นครูเพราะเขาเข้ากับเด็กๆได้ดี

** ทำไมหลังกริยาช่วยเหล่านี้ต้องเติม be น่ะเหรอ? เหตุผลก็คือ
ปกติกริยาช่วยเหล่านี้ต้องบวกด้วยกริยารูปธรรมดา ——–Modal verb + V (base form)——-  เช่น I should go.

แต่ประโยคแรก hardworking เป็น adjective ไม่ใช่ verb    แล้วทำยังไงล่ะทีนี้?? ถ้าเราจำกฎของ adjective ได้คือ adjective สามารถตามหลัง verb to be ได้ แล้วบังเอิญว่ามันตามหลัง modal verb เราก็ต้องเลือกใช้ verb to be รูป base form ซึ่งก็คือ be นั่นเอง!! เริ่มจะเก็ทมานิดๆแล้วใช่มั๊ยคะ

ส่วนประโยคที่สอง a teacher เป็นคำนาม ในประโยคนี้ต้องมี verb to be ในความหมายว่า   “เป็น” พอตามหลัง should ซึ่งเป็น modal verb จึงต้องเป็นรูป base form Continue reading

การใช้ Do, Does, Did, Don’t, Doesn’t, Didn’t

การใช้ Do, Does, Did, Don’t, Doesn’t, Didn’t

1. การใช้ Do, Does (english4shared)

2. การใช้ did (english4shared)

3. การใช้ Do, Does, Did, Don’t, Doesn’t, Didn’t (https://www.engvid.com/)

การใช้ Do,Does
I,you,we,they ใช้กับ Do
He,she,it,the boy,a cat (เอกพจน์บุรุษที่ 3) ใช้กับ Does
—————————————-­——————–

1. การใช้ Do, Does ให้เป็นกริยาแท้ของประโยค
I do my home work.
He does his home work.

2. การใช้ Do, Does ในหน้าที่ของกริยาช่วย เพื่อให้ประโยคนั้นเป็นประโยคปฎิเสธหรือประโยคคำถาม
2.1 I love him.
==> เปลี่ยนเป็นประโยคปฎิเสธ
I do not love him./I don’t love him.
==> เปลี่ยนเป็นประโยคคำถาม
Do I love him? (Yes,I do.)
—————————————-­——————– Continue reading