หลักการใช้ be
หลายคนคงจะเคยเห็นคำว่า be อยู่ในประโยคภาษาอังกฤษมาบ้าง ซึ่งบางทีก็ชวนสับสนเหมือนกันว่า be มันคืออะไร แล้วใช้ยังไง และคำถามที่น่าจะโดนใจใครหลายๆคนคือ “จะรู้ได้อย่างไรว่าตรงนี้ต้องใช้ be”
ก่อนอื่นคงต้องมาทำความรู้จักกับ be ก่อนว่า be คืออะไร? be ก็คือ รูปธรรมดาหรือ base form ของ verb to be (is, am, are) ที่เรารู้จักนั่นแหละค่ะ หลักการใช้ be มีดังนี้ค่ะ
** เรามักจะเห็น be อยู่ตามหลัง กริยาช่วยหรือ modal verb (will, would, can, could, may, might, must, should, etc.) เช่น
- We should be hardworking.
พวกเราควรจะขยัน - He should be a teacher because he can get along well with children.
เขาควรจะเป็นครูเพราะเขาเข้ากับเด็กๆได้ดี
** ทำไมหลังกริยาช่วยเหล่านี้ต้องเติม be น่ะเหรอ? เหตุผลก็คือ
ปกติกริยาช่วยเหล่านี้ต้องบวกด้วยกริยารูปธรรมดา ——–Modal verb + V (base form)——- เช่น I should go.
แต่ประโยคแรก hardworking เป็น adjective ไม่ใช่ verb แล้วทำยังไงล่ะทีนี้?? ถ้าเราจำกฎของ adjective ได้คือ adjective สามารถตามหลัง verb to be ได้ แล้วบังเอิญว่ามันตามหลัง modal verb เราก็ต้องเลือกใช้ verb to be รูป base form ซึ่งก็คือ be นั่นเอง!! เริ่มจะเก็ทมานิดๆแล้วใช่มั๊ยคะ
ส่วนประโยคที่สอง a teacher เป็นคำนาม ในประโยคนี้ต้องมี verb to be ในความหมายว่า “เป็น” พอตามหลัง should ซึ่งเป็น modal verb จึงต้องเป็นรูป base form
** ประโยคที่มี to be ก็เยอะ ทำไมต้องเป็น to be?
มาทำความเข้าใจกับ to ก่อนค่ะ to ในที่นี้เป็น to infinitive ต้องบวกด้วย Verb (base form) หรือบางคนอาจจะรู้จักในนามว่า infinitive with to เช่น I want to drink some water. (ฉันอยากกินน้ำสักหน่อย)
แต่ถ้าในประโยคนี้
I want to be a doctor. (ฉันอยากจะเป็นหมอ) ในประโยคนี้ต้องการ verb to be ในความหมายว่า “เป็น” แต่บังเอิญว่ามันตามหลัง to infinitive ซึ่งมีกฎว่าต้องตามด้วยกริยารูป base form นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าต้องมี be นำหน้า doctor ถ้าเปลี่ยนจาก doctor เป็น rich ก็ต้องมี be เหมือนกัน เพราะ rich เป็น adjective ที่ต้องตามหลัง verb to be
** คำอื่นๆที่ต้องตามด้วยกริยารูป base form หรือรูปธรรมดาที่ไม่มีการผัน ถ้าหากว่าข้างหลังเป็น adjective หรือ ต้องการใช้ในความหมายว่า เป็น, อยู่, คือ ก็ต้องใช้ be นำหน้า adjective หรือ noun เหล่านั้นด้วยค่ะ เช่น
- I’d rather be cold than hot. ฉันชอบอากาศหนาวมากกว่าร้อน
** be ในรูปของ passive voice หรือประโยคที่ประธานถูกกระทำมีโครงสร้างหลักคือVerb to be + Verb 3
แต่ถ้าตามหลัง modal verb หรือ to อย่างที่กล่าวไปแล้วด้านบนก็ใช้ be เช่นเดียวกันค่ะ เช่น
- Your car can’t be fixed.
รถคุณซ่อมไม่ได้ (รถถูกซ่อม) - Everyone has the right to be informed.
ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรู้ (ถูกแจ้งให้ทราบ)
** ขอเสริมคำว่า being เข้าไปหน่อยค่ะ เช่นในประโยคนี้
- We’re talking about being a good mother.
เรากำลังคุยกันถึงเรื่องการเป็นแม่ที่ดี
ในประโยคนี้ being ก็คือ verb to be รูปแบบหนึ่งค่ะ ใช้ในความหมายว่า เป็น ซึ่งตามหลัง preposition คำว่า about ตามหลักแล้ว หลัง preposition ต้องตามด้วยคำนาม ดังนั้นจึงเติม ing เข้าไปที่ be เพื่อให้เป็นคำนามแปลว่า การเป็น…
*** น่าจะชัดเจนขึ้นนะคะ สำหรับการใช้ be ในภาษาอังกฤษ คราวนี้พอไปเจอ be ที่ไหนก็น่าจะเก็ทแล้วว่ามาได้ยังไง ^^
Comments are closed.