Compound words ตอนที่ 2 (Compound Adjective)

Compound words

Compound words ตอนที่ 2 ( Compound Adjective)

จากที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนที่ 1 ว่า compound words คือคำประสมที่เกิดจากการนำคำสองคำมารวมกัน แบ่งออกเป็น Compound Noun และ Compound Adjective ในตอนที่ 2 นี้จะกล่าวถึง compound adjective หรือคำคุณศัพท์ประสมค่ะ

คำคุณศัพท์ประสม หมายถึง การนำคำสองคำมารวมกันแล้วเกิดคำใหม่ขึ้น โดยคำที่ได้นั้นทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ คำคุณศัพท์ประสมเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ ดังนี้ค่ะ

1. Noun + Adjective เช่น

  • A blood-red blouse  หมายถึง   เสื้อที่มีสีแดงเหมือนเลือด
  • Nut-brown eyes              หมายถึง   ตาที่มีสีน้ำตาลเข้ม

2. Adjective + Noun เช่น

  • Upper-class people       หมายถึง   คนชั้นสูง
  • Real-life story                 หมายถึง   เรื่องราวชีวิตจริง

การรวมกันในลักษณะแบบนี้รวมไปถึงการบอกจำนวนของคำนามด้วย คือ การนำเอา

จำนวน + คำนามรูปเอกพจน์ เช่น

  • Five-year-old boy           หมายถึง เด็กชายอายุ 5 ขวบ
  • Three-room house          หมายถึง บ้านที่มี 3 ห้อง
  • Ten-minute walk             หมายถึง   การเดิน 10 นาที

3. Adjective + Noun เติม ed  เช่น

  • A two-legged animal       หมายถึง สัตว์ที่มี 2 ขา
  • A long-sleeved shirt        หมายถึง เสื้อแขนยาว
  • A red-nosed reindeer       หมายถึง   กวางจมูกแดง

4. Adjective/Noun/Adverb + Ving เช่น

  • A good-looking girl         หมายถึง เด็กสาวหน้าตาดี
  • A fast-growing business หมายถึง ธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • An easy-going person      หมายถึง คนที่มีความเป็นอยู่ง่ายๆสบายๆ
  • A grass-cutting knife      หมายถึง มีดตัดหญ้า

5. Noun/Adjective/Adverb + Past Participle (V3) เช่น

  • A well-known legend                หมายถึง ตำนานที่รู้จักกันดี
  • A beautifully-decorated room  หมายถึง   ห้องที่ตกแต่งอย่างสวยงาม
  • A snow-covered playground      หมายถึง สนามที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ

6. Noun + Noun คำนาม บวก คำนาม ก็สามารถเป็นคำคุณศัพท์ขยายได้ เช่น

  • A water-proof watch       หมายถึง นาฬิกาข้อมือที่กันน้ำได้
  • A fireproof coat               หมายถึง เสื้อกันไฟ

การรู้จักคำประสมจะทำให้เราเข้าใจภาษาอังกฤษมากขึ้นเพราะจะได้รู้ที่มาของคำและรู้ว่าใช้อย่างไร เวลาอ่านจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้นค่ะ ยิ่งถ้าอ่านเอกสารเชิงวิชาการจะมีการประสมคำในลักษณะนี้เยอะมาก ซึ่งบางทีเปิดดูในพจนานุกรมก็ไม่มีจึงต้องอาศัยความเข้าใจเรื่องคำประสมเข้าไปช่วยค่ะ ^^