Category Archives: คำกริยาในภาษาอังกฤษ

คำว่า “ไปก่อน” ภาษาอังกฤษพูดว่าอย่างไร

คำว่า “ไปก่อน” ภาษาอังกฤษพูดว่าอย่างไร

คำว่า “ไปก่อน” ภาษาอังกฤษพูดว่าอย่างไร

คำว่า “ไปก่อน”  มีได้ในหลายๆสถานการณ์ เช่น  “ไปก่อนนะ” ใช้ในการบอกลาหรือขอตัวไปทำอย่างอื่น   หรือ “คุณไปก่อนเลย เดี๋ยวตามไป”  แบบนี้ก็ได้เช่นกัน  หรือ “เชิญคุณก่อน”  เป็นการแสดงน้ำใจให้คนอื่นทำก่อน  ซึ่งในแต่ละสถานการณ์ก็อาจจะใช้คำต่างกันนะคะ

เวลาจะบอกลาว่า “ไปก่อนนะ”  ภาษาอังกฤษ ก็มีใช้ได้หลายคำเลยนะคะ ทั้งแบบสั้น แบบยาว แบบทางการ ไม่ทางการ เช่น

  • See you / See you later / See you again next time / See you again tomorrow

แบบนี้เป็นคำพูดเบสิคเลยที่มักจะพูดกัน  มันอาจจะแปลว่า  แล้วเจอกันก็ได้ เจอกันใหม่พรุ่งนี้ ซึ่งก็ความหมายเดียวกับคำว่า ไปก่อนนะ เนี่ยแหละ  ใช้บอกลาเหมือนกัน   หรือจะเป็นประโยคยาวขึ้นมาหน่อยเป็นคำว่า

  • I must go./ I must go now. / I have to go now.

แปลอย่างตรงตัวก็  ต้องไปละนะ   หรือแบบอังกฤษจ๋าเค้าก็ใช้คำว่า I’m off. คำนี้ไม่ค่อยคุ้นกันใช่มั้ยคะ อาจจะเป็นภาษาพูด  เช่นจะบอกว่า “ไปทำงานก่อนนะ”  ก็ใช้คำว่า I’m off to work.   ไปโรงเรียนก่อนนะ  I’m off to school.

ในอีกสถานการณ์นึงคำว่า “ไปก่อน” อาจจะหมายถึง ให้ทำอะไรไปก่อนได้เลย  เช่น กินก่อนได้เลย  เดินไปก่อนได้เลย  พูดก่อนได้เลย  แบบนี้จะพูดว่าอย่างไรดีล่ะ?  แบบนี้เราสามารถใช้คำว่า  “Go ahead” ได้นะคะ  เช่น

  • You go ahead and buy the food.
    คุณไปซื้ออาหารก่อนได้เลยนะ

หรือเพื่อนมาชวนกลับบ้านแต่งานคุณยังไม่เสร็จ  คุณก็อาจจะบอกว่า

  • Go ahead I will go later.
    ก็แปลประมาณว่า “ไปก่อนเลย เดี๋ยวชั้นค่อยกลับทีหลัง”

ขอเพิ่มเติมนิดนึงนะคะ ในสถานการณ์ลักษณะนี้เช่น เพื่อนชวนไปทานข้าวกลางวัน แต่งานยังไม่เสร็จ จะตามไปทีหลัง  คุณก็อาจจะบอกว่า Continue reading

คำกริยาในกลุ่มที่แปลว่า ทำให้- เวลาใช้อย่าสับสนนะ

คำกริยาในกลุ่มที่แปลว่า ทำให้

คำกริยาในกลุ่มที่แปลว่า  ทำให้–   เวลาใช้อย่าสับสนนะ

กริยาบางกลุ่มเวลานำไปใช้อาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดหรือแปลสับสนได้  ลองดูตัวอย่างประโยคนี้นะคะ

  • My little brother always annoys me.

ประโยคนี้ถ้าบางคนแปลแบบผ่านๆก็อาจจะแปลได้ว่า  น้องชายของฉันรำคาญฉัน  แต่จริงๆแล้วมันแปลได้ว่า  น้องชายของฉันทำให้ฉันรำคาญ        ลองมาดูอีกประโยคนึงค่ะ  เป็นคำที่เรารู้จักกันดีแล้วกันคือคำว่า   interest

  • This film doesn’t really interest me.

ประโยคนี้ไม่ได้แปลว่า  ฉันไม่ได้สนใจหนังเรื่องนี้  แต่จริงๆแล้วประโยคนี้แปลว่า  หนังเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ฉันสนใจเลย

จากตัวอย่างทั้งสองประโยคนี้สังเกตเห็นความเหมือนกันอย่างนึงคือ  ตรงกริยาจะแปลว่า  ทำให้(รู้สึก)…….   ดังนั้นเวลาแปลเราจะต้องระวังว่า  อะไรทำให้รู้สึกอย่างไรกันแน่      ตัวอย่างของกริยาในกลุ่มนี้คำอื่นๆคือ         amaze, disappoint, confuse, bore, excite, scare, terrify, satisfy, frustrate, depress, fascinate, etc.   และยังมีอีกหลายคำค่ะที่อยู่ในกลุ่มนี้  ลองมาดูตัวอย่างประโยคกันค่ะ

  • The result amazes me a lot.
    ผลลัพธ์ทำให้ฉันประหลาดใจมาก
  • I don’t want to disappoint you.
    ฉันไม่ต้องการที่จะทำให้คุณผิดหวัง
  • You often confuse me.
    คุณทำให้ผมสับสนอยู่บ่อยๆ

กริยาในกลุ่มนี้นะคะสามารถทำให้เป็น adjective ได้โดยการเติม –ed  หรือ –ing ไปข้างหลัง  แต่การเติม –ed  หรือ –ing เข้าไปนั้นจะให้ความหมายที่ต่างกันดังนี้  Continue reading

กริยาแบบ Finite and Non-finite verb

Finite and Non-finite verb

Finite and Non-finite verb

คำกริยาในภาษาอังกฤษถ้าแบ่งตามหน้าที่จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. Finite verb (กริยาแท้)
2. Non-finite verb (กริยาไม่แท้)

1. Finite verb (กริยาแท้) คือ กริยาที่ทำหน้าที่แสดงอาการหรือการกระทำของประธานในประโยค ลองนึกภาพดูว่าในประโยคใดประโยคหนึ่งอาจจะมีคำที่มีรูปร่างหน้าตาเป็นคำกริยาปรากฎอยู่มากกว่า 1 คำ แต่จะมีกริยาเพียงตัวเดียวที่เป็นกริยาแท้ในประโยค เป็นกริยาของประธานในประโยค  กริยาที่เป็น finite verb จะสามารถผันรูปได้ตาม subject, Tense, mood และ voice เช่น

ผันตาม Tense

  • I am not playing game, but I am doing homework.
    (ผันเป็น verb ที่เติม ing ตาม present continuous tense)
  • They have just finished their work.
    (ผันเป็น verb ช่อง 3ตาม present perfect tense)

ผันตาม subject

  • She goes to work by car every day. (ประธานเอกพจน์)
  • Many people like going abroad.   (ประธานพหูพจน์)

ผันตาม voice

  • Sarah told me her secret.   (active voice)
  • I was told about this matter many times. (passive voice)

ผันตาม mood

  • I recommended that he see a doctor. (subjunctive mood)    **ไม่ใช่ he sees

2. Non-finite verb (กริยาไม่แท้) คือ กริยาที่จะไม่ผันตาม tense, subject, mood หรือ voice และจะทำหน้าที่อย่างอื่นในประโยค จะไม่ทำหน้าที่เป็นกริยา   กริยาไม่แท้ในภาษาอังกฤษจะมี 3 ประเภท คือ

2.1 gerund คือ กริยาที่เติม ing (Ving) ทำหน้าที่เป็นคำนามในประโยค  เช่น

  • Smoking isn’t allowed here.
  • I try to avoid meeting him.

2.2  to infinitive คือ กริยารูปธรรมดาที่ตามหลัง to ทำหน้าที่เป็นคำนามในประโยค เช่น

  • The best way to live happily in the society is to be open-minded.
  • To love is to risk.

2.3 participle คือกริยาที่เติม –ed หรือเป็นกริยาช่อง 3   ทำหน้าที่เป็นเหมือนคำคุณศัพท์คือขยายประธานในประโยค เช่น

  • Let a sleeping dog lie.
    อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน
    (เป็นสำนวนสุภาษิต หมายถึง อย่าหาเรื่องใส่ตัว )
  • He’s driving a rented car.
    เขากำลังขับรถคันที่เช่ามา

** ในประโยคหนึ่งอาจจะมีกริยาหลายตัว เราจะต้องแยกให้ได้ว่า กริยาใดเป็นกริยาแท้ในประโยคและกริยาใดเป็นกริยาไม่แท้ เพื่อที่เวลาแปลความหมายจะได้ไม่สับสน

  • She wants to know you.
    ในประโยคนี้ กริยาแท้คือ คำว่า wants ซึ่งมีการผันตามประธานที่เป็นเอกพจน์ ส่วน to know เป็นกริยาไม่แท้ ที่เป็น to infinitive

** การรู้จักกริยาแท้และกริยาไม่แท้มีส่วนช่วยในการทำความเข้าใจกับการอ่านเป็นอย่างมาก เพื่อให้ความเข้าใจในเนื้อเรื่องไม่คลาดเคลื่อนค่ะ

วิธีการเติม ing ที่คำกริยา

วิธีการเติม ing ที่คำกริยา

วิธีการเติม ing ที่คำกริยา

1. เติม ing ท้ายกริยาช่องที่ 1 ได้ทันทีสำหรับกริยาทั่วไป เช่น

  • work — working
  • read — reading
  • watch — watching
  • sing — singing

2. คำกริยาบางพวกมีการเปลี่ยนแปลงรูปก่อนเติม ing พอจะสรุปเป็นกฏได้ดังนี้
2.1. คำพยางค์เดียว มีสระ (vowel) ตัวเดียว ลงท้ายด้วยพยัญชนะ (consonat) ตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะตัวท้ายเข้าไปอีก 1 ตัว เเล้วจึงเติม ing เช่น

  • run — running วิ่ง
  • stop — stopping หยุด
  • put — putting วาง
  • shut — shutting ปิด
  • stir — stirring คน(ผสมให้ทั่ว)
  • beg — begging ขอ,ขอร้อง

2.2 คำสองพยางค์ ซึ่งลงเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์ท้าย มีสระพยางค์ท้ายเพียงตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะตัวท้ายนั้นเข้าอีก 1 ตัว เเล้วจึงเติม ing เช่น Continue reading

คำกริยาในภาษาอังกฤษ (verb)

คำกริยาในภาษาอังกฤษ (verb)

คำกริยา (verb) คือคำบอกอาการหรือการกระทำ(action) หรือความมีอยู่เป็นอยู่ (being) เช่น run, buy, walk, hit, eat เป็นต้น

ตัวอย่างคำกริยา (https://elflearning.jp/)

อาจแบ่งคำกริยาได้ดังนี้
1. คำกริยาหลัก (Main Verbs)
1.1 กริยาที่มีการกระทำ (Action Verb) เช่น walk, feed, jump, toetip, catch, kick, swim,write, bark เป็นต้น
1.2 กริยาที่ไม่มีการกระทำ (No Action Verb) เช่น think, love, look, like, hate, consider เป็นต้น

Action and no Action Verbs

1.3 กรรมตรงและกรรมรองของกริยา(direct and indirect opject) โดย https://www.appuseries.com

***หากต้องการสื่อถึงอดีตกาลก็เพียงแค่เปลี่ยนรูปกริยาเป็นช่องที่2เท่านั้น

2. คำกริยา verb to be คือคำกริยาที่ต้องการสื่อถึงความหมาย เป็น อยู่ คือ นั่นเอง --> is, am, are, was, were (https://www.engvid.com) Continue reading

การออกเสียงคำกริยาที่เติมด้วย ed

การออกเสียงคำกริยาที่เติมด้วย ed

การออกเสียง (Pronunciation)
Regular Verbs เมื่อต้องการทำเป็นรูปอดีตกาลด้วยการเติม ed จะออกเสียงแตกต่างกันได้ 3 เสียง คือ /t/ /d/ /id/

1. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงไม่ก้อง (Voiceless) f, k, p และ s จะออกเสียง ed เป็น /t/ “เทอะ” เช่น
cooked, kissed, watched, finished, stopped, laughed เป็นต้น

2. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วยเสียงก้อง(Voice) b, g, v, m, n, r, l (เมื่อลองเอามือสัมผัสที่ต้นคอดูเสียงจะสั่น) จะออกเสียง ed เป็น /d/ “เดอะ” เช่น rubbed, arrived, opened เป็นต้น

3. เมื่อคำกริยานั้นลงท้ายด้วย t หรือ d ออกเสียง ed เป็น /id/ “อิด/ทิด” เช่น wanted, needed, visited เป็นต้น

 

 

วิธีการเปลี่ยนคำกริยาให้สื่อถึงอดีตกาลนั้นมี2รูปคือ
1. กริยาที่เปลี่ยนรูปเป็นอดีตกาลได้ด้วยวิธีเติม ed ต่อท้ายโดยตรง(regular verbs) โดยมีกฎเกณฑ์การใส่ ed ดังนี้

  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย e ก็เติมแค่ d ต่อท้าย
  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย y แต่หน้า y เป็นสระ ให้เติม ed ได้เลย
  • คำกริยาที่ลงท้างด้วยy แต่หน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยนyเป็น i แล้วเติม ed เช่น carried (carry)
  • คำกริยา1พยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ และหน้าพยัญชนะเป็นสละ(a,e,i,o,u) ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายอีก1ตัว แล้วเติม ed เช่น stopped, planned เป็นต้น ยกเว้น tax --> taxed, tow --> towed
  • คำกริยา2พยางค์ที่เน้นเสียง(stress)พยางค์หลัง และพยัญชนะหน้าพยางค์หลังเป็นสละ(a,e,i,o,u) ให้เพิ่มพยัญชนะท้ายอีก1ตัว แล้วเติม ed เช่น refer --> referred, permit --> permitted เป็นต้น ยกเว้นคำกริยานั้นออกเสียงหนักที่พยางค์แรกให้เติม ed ได้เลย เช่น open --> opened, cover --> covered เป็นต้น
  • คำกริยาที่ลงท้ายด้วย c ให้เติม ked เช่น panicked เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น

  • love --> loved
  • work --> worked
  • worry --> worried
  • cry --> cried
  • play --> planned

2. คำกริยาที่เปลี่ยนรูปเป็นอดีตกาล ที่อยู่นอกเหนือกฎการเติมด้วยed (irregular verbs) ซึ่งมีรูปแบบที่แน่นอน (ดูเพิ่มเติม ในกริยา3ช่อง) ตัวอย่างเช่น

  • sleep --> slept
  • sit --> sat
  • run --> ran

***ไม่ว่าจะเป็นคำกริยาแบบไหนขอเพียงเราใช้ความรู้สึกถึงช่วงเวลาที่เราต้องการจะสื่อ แล้วเลือกโครงสร้างที่สื่อถึงช่วงเวลานั้นใส่เข้าไป(ไม่ใช่เพียงท่องจำเพียงอย่างเดียว) เราก็จะสามารถสื่อสารอย่างเป็นธรรมชาติและอย่างเข้าใจ เช่น หากพูดกริยาวิ่ง ถ้าเราต้องการสื่อถึงการวิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ให้รู้สึกถึง ran เลย แทนการนึกถึง run แล้วก็มาเปลี่ยนเป็น ran เราก็จะสมารถใช้คำกริยาให้เหมาะกับกาลได้อย่างเข้าใจและไม่ผิด