Category Archives: ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

Adjective ที่วางหน้าคำนามไม่ได้

Adjective

Adjective ที่วางหน้าคำนามไม่ได้

Adjective หรือคำคุณศัพท์ คือคำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม  ปกติก็จะวางไว้หลัง verb to be หรือ linking verb หรือวางไว้หลังคำนาม  แต่กฎทุกกฎก็ย่อมมีข้อยกเว้น (อีกแล้ว)  เพราะคำคุณศัพท์บางคำไม่สามารถวางไว้หน้าคำนามได้ แต่จะตามหลัง verb to be หรือ linking verb แทนค่ะ คำในกลุ่มนี้มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

คำคุณศัพท์ที่มักขึ้นต้นด้วยตัวอักษร a  เช่น

  • ablaze (ไหม้)
  • aflame (ที่ลุกไหม้)
  • afloat  (ลอย)
  • afraid  (กลัว)
  • alight  (ที่กำลังลุกโชน เต็มไปด้วยพลัง)
  • alike (เหมือน)
  • alive (มีชีวิต)
  • alone (โดยลำพัง)
  • aloof (ที่อยู่ไกล)
  • ashamed (น่าอับอาย ละอายใจ)
  • askew (เฉ เอียงไปข้าง)
  • asleep (นอนหลับ)
  • awake (ตื่น)
  • aware (ตระหนักรู้)

ตัวอย่างประโยค Continue reading

Adjective ที่เติม ly แล้วมีความหมายที่แตกต่างออกไป

Adjective + ly

Adjective ที่เติม ly แล้วมีความหมายที่แตกต่างออกไป

เราอาจจะพอรู้กันมาบ้างแล้วว่า การจะทำให้ adjective เป็น adverb ได้นั้นทำได้โดยการเติม –ly เข้าไปท้ายคำ ซึ่งความหมายก็จะไม่แตกต่างไปจากเดิมมากนัก  เช่น

easy (ง่าย) —  easily (อย่างง่าย)
polite (สุภาพ) — politely (อย่างสุภาพ)
simple (ธรรมดา เรียบง่าย) — simply (อย่างธรรมดา อย่างเรียบง่าย)

  • She is a polite student.
  • She always speaks politely with teachers and her friends.
  • I just simply said something.

แต่มันมีบางคำที่เมื่อเติม ly เข้าไปแล้วความหมายกลับไม่ใกล้เคียงความหมายเดิมเอาซะเลย และนั่นก็เป็นเหตุผลที่คนไทยใช้กันผิดบ่อยๆค่ะ  มีคำว่าอะไรบ้างมาดูกัน

คำแรกเลยคำว่า hard แปลว่า แข็ง หรือยาก  เมื่อเติม –ly เข้าไปกลายเป็น hardly มันกลับแปลว่า แทบจะไม่  ไม่ค่อย  เช่น Continue reading

Adjective Order เรียงลำดับ adjective ที่มาขยายนามยังไงให้เป็นมือโปร!

เรียงลำดับ adjective ที่มาขยายนามยังไงให้เป็นมือโปร

Adjective Order  เรียงลำดับ adjective ที่มาขยายนามยังไงให้เป็นมือโปร!

ปกติแล้วเวลาที่เราจะขยายคำนาม เราใช้ adjective วางไว้หน้าคำนาม  แต่ถ้าเกิดว่าเราต้องการขยายคำนามโดยใช้ adjective หลายตัว  จะต้องเรียงลำดับยังไงดีล่ะทีนี้  เรามีคำตอบให้จ้า มาดูกันเลย

ก่อนอื่นเลยในการพูดถึงคำนามก็จะต้องมี article (a, an, the) นำหน้าคำนาม หรือพวก determiner คือคำนำหน้าคำนาม  (เช่น this, that, etc) หรือ คำแสดงความเป็นเจ้าของ (เช่น my, his, their,etc)  ดังนั้น ถึงแม้คำนามจะมี adjective มาขยาย ก็ยังสามารถใส่คำพวกนี้นำหน้า adjective ที่มาขยายได้อยู่  เช่น  his pretty kids, that fat cat, an interesting movie  เป็นต้น

มาเริ่มจากลำดับที่ 1 กันก่อนเลยค่ะ  adjective ที่ควรจะวางไว้ลำดับแรกคือ

  1. ลำดับที่ เช่น  first, second, third,…last
  2. จำนวนนับ เช่น two, five, fifteen, etc.
  3. คุณภาพ (quality) ของคำนามที่ต้องการขยาย เช่น interesting, delicious, pretty, beautiful, easy, etc.
  4. ขนาด หรือ size หรือหมายถึงความยาว ก็ได้ เช่น  big, slim, fat, long, short, huge, etc.
  5. รูปทรง หรือ shape เช่น oval, circle, square, triangle, etc.
  6. อายุ เช่น young, old, 7-year-old, etc.
  7. บอกสี เช่น black, grey, pink, etc.
  8. บอกสัญชาติ เช่น American, Chinese, Italian, etc.
  9. บอกวัสดุ เช่น wooden, plastic, silk, cotton, etc. ในข้อนี้บางครั้งจะเป็นคำนามที่ทำหน้าที่เหมือน adjective คือมาขยายนามด้วยกันเองอีกทีนึง

มาดูตัวอย่างการใช้ adjective ขยายคำนามกันค่ะ Continue reading

คำบางคำลงท้ายด้วย –ly แต่ไม่ใช่ adverb นะ

คำลงท้ายด้วย ly แต่ไม่ใช่ adverb

คำบางคำลงท้ายด้วย –ly แต่ไม่ใช่ adverb นะ

พอเรียนเรื่อง adverb ครูก็บอกว่า adverb มักจะลงท้ายด้วย –ly นะ  แต่รู้กันมั้ยคะว่าไม่ใช่ทุกคำที่ลงท้ายด้วย –ly จะเป็น adverb  เพราะบางคำก็เป็น adjective ได้  ลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ ว่าคำไหนบ้างที่ลงท้ายด้วย –ly แล้วเป็น adjective

ตัวอย่างของคำที่ลงท้ายด้วย –ly แล้วเป็น adjective ซึ่งพบว่าใช้บ่อยคือ  friendly  แปลว่า เป็นมิตร  เช่น

  • He looks friendly.

ประโยคนี้อาจจะดูเหมือนว่าเป็น adverb ขยายกริยา look หรือป่าว  แต่จริงๆแล้ว look ในที่นี้เป็น linking verb ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับ verb to be  และ adjective ตามหลังด้วย verb to be นั้นถูกต้องแล้ว

ต่อมาคำว่า lovely แปลว่า น่ารัก  เช่น

  • Your sister is lovely.
    น้องสาวของเธอน่ารักจัง

อีกคำนึงที่หลายคนเข้าใจผิดกันบ่อยๆคือคำว่า  costly  แปลว่า  มีราคาแพง  เช่น

  • This furniture is very costly.
    เฟอร์นิเจอร์นี้มีราคาแพงมาก

คำว่า homely  แปลว่า  เรียบง่าย  สบายๆ  เช่น

  • The hotel has a homely atmosphere.
    โรงแรมมีบรรยากาศสบายๆ

คำว่า  manly  แปลว่า   อย่างลูกผู้ชาย   เช่น

  • It’s not manly to speak behind one’s back.
    มันไม่แมนเลยที่จะไปพูดลับหลังคนอื่น

คำว่า elderly   แปลว่า ผู้สูงวัย  เช่น

  • You have to respect elderly people.
    คุณต้องเคารพผู้สูงอายุ

ยังมีคำอื่นอีกที่ลงท้ายด้วย –ly แต่เป็น adjective คือ  silly, ugly, curly, deadly, bodily, heavenly, leisurely, orderly, smelly, timely, lonely

แต่ยังมีบางคำที่ลงท้ายด้วย –ly ที่สามารถเป็นได้ทั้ง adverb และ adjective   เช่น   daily, monthly, weekly, yearly, early, likely  ลองมาดูตัวอย่างประโยคกันค่ะ Continue reading

การใช้ play do go กับกีฬาหรือกิจกรรมต่างๆ

การใช้ play do go กับกีฬา

การใช้ play  do  go  กับกีฬาหรือกิจกรรมต่างๆ

เวลาจะบอกว่าเล่นกีฬาชนิดนี้หรือเล่นกิจกรรมนี้  เราไม่ได้ใช้ play ไปหมดนะจ๊ะ  เรายังสามารถใช้ do หรือ go ก็ได้นะ  แล้วมันแยกได้ยังไงล่ะว่ากีฬาหรือกิจกรรมแบบไหนจะใช้ play  do  หรือ go  ก็ต้องมาดูกันจ้า

คำแรกก่อนเลย  คำว่า play  แปลตรงๆตัวเลยแปลว่า เล่น  มักใช้กับกีฬาที่เล่นเป็นทีม  มีกฎ  กติกา  และเป็นกีฬาที่เล่นกับลูกบอลหรือลูกกลมๆ  เช่น  tennis, table tennis, football, volleyball, basketball, baseball, golf, etc.

  • Clara always plays volleyball after school.
  • คลาร่ามักจะเล่นวอลเล่ย์บอลหลังเลิกเรียนเสมอๆ

ต่อมาคำว่า do มักจะใช้กับกีฬาหรือกิจกรรมที่เป็นสันทนาการ  เล่นเพื่อการผ่อนคลายหรือพักผ่อน  กีฬาที่ไม่ได้เล่นเป็นทีม  ไม่ได้ใช้ลูกบอล  หรือพวกกีฬาศิลปะการต่อสู้ต่างๆ หรือกิจกรรมที่มีการออกท่าทางต่างๆ เช่น Continue reading

ตอนที่ 50 ประธานชวนงง!! ใช้กับกริยาผิดทุกที

ประธานชวนงง!! ใช้กับกริยาผิดทุกที

ประธานชวนงง!!  ใช้กับกริยาผิดทุกที

มาดูกันค่ะว่าประธานของประโยคตัวไหนบ้างที่ชวนงง พาสับสน เพราะใช้กับกริยาทีไรก็ใช้ผิดทุกที ในภาษาอังกฤษประธานกับกริยาต้องใช้ให้สอดคล้องกัน  บางตัวคิดว่าน่าจะเป็นเอกพจน์ แต่ก็ใช้กับกริยาเอกพจน์ไม่ได้

ตัวแรกเลยคือประธานตระกูลที่ขึ้นต้นด้วย every- , any-, no-, some  ไม่ว่าจะเป็น everyone, everybody, everything, anyone, anybody, anything, no one, nobody, nothing,  someone, somebody และ something  ประธานในตระกูลนี้จะต้องตามด้วย กริยาเอกพจน์เท่านั้น  ที่สับสนกันคือคำว่า everyone  everybody   everything  บางคนอาจจะคิดว่า ทุกคน หรือ ทุกสิ่งมันก็ต้องมีมากกว่าหนึ่ง แต่ฝรั่งเค้านับ “ทุกคน หรือ ทุกอย่าง” แยกชิ้นกันค่ะ  และ something มันก็แปลว่า บางสิ่งบางอย่าง ซึ่งมันก็น่าจะมีมากกว่าหนึ่งอย่าง  แต่นั่นแหละค่ะ ถ้าคิดแบบนั้นก็จะทำให้เราใช้กริยาผิดไปด้วย  มาดูตัวอย่างการใช้ค่ะ

  • Everyone likes chocolate.           ทุกคนชอบช้อคโกแลต

ในกรณีของ every เมื่อนำไปขยายคำนามใดๆ ก็จะต้องใช้กับกริยาเอกพจน์เสมอนะคะ  เช่น

  • Every room has to be cleaned.    ทุกห้องจะต้องได้รับการทำความสะอาด
  • No one is perfect.                      ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ
  • There isn’t anybody here.           ไม่มีใครอยู่ที่นี่เลย
  • There is something wrong                    มีบางอย่างผิดพลาด

ตัวที่สองคือการใช้ each แปลว่า แต่ละ    ก็ใช้กับกริยาเอกพจน์เหมือนกัน แต่ในการเขียน each อาจเขียนได้หลายแบบดังนี้ค่ะ Continue reading

ตอนที่ 49 เจาะลึกการใช้ which กับ that ในประโยค relative clause

การใช้ which กับ that ในประโยค relative clause

เจาะลึกการใช้ which กับ that ในประโยค relative clause

ในประโยค relative clause หรือประโยคย่อยที่ขยายคำนาม จะมี which และ that เป็นตัวเชื่อม ซึ่งจะเชื่อมคำนามกับส่วนขยายเข้าด้วยกัน โดยเชื่อมคำนามที่เป็นสัตว์หรือสิ่งของ ถึงแม้ว่า which กับ that จะใช้แทนกันได้ แต่ทั้งสองคำนี้ก็ไม่สามารถใช้แทนกันได้ในทุกกรณีนะคะ ลองมาดูตัวอย่างประโยคที่ใช้ which กับ that กันก่อนค่ะ

  • Can you get me the shoes which have to be fixed?
  • Can you get me the shoes that have to be fixed?

สองประโยคนี้ สามารถใช้ which หรือ that แทนกันได้

แต่ประโยคข้างล่างนี้ใช้แทนกันไม่ได้ค่ะ

  • Have you ever tried food at Rio’s Restaurant, which is a Brazilian restaurant?

ทำไมประโยคนี้ถึงแทนด้วย that ไม่ได้  ลองสังเกตสองประโยคด้านบน กับประโยคนี้นะคะ  คำนาม shoes ที่ relative clause มาขยายเป็นคำนามทั่วไปที่ไม่เฉพาะเจาะจง  แต่ คำนาม Rio’s Restaurant เป็นคำนามที่เฉพาะเจาะจง

สรุปแบบง่ายๆเลยคือ ถ้าเป็นคำนามสัตว์หรือสิ่งของทั่วไปสามารถใช้  which หรือ that มาขยายได้ แต่ถ้าเป็นคำนามที่เฉพาะเจาะจง ต้องใช้ which ห้ามใช้ that  เพิ่มเติมนิดนึงคือถ้าเป็นคำนามที่ชี้เฉพาะเวลาเขียนให้ใส่ comma หลังคำนาม

เราลองมาเปรียบเทียบความหมายของสองประโยคนี้กันนะคะ Continue reading

ตอนที่ 48 เจาะลึกการใช้ which กับ where ใน relative clause

which กับ where ใน relative clause

เจาะลึกการใช้ which กับ where  ใน relative clause

Relative clause คือประโยคย่อยที่ขยายคำนาม โดยมี Relative pronoun (who, whom, which, that, where, when) เป็นตัวเชื่อม ในหัวข้อนี้เราพูดกันถึงความแตกต่างระหว่างการใช้ which หรือ where  แน่นอนว่าถ้าขยายสถานที่เรามักถูกสอนมาว่าให้ใช้ where ขยายสถานที่ และถ้าขยาย สัตว์หรือสิ่งของให้ใช้ which แต่รู้หรือไม่ว่านามที่เป็นสถานที่ไม่จำเป็นต้องใช้ where ขยายทุกครั้งไป เพราะบางครั้งเค้าก็ใช้ which ค่ะ

ข้อสังเกตง่ายๆว่าหลังคำนามที่เป็นสถานที่ตัวนี้ต้องใช้ which หรือ where ให้ดูที่ตรงนี้ค่ะ  where จะใช้ในประโยคที่แทน in which หรือ at which หรือ on which หรือ to which หรือพูดง่ายๆก็คือมีคำบุพบทนำหน้า which  ไม่ใช่แทน which เฉยๆ   ถ้าพูดแบบนี้อาจจะงง มาดูตัวอย่างกันค่ะ

  • The university at which I studied is not far from my place.

ประโยคนี้สามารถใช้ where แทนในตำแหน่ง at which ได้ค่ะ

  • The university where I studied is not far from my place.
  • The city in which I live is very busy.

ประโยคนี้ก็สามารถใช้ where แทนได้ค่ะ

  • The city where I live is very busy.
  • The town which is our last destination is not far from here.

ประโยคนี้ใช้ where แทนไม่ได้  เพราะประโยคนี้ which ไม่มีคำบุพบทนำหน้า Continue reading

ตอนที่ 46 ตอนไหนใช้ must ตอนไหนใช้ must be

must ตอนไหนใช้ must be

อ่านไปอ่านมา อ่านเจอคำว่า must ตรงนี้ใช้ must be แล้วทำไมที่อ่านผ่านมาแล้ว ทำไมเป็น must อย่างเดียวล่ะ เคยสงสัยแบบนี้กันไหมคะ

ก่อนอื่นเลยต้องรู้ก่อนว่า must คือ modal verb ที่ปกติเวลาใช้ต้องตามด้วย verb รูป base form หรือพูดง่ายๆคือ รูปธรรมดา ไม่ผัน เช่น

  • Sara must go on a diet.
  • I must tidy up my room. It’s so messy!

จากตัวอย่างจะเห็นว่า must ตามด้วยกริยา go และ tidy up รูปธรรมดา ไม่ผัน ไม่มี to infinitive ซึ่งบางคนชอบใส่ to ตามหลัง เช่น

She must to get up early tomorrow. ประโยคนี้ผิดนะคะ เพราะต้องไม่มี to ตามหลัง must ค่ะ

คราวนี้มาดู must be กันบ้าง อยู่ดีๆ be ก็โผล่มาคั่นกลางซะแบบนี้ ลองดูประโยคตัวอย่างที่ใช้ must be กันนะคะ

  • You must be more punctual.

ถ้าลองสังเกตให้ดีจะเห็นว่า คำที่ตามหลัง must be ไม่ใช่คำกริยา มันคือ adjective หรือคำคุณศัพท์ นี่แหละคือเหตุผลที่ต้องใส่ be ลงไปด้วย เพราะปกติ adjective ต้องตามหลัง verb to be แล้ว be ก็คือ verb รูปธรรมดาหรือ base form ของ verb to be ค่ะ

หลักๆแล้ว must be จะตามด้วยอะไรได้บ้าง มาดูค่ะ Continue reading

ตอนที่ 45 : เลิกใช้ same same กันเถอะ

เลิกใช้ same same กันเถอะ

เลิกใช้ same same กันเถอะ

สารภาพมาซะดีๆว่าเคยใช้ same same  กันใช่มั้ยคะ เวลาที่จะบอกว่า เหมือนกัน   เป็นอีกหนึ่งวลีที่ “คนไทยใช้แต่ฝรั่ง…งง” เพราะเขาไม่พูดกันนะคะ  ถ้าจะบอกว่า “ฉันก็เหมือนกันกับคุณ “ ให้ใช้คำว่า  the same as you เช่น

  • My size is the same as you.
    ไซส์ของฉันเหมือนกับคุณ
  • My assignment isn’t the same as you.
    งานที่ได้รับมอบหมายของฉันไม่เหมือนกับคุณ

อาจจะใส่คำนามไปที่ข้างหลังคำว่า same ก็ได้  เช่น

  • I have the same shoes as you.
    ฉันมีรองเท้าเหมือนกับคุณเลย
  • You use the same mobile phone as me.
    คุณใช้โทรศัพท์มือถือเหมือนกับฉันเลย

แต่ถ้าอยากพูดว่าเหมือนกันแบบสั้นๆ ก็อาจจะใช้คำว่า  It’s the same.หรือ Same here. ก็ได้ค่ะ  ถ้าอยากจะบอกว่า  “เหมือนกันมากๆ เหมือนกันเป๊ะเลย”  ก็อาจจะบอกว่า It’s exactly the same. ก็ได้

นอกจากคำว่า same เรายังสามารถใช้คำว่า like ในความหมายว่าเหมือนก็ได้  โดย like จะทำหน้าที่เป็น adjective ฉะนั้น like คำนี้จะต้องตามหลัง verb to be ค่ะ  เช่น Continue reading