Category Archives: ประโยคคำถาม

การใช้ who, whom ในการตั้งคำถาม

การใช้ who, whom ในการตั้งคำถาม

การใช้  who, whom ในการตั้งคำถาม

Who กับ Whom  มีหลายคนงงว่าใช้ยังไง  ในกรณีนี้จะพูดถึงเฉพาะการนำมาตั้งคำถามนะคะ   Who กับ Whom  แปลว่า  “ใคร”   โดย

Who ———–  ตั้งคำถามที่เป็นประธาน
Whom ——— ตั้งคำถามที่เป็นกรรม

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจคำว่าประธาน กับ กรรม กันก่อน    ประธานคือผู้แสดงการกระทำ  ส่วน กรรม  คือผู้ถูกกระทำ   ลองเปรียบเทียบจากสองประโยคนี้ค่ะ

“ใครให้เงินคุณ?”          “คุณให้เงินกับใคร?”

ประโยคแรก  “ใครให้เงินคุณ?”    ใครเป็นประธาน  เพราะทำกริยา ให้   ฉะนั้นประโยคนี้เวลาจะถามต้องใช้  who  คือ

  • Who gave money to you?

ประโยคที่สอง  “คุณให้เงินกับใคร ?”    ใครเป็นกรรม  เพราะถูกให้เงิน  (รับการกระทำ)  เวลาถามประโยคนี้ต้องใช้  whom  คือ

  • Whom did you give money?

โครงสร้างในการตั้งคำถามที่ใช้  who  มักจะเป็น

Who + คำกริยา + (กรรม) + ………….?

เพราะเมื่อ who  ใช้ตั้งคำถามที่เป็นประธาน  ก็สามารถตามด้วยกริยาได้เลย  โดยเรียงลำดับคำเหมือนประโยคบอกเล่า   เช่น

  • Who loves you?
  • Who is sitting next to Josh?
  • Who ate my cake in the fridge?

แต่  Whom จะมีโครงสร้างดังนี้

Whom + กริยาช่วย + ประธาน + กริยา + …..?

แต่เมื่อใช้  Whom ในการสร้างประโยคคำถาม จะเรียงโครงสร้างเหมือนประโยคคำถามทั่วไปคือ   กริยาช่วยมาก่อนประธาน  เช่น

  • Whom were you talking to when I arrived here?
  • Whom did you see last night?
  • Whom will you go with?

แต่ถ้าเป็นภาษาพูดทั่วๆไป  ฝรั่งอาจจะใช้ who แทน whom ไปเลยก็ได้ ไม่แยกว่าใครเป็นประธานเป็นกรรมให้วุ่นวาย  เพราะเข้าใจได้เหมือนกัน (ฝรั่งเขาก็แอบขี้เกียจนะเออ!)  แต่ถ้าจะให้เป๊ะไวยากรณ์จริงๆ  ก็จะแยกใช้ who กับ whom  ค่ะ  ส่วนใหญ่มักเจอในภาษาเขียนมากกว่า  เพราะเวลาพูดการจะมาแยก ประธาน กรรม แล้วต้องมาเรียงประโยคอีก  ลำดับคำอีก  กว่าจะพูดจบคนฟังก็ไปซะแล้ววววว  เอาที่สบายใจเถอะค่ะ ^^

ว่าด้วยเรื่องของ Question tag ในภาษาอังกฤษ

Question tag ในภาษาอังกฤษ

# ว่าด้วยเรื่องของ Question tag

Question tag คือประโยคคำถามที่ห้อยท้ายอยู่หลังประโยคบอกเล่าหรือปฏิเสธ หน้าตาของมันจะเป็นแบบนี้ค่ะ

  • Today is Sunday, isn’t it?

ส่วนที่ห้อยท้ายอยู่ คือ isn’t it? นี่แหละค่ะที่เราเรียกว่า question tag ซึ่งจะพบบ่อยในภาษาพูดมากกว่า พูดเพื่อเน้นความมั่นใจหรือไม่มั่นใจในสิ่งที่เราพูด ลองเปรียบเทียบประโยคคำถามธรรมดากับประโยคคำถามแบบ question tag ดูนะคะ

  • Can you play guitar?
  • You can guitar, can’t you?

สองประโยคนี้แตกต่างกันตรงที่ ประโยคแรก เป็นการถามทั่วๆไป เพื่อต้องการรู้ข้อมูลนั้นจริงๆ ว่าอีกฝ่ายเล่นกีต้าร์เป็นมั๊ย แต่ประโยคที่สองที่มี question tag คือเรารู้อยู่แล้วว่าเขาเล่นเป็นแต่ต้องการถามเพื่อความแน่ใจเท่านั้น

** หลักการเขียน question tag มีดังนี้ค่ะ

– ถ้าประโยคข้างหน้าเป็นบอกเล่า question tag จะต้องทำเป็นรูปปฏิเสธค่ะ เช่น

  • She came here yesterday, didn’t she?
    เมื่อวานเธอมาที่นี่ใช่มั๊ย

– ถ้าประโยคข้างหน้าเป็นปฏิเสธ question tag ต้องเป็นบอกเล่าค่ะ เช่น

  • He won’t quit, will he?
    เขาจะไม่ลาออกใช่มั๊ย

*** โครงสร้างของ question tag ก็คือ “กริยาช่วย + ประธาน”
ซึ่งประธานจะต้องเป็น Pronoun (สรรพนาม) เท่านั้นนะคะ และถ้าต้องทำกริยาช่วยให้เป็นปฏิเสธก็ต้องใช้รูปย่อเท่านั้นค่ะ กริยาช่วยนั้นก็คือ กริยาพวก Verb to be, Verb to do, Verb to have และยังรวมไปถึง Modal verb (can, could, shall, should, will, would, etc. ) ด้วยนะคะ Continue reading