Category Archives: การออกเสียงภาษาอังกฤษ

การเปลี่ยนเสียงในภาษาอังกฤษ (ตอนที 2)

การเปลี่ยนเสียง ในภาษาอังกฤษ (ตอนที 2)

การเปลี่ยนเสียงในภาษาอังกฤษ (ตอนที 2)

การเปลี่ยนเสียง ที่ได้กล่าวไว้แล้วในตอนที่ 1 คือการเชื่อมเสียง  ในตอนนี้จะพูดถึงการเปลี่ยนเสียงในอีก 3 ลักษณะ คือ

  1. ลักษณะของเสียงที่หายไป

ปกติฝรั่งจะออกเสียงพยัญชนะตัวท้ายหรือ final sound ชัด เช่นเสียง t หรือ s  แต่ในบางครั้งการพูดภาษาอังกฤษอาจจะต้องทำให้เสียงท้ายเหล่านี้หายไปเพื่อให้เกิดความกระชับและลื่นไหลเพราะถ้าออกเสียงท้ายให้ชัดเจนจะทำให้การพูดเกิดความไม่ต่อเนื่อง  เช่น

  • He’s coming nex(t) week.

ในประโยคนี้คำว่า next ปกติถ้าออกเสียงเดี่ยวๆจะต้องออกเสียง t ท้ายคำ แต่เนื่องจากมันอยู่กลางประโยค  เสียง t ตรงนี้เลยต้องหายไป

  • That is the wors(t) place I’ve ever been to.

เช่นเดียวกัน เสียง t ในคำว่า worst จะหายไป

  1. เสียงรวมกัน

กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อ เสียงท้ายของคำข้างหน้าเป็นเสียงเดียวกับเสียงพยัญชนะตัวแรกของคำที่ตามหลังมา  เราจะออกเสียงพยัญชนะนั้นแค่ครั้งเดียว เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของคำพูดและไม่สะดุด  เช่น

  • He’s a bit tired. เขาเหนื่อยเล็กน้อย

เสียง t ในคำว่า bit จะไปรวมกับเสียง t ในคำว่า tired  ดังนั้นจะออกเสียง t แค่ครั้งเดียว

  • He’s swimming in the pool.   เขากำลังว่ายน้ำในสระ

ในประโยคนี้เสียง s เราจะออกเสียงแค่ครั้งเดียว

  1. เสียงเปลี่ยน

ในกรณีนี้คือ เมื่อเสียงท้ายที่เป็นพยัญชนะของคำแรกไปเจอกับเสียงพยัญชนะในคำที่สอง  ทำให้เสียงท้ายของคำแรกมีการเปลี่ยนเสียงไป อาจจะกลายเป็นเสียงเดียวกับพยัญชนะตัวแรกของคำที่สอง  เช่น

  • He’s not a good girl. (goog girl)

ในประโยคนี้คำว่า good girl  เสียง d หายไปเปลี่ยนเป็นเสียง g แทน

  • I like speed boat.  (speeb boat)

เสียง d ในคำว่า speed จะเปลี่ยนเป็นเสียง b ในคำว่า boat แทน

ซึ่งในกรณีนี้มันก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคำในภาษาอังกฤษ  และหลายคนก็อาจจะออกเสียงชัดตามคำเดิมของมันไม่ได้มีการเปลี่ยนเสียงใดๆ เพียงแต่มันเป็นลักษณะของเสียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการออกเสียง  ที่เราต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้เพื่อให้การฟังภาษาอังกฤษของเรานั้นง่ายขึ้น

และเข้าใจที่มาที่ไปของการออกเสียงที่ไม่ได้เป็นไปตามสิ่งที่เราได้เรียนมาในห้องเรียน  เพราะภาษาเป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดและบางครั้งก็เปลี่ยนไปตามคนที่ใช้งาน  ดังนั้นเราจึงมีภาษาอังกฤษในหลายๆสำเนียง  วิธีการที่จะพัฒนาทักษะในการฟังของเรา คือการฝึกฟังบ่อยๆ แล้วสังเกตลักษณะการพูดของเค้า และจับความเร็ว และจังหวะในการพูดของเจ้าของภาษาให้ได้  แล้วเลียนแบบเค้าอย่างเข้าใจเพื่อให้เราใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อยากฟังให้คล่อง พูดให้เป๊ะ ต้องรู้จักเสียง schwa สระมหัศจรรย์

การออกเสียงในภาษาอังกฤษ

อยากฟังให้คล่อง  พูดให้เป๊ะ ต้องรู้จักเสียง schwa สระมหัศจรรย์

หัวข้อคือเสียง schwa sound  เป็นเสียงที่พบบ่อยที่สุดในภาษาอังกฤษ  แต่เราอาจจะไม่เคยสังเกตหรือไม่เคยสนใจกันมาก่อน   เรียกได้ว่าถ้าอยากออกเสียงสำเนียงให้เหมือนเจ้าของภาษาต้องไม่พลาดที่จะรู้จักกับเจ้าเสียง schwa นี้กันนะคะ  มันมีประโยชน์มากและยังช่วยในการฟังได้ด้วย  เราอาจจะสงสัยว่าทำไมบางทีคำที่เรารู้จักเรากลับฟังไม่ออกก็เพราะเจ้า schwa sound อีกนั่นแหละค่ะ   ฟังๆดูก็ถือเป็นตัวสำคัญทีเดียวในการเรียนภาษาอังกฤษ  แต่ทำไม๊ทำไมตอนเรียนถึงไม่เคยพบเคยเจอกันเลยน้า

เสียง schwa sound  ก็จะเป็นเสียงเหมือน  เออะ  เบาๆและสั้นมาก  ในคำที่มีมากกว่าหนึ่งพยางค์จะมีพยางค์ที่เน้นเสียงหรือมีการ stress เสียง  ส่วนพยางค์ที่ไม่เน้นเสียงก็อาจจะออกเป็นเสียง schwa  บางพยางค์หรือทุกพยางค์ที่ไม่เน้นเสียง  ในทาง phonetics สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียง schwa คือตัว Ə  ลักษณะเหมือน ตัว e กลับหัว

ตัวอย่างเช่นในคำว่า  beautiful  คนไทยก็มักจะออกเสียงที่ชัดเจนทั้งสามพยางค์เลยคือ  บิ๊ว-ตี้-ฟูล  โดย stress เสียงตรงตามหลักทุกอย่างคือ Continue reading

อักษรที่ไม่มีเสียง (silent letter)

คำที่ไม่ออกเสียง

อักษรที่ไม่มีเสียง  (silent letter)

จั่วหัวมาแบบนี้หลายคนอาจจะงง  แต่เชื่อว่าน่าจะเคยสงสัยกันใช่มั้ยคะว่า  ทำไมคำบางคำไม่ออกเสียงพยัญชนะตัวนี้  เช่น  listen  ทำไมอ่านว่า  ลิซซึ่น  ไม่อ่านว่า  ลิซเท่น  ก็เห็นตัว  t  อยู่ทนโท่ในคำใช่มั้ยคะ   คำว่า debt  ทำไมอ่าน เด้ท  ทำไม่อ่านว่า  เด้บ   เหตุผลก็คือ เพราะตัวอักษรบางตัวในคำบางคำเขาไม่ออกเสียงค่ะ

สงสัยกันต่อไหมว่า  ถ้าในเมื่อไม่ออกเสียงแล้วใส่เข้ามาทำม๊ายยย ให้มันจำศัพท์ยากเข้าไปอีก  ก็เพราะที่เขาใส่ไว้ก็อาจจะเพื่อให้รู้ที่มาของคำว่ามาจากรากศัพท์หรือยืมมาจากภาษาอะไร  เพราะภาษาอังกฤษก็เหมือนภาษาไทยนั่นแหละค่ะ  ที่ไปยืมคำภาษาอื่นเช่นบาลี สันสกฤตเขามาใช้ แต่ภาษาอังกฤษก็อาจจะยืมมาจากพวกภาษาละติน ฝรั่เศส

สงสัยอีกแล้ว??  แล้วจะจำได้ยังไงว่าในคำนี้ อักษรตัวนี้ไม่ออกเสียง  มันก็มีกฎของมันอยู่นะคะ  แต่แนะนำว่าให้จำเป็นคำๆไปเลยจะง่ายกว่าการมาจำกฎ  แต่การรู้กฎก็อาจเป็นไกด์ไลน์ในการออกเสียงได้นะคะ

กฎการไม่ออกเสียง

ไม่ออกเสียง  A – Adj. ที่ลงท้ายด้วย  calแล้วเราทำให้เป็น  Adv. โดยเติม  lyลงไปข้างหลังอีกเป็น  -callyจะออกเสียงเป็น  คลี่  ไปเลย  เช่น

  • automatically-ออโตเมติคลี่
  • basically-เบสิคลี่  logically-โลจิคลี่

ไม่ออกเสียง  B – ถ้า b อยู่หลัง  m เมื่อเป็นตัวสะกดจะไม่ออกเสียง  b เช่น

  • dumb-ดั๊ม
  • bomb-บอม  climb-คลาม

**ถ้า  b อยู่หน้า t  ก็มักจะไม่ออกเสีย b  เช่น

  • subtle-ซัทเทิ้ล
  • doubt-เด๊าท์
  • debt-เด๊ท

ไม่ออกเสียง  D –d ในคำต่อไปนี้ไม่ออกเสียง  เช่น

  • handkerchief-แฮงเกอร์ชีฟ
  • Wednesday-เว้นส์เดย์

ไม่ออกเสียง G – ถ้า g มี  n  ตามหลัง จะไม่ออกเสียง  เช่น  Continue reading

การ stress คำในภาษาอังกฤษ

การ stress คำในภาษาอังกฤษ

การ stress คำในภาษาอังกฤษ

เวลาที่ต้องพูดกับฝรั่งทีไร ต้องเกิดปัญหาเราฟังฝรั่งไม่รู้เรื่อง (อันนี้เป็นบ่อยเวลาเจอคนพูดแบบรัวๆ ) หรืออีกปัญหานึงคือ ฝรั่งฟังเราไม่รู้เรื่อง ไม่มีใครฟังใครออกแล้วทีนี้จะสื่อสารกันอย่างไร??…..เหตุผลหนึ่งที่เขาฟังเราไม่ออกมาจากวิธีการออกเสียงของเราค่ะ เคยสงสัยมั้ยคะ ทำไมภาษาอังกฤษของเรามั้นไท๊ยไทย คือเหมือนพูดภาษาไทยแต่เป็นคำศัพท์อังกฤษ นั่นเป็นเพราะว่าเราออกเสียงพยัญชนะไม่ถูกต้อง และที่สำคัญอีกอย่างเลยก็คือการลงเสียงหนักที่พยางค์ในคำ หรือที่เราเรียกว่า การ stress เสียงนั่นเอง

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มีการลงเสียงหนักเบาที่คำหรือประโยค แต่ภาษาไทยจะเน้นทุกคำต่างกันแค่ที่วรรณยุกต์เท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับคนไทยในการออกเสียงภาษาอังกฤษการ stress เสียงมีความสำคัญมากเพราะบางคำ ถ้าเราลงเสียงหนักผิดที่ ก็จะกลายเป็นอีกความหมายนึงเลย เช่น คำว่ present ถ้าเป็นคำนามที่แปลว่า ของขวัญ จะต้อง stress ตรงพยางค์แรก (’pre.sent) แต่ถ้าเป็นกริยาที่แปลว่า นำเสนอ ต้อง stress ตรงคำว่า sent (pre.sent’)

ในภาษาอังกฤษมีคำศัพท์นับไม่ถ้วน แล้วจะมีวิธีอย่างไรในการจดจำว่าคำไหนออกเสียงเน้นหนักที่พยางค์ไหน ง่ายๆเลยค่ะ เช็คจากในพจนานุกรมค่ะ (^^) แต่ถ้าคำไหนเราได้ใช้บ่อยๆเราก็จะรู้ได้เอง แต่ก็มีหลักเกณฑ์ที่บอกเราได้คร่าวๆนะคะว่า เราจะต้อง stress ที่คำไหน ดังนี้ค่ะ

1. คำที่มีสองพยางค์ ส่วนใหญ่จะเน้นหนักที่พยางค์แรก เช่น

’ty.pist                             ’tooth.paste           ’hus.band
’doc.tor                            ’den.tist                 ’de.sert
’ans.wer                           ’sub.ject

แต่คำบางคำเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ถ้า stress ที่พยางค์แรก จะเป็นคำนาม แต่ถ้า stress ที่พยางค์ที่สองจะเป็นคำกริยา เช่น

’con.duct (n.)         การจัดการ      con.’duct (v.)   จัดการ, นำ
’re.cord (n.)            ข้อความที่บันทึกไว้   re.’cord(v.)   จดบันทึก
’pro.gress (n.)        ความก้าวหน้า            pro.’gress(v.)   ก้าวหน้า
’pro.duce (n.)         ผักผลไม้สด              pro.’duce (v.) ปลูก,ผลิต

คำกริยาหรือคุณศัพท์ที่มีสองพยางค์อื่นๆ ให้ stress ที่พยางค์ที่สองที่เป็นรากศัพท์ เช่น

ap.’pear                           ex.’plain
be.’lieve                          for.’get
re.’serve                          com.’plete

แต่คำต่อไปนี้ รากศัพท์อยู่ที่พยางค์แรก ก็ต้อง stress ที่พยางค์แรก เช่น

’of.fer                               ’fol.low
’ac.tive                             ’hon.nest

2. คำที่มีสามพยางค์ขึ้นไป ควรดูว่ามีคำลงท้ายอย่างไร

ถ้าลงท้ายด้วย -al, -ate, -ble, -lly, -lar, -ment, -y, -tyจะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 3 นับจากท้ายเช่น
co.‘no.mi.cal           ‘ca.pa.ble           ‘ac.tual.ly

ถ้าลงท้ายด้วย -ian, -ic, -ish, -sion, -tion, -tive, -tor, -terจะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่ 2 นับจากท้ายหรือพยางค์หน้า suffix เหล่านี้ค่ะ เช่น
e.co.‘no.mic           es.‘tab.lish             so.’lu.tion
con.’duc.tor               te.le.’vi.sion

2. การ stress คำที่เป็นคำประสม

Noun + Noun (2 หรือ 3 พยางค์) จะ stress ที่พยางค์แรก เช่น

teapot                   ’footprint
’postof.fice             ’news.pa.per

คำประสมที่มี นามอยู่ท้าย จะ stress ที่นามนั้น เช่น

first‘class               down’stairs

คำประสมที่มี กริยาลงท้าย จะ stress ที่กริยานั้น เช่น

over’look                under’stand

คำสรรพนามประเภท reflexive pronoun จะ stress ที่คำว่า self ค่ะ เช่น

him’self                  my’self

คำประสมที่เป็นกริยาประเภท two-word verb จะต้องเน้นหนักที่พยางค์ที่สอง หรือที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์หรือคำบุพบท เช่น

get‘up          put ‘on         take ‘over

แต่ถ้าเป็นกริยาประเภท three-word-verb จะเน้นหนักที่พยางค์ที่สอง เช่น

run‘outof                take ‘care of

** นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะ แต่ถ้าให้แน่ใจจริงๆว่าstress ที่คำไหนให้เปิดพจนานุกรมดูเลยค่ะ เพราะจะมีบอกทุกคำว่าจะต้องลงเสียงหนักที่คำไหน

การออกเสียง s กับ z

การออกเสียง s กับ z

การออกเสียง s กับ z

จะเรียนภาษาอะไรก็ตาม การออกเสียงย่อมมีความสำคัญเพราะนั่นหมายถึง เราจะฟังเจ้าของภาษารู้เรื่องมั้ย หรือเวลาเราพูดอะไรไปเขาจะฟังเรารู้เรื่องมั้ยก็อยู่ที่การออกเสียงนี่แหละค่ะ เพราะแต่ละภาษาจะมีเอกลักษณ์ของตัวเองมันเทียบกับภาษาแม่ของเราได้ไม่ 100% เลยเป็นเรื่องยากสำหรับคนไทยในการออกเสียงภาษาอังกฤษบางคำ เช่นที่พูดต่อไปนี้คือปัญหาโลกแตก การออกเสียง s กับ z เพราะบางคำรูปเป็น s ออกเสียง s ปกติ แต่บางคำรูปเป็น s แต่ออกเสียง z เอาแล้วสิ! แล้วอีฉันนี่จะไปรู้ได้อย่างไรว่าตัวไหนออกแบบไหน? ง่ายๆคือ จำเป็นคำๆไปค่ะว่าตัวนี้ออกแบบนี้ คนเรียนภาษาต้องหัดสังเกตและจดจำ และทำตาม และนำไปใช้จึงจะเกิดผลค่ะ ดูว่าเจ้าของภาษาเขาออกเสียงอย่างไรเราก็ออกเสียงอย่างนั้น แต่ถ้าบางคนคิดว่าการจำเป็นคำๆมันยากไป เยอะแยะจำไม่ไหวมันก็จะมีหลักการเล็กๆน้อยๆเอาไว้คอยสังเกตค่ะ

เสียงs กับ z ออกเสียงต่างกันอย่างไร? ปกติ s จะออกเหมือนเสียงงูเวลาขู่ สสสสสส โดยที่เมื่อจับที่คอหรือตรงลูกกระเดือนจะไม่รู้สึกถึงอาการสั่น   แต่เวลาออกเสียง z จะเหมือนเสียงผึ้ง ซซซซซซโดยจะมีอาการสั่นที่คอหรือลูกกระเดือก ถ้าไม่สั่นนี่ถือว่าไม่ใช่เสียง z ภาษาอังกฤษที่มี s ขึ้นต้นคำส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นเสียง /s/ หรือ soft Sเช่นคำว่า sun, sea, soon, silver, etc. แต่เมื่อ s ไปอยู่ภายในคำ บางคำ s ตัวนั้นจะออกเป็นเสียง /z/ หรือ hard S เช่นคำว่า easy

** สมมติว่า ส แทนเสียง s และ ซแทนเสียง z เพื่อให้ง่ายในการทำความเข้าใจ ดังนั้น easy จึงอ่านว่า อีซี่ ไม่ใช่ อีสี่   มีตัวอย่างคำอื่นๆอีกดังนี้ค่ะ

  • busy             อ่านว่า   บีซี่
  • result           อ่านว่า   รีซัลทฺ
  • present        อ่านว่า            พรี เซ้นทฺ
  • was               อ่านว่า   วัซ
  • as                  อ่านว่า   แอ้ซ     (ไม่ใช่   แอ้ส)
  • does              อ่านว่า   ดาซ
  • lose               อ่านว่า   ลูซ
  • raise              อ่านว่า   เรซ

แต่เมื่อ s ไปอยู่ท้ายคำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำศัพท์ที่มีการเติม s หรือ es ที่คำนาม เพื่อบอกความเป็นพหูพจน์ หรือเติมที่คำกริยาเพื่อบอกว่าเป็น present simple tense ในลักษณะนี้ s ออกเสียงได้ 3 แบบ คือ   /s/   /z/   /iz/   โดยหลักในการออกเสียงทั้ง 3 ตัวมีดังนี้ค่ะ

1. ออกเป็นเสียง /s/ เมื่อคำศัพท์นั้นลงท้ายด้วยพยัญชนะต่อไปนี้ f, k, p, t, thพยัญชนะพวกนี้จัดอยู่ในกลุ่ม voiced sound หรือพยัญชนะเสียงไม่ก้อง เมื่อเจอพยัญชนะต่อไปนี้ ให้ออกเสียง /s/ ค่ะ เช่น

  • books          ออกเสียงเป็น     บุ๊คสฺ
  • rats              ออกเสียงเป็น     แร็ทสฺ
  • caps             ออกเสียงเป็น     แค้ปสฺ

2. ออกเป็นเสียง /z/ เมื่อคำศัพท์นั้นลงท้ายด้วยพยัญชนะเสียงก้องต่อไปนี้ b, d, g, m, n, z, l, r, w, y, v เช่น

  • beds             ออกเสียงเป็น   เบ้ดซฺ
  • kids              ออกเสียงเป็น   คิดซฺ
  • eyes             ออกเสียงเป็น   อายซฺ

3. ออกเสียงเป็น /iz/ ซึ่งก็คือเสียง อึซเมื่อคำศัพท์นั้นเติม es เช่น

  • buses            ออกเสียงเป็น   บัส-สึซ
  • pushes          ออกเสียงเป็น   พุช-ชึซ
  • watches        ออกเสียงเป็น   ว้อช-ชึซ

ถึงแม้ฝรั่งเค้าจะมีการแยกเสียง s กับ z ในการออกเสียง แต่คนไทยอย่างเราๆไม่ได้พูดภาษาอังกฤษกันมาแต่อ้อนแต่ออก ฉะนั้นการที่เราจะพูดไม่ได้เหมือนเขามันจึงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่มันเป็นเรื่องที่ฝึกกันได้ และต้องใช้เวลา และถึงแม้เราจะออกเสียงผิดแล้วเจ้าของภาษาเข้าใจในสิ่งที่เราพูด การสื่อสารก็เกิดผลสำเร็จ แล้วเรามาปรับเปลี่ยนแก้ไขทีหลังได้ ดังนั้นถ้ายังแยกการออกเสียง s กับ z ไม่ค่อยได้ อย่าเพิ่งไปซีเรียสค่ะ ค่อยๆฝึกไป

การออกเสียงสูงต่ำในภาษาอังกฤษ (Intonation)

การออกเสียงสูงต่ำในภาษาอังกฤษ (Intonation)

Intonation
นอกจากการเรียนรู้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแล้ว การเรียนการออกเสียงในภาษาอังกฤษก็เป็นสิ่งสำคัญ ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่มี Intonation   แล้ว intonation คืออะไร? มันก็คือเสียงขึ้นลงที่เราใช้ในเวลาพูด ถ้าสังเกตฝรั่งเวลาพูดเขาจะไม่พูดเสียงราบเรียบทั้งประโยค จะมีการขึ้น การลงของเสียง ซึ่งถ้าหากว่าเราอยากพูดภาษาอังกฤษให้ได้เหมือนเจ้าของภาษาเราก็ต้องมารู้จักหลักการในการออกเสียงขึ้นลงเหล่านี้ นอกจากนี้ยังช่วยในการฟังภาษาอังกฤษให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อีกด้วย

โดยปกติแล้ว รูปแบบของ intonation ในภาษาอังกฤษจะมี 2 รูปแบบหลักๆคือ
1. falling intonation   การลงเสียงต่ำ
2. rising intonation การขึ้นเสียงสูง

หลักการใช้คร่าวๆของแต่อันมีดังนี้ค่ะ

1. falling intonation ให้สังเกตคำที่ขีดเส้นใต้จะเป็นคำที่ลงเสียงต่ำ
1.1 ใช้กับประโยคที่มีใจความสมบูรณ์ธรรมดา เช่น

  • It was quite bad.
  • I want to see him again.

1.2 ใช้สำหรับคำลงท้ายของประโยคคำถามแบบ Wh-question เช่น

  • What do you usually eat for lunch?
  • Who is that?
  • What’s it?

1.3 ใช้กับประโยคคำสั่งที่เน้น เช่น

  • Don’t make loud noise.
  • Sit down.

2. rising intonation
2.1 ใช้ลงท้ายประโยคคำถามที่เป็นแบบ yes / no question

  • Is she a teacher?
  • Have you seen him?
  • Can I see it?

2.2 ใช้กับประโยคบอกเล่าธรรมดาที่เราต้องการให้มันเป็นคำถาม เช่น

  • You like it?
  • I can’t go?

2.3 ใช้ในการแสดงการทักทาย เช่น

  • Good Morning
  • Good afternoon
  • Good evening

2.4 เวลาต้องการเกริ่นนำก่อนเข้าเนื้อหา เราสามารถพูดวลีที่เป็นการเกริ่นนำให้เป็นเสียงสูงได้ เช่น

  • As we know, Thailand is an agricultural country.

2.5 ในการพูดถึง สิ่งของที่มีหลายอย่างเป็นหมวดหมู่ เรามักขึ้นเสียงสูงทุกคำแล้วลงเสียงต่ำที่คำสุดท้าย เช่น

  • I like to eat vegetables like carrot, tomato, and cabbage.

** เมื่อเราออกเสียงได้ชัดเจน น่าฟัง มีการใช้เสียงสูงต่ำ ไวยากรณ์ถูกต้อง ใช้ศัพท์ได้หลากหลาย ก็จะทำให้ภาษาอังกฤษของเราคล้ายกับเจ้าของภาษามากยิ่งขึ้นค่ะ ^^

คำในภาษาอังกฤษที่มักออกเสียงผิด (Incorrect Speech)

คำในภาษาอังกฤษที่มักออกเสียงผิด

สาเหตุหนึ่งที่เราฟังฝรั่งพูดภาษาอังกฤษไม่ออก หรือเราไม่สามารถสื่อสารให้เขาได้เข้าใจในสิ่งที่เราพูดนั้น มักเกิดจากการออกเสียงคำในภาษาอังกฤษที่ผิดกัน และเมื่อเราเข้าใจการออกเสียงที่ผิดๆ ทุกครั้งที่เราอ่านหนังสือหรือพูดเราก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำคำที่ผิดเหล่านี้ให้มากยิ่งขึ้น ก็ยิ่งเลวร้ายไปกันใหญ่ ดังนั้นสิ่งเร่งด่วนที่เราควรทำก็คือ เรียนรู้คำในภาษาอังกฤษที่เราออกเสียงผิดกัน และทำความคุ้นเคยกับเสียงใหม่ให้ถูกต้องเสียก่อน ไม่เช่นนั้นภาษาอังกฤษของเราคงไม่สามารถพัฒนาไปได้

*** คำอ่านภาษาไทยในวงเล็บที่ให้ไว้ เป็นเพียงแนวทางในการออกเสียงเท่านั้น

  • a lot of คนอเมริกันจะพูดเป็น alotta อะล่อดะ
  • aboard adv. (อะโบ็อรฺดฺ) /əˈbôrd/ อยู่บนเรือหรือเครื่องบิน
  • abroad adv. (อะบรฺอดฺ) /əˈbrôd/ อยู่ต่างประเทศ
  • advance (แอะแฝ๊นสฺ) /ədˈvans/
  • advertisement (แอ๊ดเฝอรไทซเมินทฺ) /ˈadvərˌtīzmənt/ โฆษณา
  • afford v. (อะฝอรฺดฺ) /əˈfôrd/ สามารถจ่ายได้
  • aisle (อายโย็ล) /īl/ ทางเดินระหว่างเก้าอี้
  • asleep (อะสลีพ) /əˈslēp/ นอนหลับ
  • almond (อาเมินด) /ˈä(l)mənd,ˈa(l)-/  อัลมอนด์
  • anti (แอ๊นทิ) /ˈanˌtī/ การต่อต้าน
  • arch อ๊าชช /ärCH/   ซุ้มประตูโค้ง
  • archive (อ๊าร์คลายฝฺ) บันทึกข้อมูลสถานที่, บันทึกประวัติศาสตร์
  • aspirin (แอ๊ซผลิน) /ˈasp(ə)rin/  แอสไพริน
  • auditor (ออดิเทอร์, ออดิเดอร์) /ˈôditər/ ผู้สอบบัญชี
  • bad (แบ๊ดฺ, แบ๊เดอะ) /bad/ ผู้ชายไม่ดี
  • bag (แบ๊กฺ, แบ๊เกอะ) /bag/ กระเป๋า ***ต้องลากเสียงลงต่ำ
  • bargain (บ๊ารเกิน) /ˈbärgən/ การต่อราคา
  • basketball (แบ๊สกิทบอลฺ) /ˈbaskitˌbôl/ บาสเก็ตบอล
  • batman  (แบ็ทฺแมน) /ˈbatmən/ มนุษย์ค้างคาว
  • beard (เบียรดฺ) /bi(ə)rd/ เครา
  • belonging(s) adj. (บีลองงิง)  ของมีค่า
  • berry (แบ๊รี) /ˈberē/ เบอร์รี่
  • better (เบ็ทเทอร์, เบ็ทเดอร) /ˈbetər/  ดีกว่า
  • bikini (บิคี้นี) /biˈkēnē/ ชุดว่ายน้ำสองชิ้น
  • bilingual (ไบลิงกวล) คนที่พูดได้สองภาษา
  • biology (ไบเอาะเลอจี) /bīˈäləjē/ ชีววิทยา
  • bitten (บิ้ทเทิ่น) กัด
    I was bitten by a mosquito. ฉันถูกยุงกัด
  • blow (โบลว์) /blō/ เป่า
  • blew (บลูว์) /blo͞o/ เป่า
  • board (โบ็อรฺดฺ) /bôrd/
  • bottle (บ๊อเทิล, บ๊อโด็ล) /ˈbätl/ ขวด
  • breath (เบร็ธฺ) /breTH/ ลมหายใจ
  • Britain (บริเทิน) เกาะอังกฤษ
  • bucket (บ๊ะเข็ทฺ) /ˈbəkit/ ถังน้ำ
  • buffet (บุฝเฝ่ย/บะเฝ่ย) กินแบบไม่อั้น
  • burglar (เบ๊อรฺเกลอรฺ) /ˈbərglər/ โจรย่องเบา
  • business (บิ๊ซฺเนสฺ) /ˈbiznis/ ธุรกิจ
  • busy (บิ๊ซี) /ˈbizē/ ยุ่ง
  • cactus (แค๊กเติสฺ) /ˈkaktəs/ ตะบองเพชร
  • calm (ค๊าม) /kä(l)m/  สงบสติอารมณ์
  • calendar (แค๊เลินเดอร์) /ˈkaləndər/ ปฎิทิน
  • camel (แค๊เมลฺ) /ˈkaməl/ อูฐ
  • canal (เคอะแน็ล) /kəˈnal/ คลอง
  • canteen (แคนที๊น) /kanˈtēn/ โรงอาหาร
  • Cantonese Language (แค็นเทินนีส แลนเกวจ) ภาษากวางตุ้ง
  • captain (แค๊พเทิน) /ˈkaptən/ หัวหน้า
  • card (ค๊ารดฺ) /kärd/ บัตร
  • card (คาร์ดฺ) บัตร ; keycard (คีย์คาร์ดฺ) บัตรกุญแจ
  • carton (ค๊ารฺเทิน, ค๊ารฺเดิน) /ˈkärtn/ กล่อง
    – carton box กล่องกระดาษ
  • cartoon (คารฺทู๊น) /kärˈto͞on/ การ์ตูน
  • caravan (แค๊เรอแวน /ˈkarəˌvan/คณะเดินทาง
  • career (เคอะเรี๊ยรฺ) /kəˈri(ə)r/ อาชีพ
  • casino (คะซี๊โน) /kəˈsēnō/ คาสิโน (บ่อนการพนัน)
  • catch (แค็ช) caught (คอทฺ) caught (คอทฺ) จับ
  • capacity (คะพ๊าซิทิ) /kəˈpasitē/ ความจุ
  • captain (แค็พเทิ่น) /ˈkaptən/ กัปตัน
  • ceiling (ซี๊ลิง) /ˈsēliNG/ เพดาน
  • cement (ซีเม้นทฺ) ปูนซีเมนต์
  • central (เซ็นเทริลฺ) ศูนย์กลาง
  • chaos n. (เค-ออส) ความยุ่งเหยิง
  • chaotic adj. (เค-ออดิด) ยุ่งเหยิง
  • child (ชายโอ็ลฺดฺ) /CHīld/ เด็ก
  • chance (แช๊นซ) โอกาส
  • channel (แช๊นนอลฺ) /ˈCHanl/ ช่อง
  • chaos (เคออส) ความยุ่งเหยิง
  • cheese (ชีสส์) เนยแข็ง
  • chocolate (ช็อคเคลิทฺ) ช็อคโกแลต
  • chore n. (โชเออรฺ) /CHôr/ งานบ้าน
  • christian (คริสเชิน) /ˈkrisCHən/ คริสเตียน
  • christ (ไครสฺทฺ) พระเยซูคริสต์
  • colony (ค๊อเลอนี) /ˈkälənē/ อาณานิคม
  • colon n. (โค๊เลิน) /ˈkōlən/ ลำไส้ใหญ่, เครื่องหมายโคลอน
  • comb (โคม) /kōm/ หวี
  • comfort (คั๊มเฟอรทฺ) /ˈkəmfərt/ ความสะดวกสบาย
  • comfortable adj. (คั๊มฝ-ทะเบิล) /ˈkəmftərbəl/ สบาย
  • commercial adj. (เคิมเม๊อรเชียลฺ)  /kəˈmərSHəl/ เชิงพาณิชย์
  • comment v. (ค๊อมเมิทฺ) /ˈkämˌent/ วิจารณ์
  • common (ค้อมเมิน) /ˈkämən/ ธรรมดา
  • company n. (คั๊มเผอนี) /ˈkəmpənē/ บริษัท
  • comparable adj. (ค๊อมเผอเรอเบิล) /ˈkämp(ə)rəbəl/ อาจเปรียบเทียบได้
  • computer (คอมผิ้วเดอร์) คอมพิวเตอร์ (คำที่ไม่ได้เน้นตัว t สามารถเปลี่ยนเป็นเสีย d ได้)
  • communicate v. (เคิมมิ้วนิเคท) /kəˈmyo͞onəˌkāt/ ติดต่อสื่อสาร
  • condom (ค๊อนเดิม) /ˈkändəm/ ถุงยางอนามัย
  • consult v. (เคินเซ๊าทฺ) /kənˈsəlt/ ให้คำปรึกษา
  • cook (เคอคฺ) /ko͝ok/ กุ๊ก
  • cooperate (โคอ๊อพเผอรเรทฺ) /kōˈäpəˌrāt/ ความร่วมมือ
  • cork n. (ค๊อลคฺ) /kôrk/ จุกไม้ก๊อก
  • cosmetic (คาซฺเม๊ทิค, คาซฺเม๊ดิด) /käzˈmetik/ เครื่องสำอาง
  • chew (ชู) /CHo͞o/ เคี้ยว
  • crab (แคร็บฺ) /krab/ ปู
  • crap (แคร็พฺ) /krap/ อุจจาระ
  • cruise (ครูซฺ) /kro͞oz/ การล่องเรือ
    diner cruise ล่องเรือรับประทานหาร
  • cure v. (เคี้ยวเออร) /kyo͝or/ รักษาโรค
  • cushion v. (คู้เชิน) /ˈko͝oSHən/ ปูเบาะ
  • chocolate (ช็อคเคลิท) /ˈCHäk(ə)lit/ ช็อคโกแลต
  • cleanse v. (เคลนซฺ) /klenz/ ทำความสะอาด
  • cleansing (เคลนซิ่ง) ทำความสะอาด
  • colonel (เค๊อโน็ล) /ˈkərnl/ พันเอก
  • colony (ค๊อลเลอนี) /ˈkälənē/ อาณานิคม, เมืองขึ้น
  • company (คั๊มผะนี) /ˈkəmpənē/ บริษัท
  • comdom (ค๊อนเดิม) /ˈkändəm/ ถุงยางอนามัย
  • confirm  (เคินเฟริ๊ม) /kənˈfərm/ ยืนยัน
  • confess (เคินเฟ๊ซฺ) /kənˈfes/ สารภาพ
  • consult v. (เคินเซ็ลทฺ) /kənˈsəlt/ ปรึกษา
  • couch (เค๊าชฺ) /kouCH/ โซฟา
  • coup (คู) /ko͞o/ รัฐประหาร ; ไม่มีเสียง p
  • cousin (คั๊ทเซิน) /ˈkəzən/ ลูกพี่ลูกน้อง
  • cover (คั๊ทเวอร์) /ˈkəvər/ คลุม
  • criminal (คริมิโน็ลฺ) /ˈkrimənl/ อาชญากร
  • cruise (ครูซฺ) /kro͞oz/ การแล่นเรือเที่ยว
  • cupboard (คั๊บเบิดฺ) /ˈkəbərd/ ตู้เก็บของ
  • custard (คัสเตริดฺ) /ˈkəstərd/ คัสตาร์ด
  • customer (คัสเตอเมอรฺ) /ˈkəstəmər/ ลูกค้า
  • cylinder (ซิเลินเดอรฺ) /ˈsiləndər/ กระบอกลูกสูบ
  • cyst (ซีสฺทฺ) /sist/ ซีสต์
    – chocolate cyst (ช็อคเคลิท ซีสฺทฺ) ช็อคโกแลตซีสต์
  • data n. (เด๊ทะ, ด๊าทะ) /ˈdatə,ˈdātə/ ข้อมูล
  • deal (เดียลฺ) /dēl/ จัดการ
  • date (เดทฺ) /dāt/ n. วันที่ , v. นัดพบ
  • dead adj. (เด๊ดฺ) /ded/ ได้ตาย
  • debt (เด็ทฺ) /det/ หนี้สิน
    I’m in debt. ผมเป็นหนี้
  • deluxe (ดิลักซฺ) /diˈləks/ หรูหรา
  • demand (ดิแมนดฺ) /diˈmand/ ความต้องการ
  • democracy (ดิเม๊าเคระซี) /diˈmäkrəsē/ ประชาธิปไตย
  • deny (ดีนายดฺ) ปฏิเสธ
  • deposit (ดีผ้อสิทฺ) เงินฝาก, ฝากเงิน, วางเงินมัดจำ
    pay a deposit จ่ายเงินค่ามัดจำ
  • desert (เดสเซิร์ทฺ) /dəˈzərt/ ทะเลทราย
  • dessert (ดีเซิร์ทฺ) /diˈzərt/ ของหวาน
  • desire v. (ดีซ๊ายเยอรฺ) /dəˈzī(ə)r/ ปรารถนา
    -ire คำที่ลงท้ายด้วย ire ออกเสียงว่า “ไอเยอรฺ”
  • determine (ดิเท๊อรมิน) /diˈtərmin/ กำหนด
  • diarrhea (ไดอะเรี๊ย)/ˌdīəˈrēə/ ท้องเสีย
  • different (ดิฝเฝ่นทฺ) /ˈdif(ə)rənt/ แตกต่างกัน
  • discovery (ดิซกัฝเวอรี) /disˈkəvərē/ การค้นพบ
  • dog (ดอกฺ) /dôg/ สุนัข
  • dock (ด๊อคฺ) /däk/ จอดเรือเทียบท่า
  • double adj. (ดับเบิ่ลฺ) /ˈdəbəl/ เป็นสองเท่า
  • doubt (เด๊าทฺ) /dout/ ความคิดในเชิงลบ, การไม่ไว้วางใจ
    – Get rid of your doubts!
    กำจัดความคิดในเชิงลบของตัวเองออกไป
    – I doubt it. ผมคิดว่าไม่นะ
  • dove (ดัฝฺ) /dəv/ นกพิราบ
  • dozen (ดัฝเซิน) /ˈdəzən/ โหล
  • draw (ดรอว์) วาดรูป,เสมอ ; drew (ดรูว์) วาดรูป,เสมอ
    Liverpool drew with Manchester United.
    ลิเวอร์พูลเสมอกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
  • driven (ดริเฝิน) /ˈdrivən/ ขับ
  • eclipse (อิ-คลิพซ) /iˈklips/ อุปราคา,เกิดคราส
  • economy (อิ-ค๊อนเนอมี) /iˈkänəmē/ เศรษฐกิจ
  • edit (เอ๊-ดิท) /ˈedit/ แก้ไข
  • editor (เอ๊-ดิเทอร์) /ˈeditər/ บรรณาธิการ
  • education (เอ็ดดุเค้เชิน) /ˌejəˈkāSHən/ การศึกษา
  • effect v. (อิ-เฟ็คท) /iˈfekt/ ทำให้เกิด
  • efficient adj. (อิ-ฟี้เชียนท) /iˈfiSHənt/ มีประสิทธิภาพ
  • effective adj. (อิ-เฟ๊กทิฝ) /iˈfektiv/ เกิดผล
  • effort n. (เอ๊ฟ-เฟริท) /ˈefərt/ ความพยายาม
  • elephant  (เอ๊ว-เล็อเฟ็นท) /ˈeləfənt/ ช้าง
  • error n. (เอ๊วเร่อ) /ˈerər/ ความผิดพลาด
  • evening (อีฝนิง) /ˈēvniNG/ ตอนเย็น
  • factory (แฟ๊ทอรี) โรงงาน
  • failure (เฟ๊ลเยอร์) ความล้มเหลว
  • fire (ไฟเยอร์)  ไฟ
  • flour (เฟลาเวอร์) แป้ง ***พ้องเสียงกับ flower ดอกไม้
  • fold v. (โฟลฺดฺ) พับ
  • foot (เฝอทฺ) /fo͝ot/ เท้า
  • fragile adj. (แฟร๊กไจล)  เปราะบาง
  • fuel (ฝิ๊วโอ็ลฺ) /ˈfyo͞oəl/ เชื้อเพลิง
  • funeral n. adj. (ฝิ๊วเนอโร็ล) /ˈfyo͞on(ə)rəl/ งานศพ
  • gadget n. (แก๊ดจิทฺ) /ˈgajit/ สิ่งประดิษฐ์
  • garment (กาเมริท) เสื้อผ้า
  • genre (จ๊อนหระ) /ˈZHänrə/ ประเภท(เพลง)
  • genuine (เจ๊นยูอิน) /ˈjenyo͞oin/ แท้
  • gesture (เจสเจอร์) /ˈjesCHər/ ท่าทาง
    – hand gestures ท่าทางมือ
  • gecko (เก๊ะโก็) /ˈgekō/ ตุ๊กแก, จิ้งจก
  • gibbon (กิ๊บเบิน) /ˈgibən/ ชะนี
  • giraffe (จิแรฝ) /jəˈraf/ ยีีราฟ
  • good (เกอดฺ) /go͝od/ ดี
  • gold (โกลฺดฺ) /gōld/ ทองคำ
  • gorgeous adj. (ก๊อเจิรดซฺ) /ˈgôrjəs/ สวยงาม
  • gospel (กั๊สเปิลฺ) /ˈgäspəl/ พระกิตติคุณ
  • gown (กาว-น) /goun/ เสื้อคลุมยาว
    – evening gown (อิฝนิง กาว-น) ชุดราตรีผู้หญิง
  • grow (โกร) /grō/ เติบโต ; grew (กรู) /gro͞o/ เติบโต
  • growl (กราวลฺ) /groul/ เสียงคำราม
    My stomach is growling. ท้องร้อง
  • half n. (แฮ็ฝ) /haf/ ครึ่ง
  • history (ฮิสฺตรี้) /ˈhist(ə)rē/ ประวัติศาสตร์
  • hire n. v. (ไฮเยอร์) /hīr/ ว่าจ้าง
  • hoist (ฮอยสฺทฺ) /hoist/ เครื่องยกของ
  • honest adj. (อ๊อเนิสฺทฺ) /ˈänist/ ซื่อสัตย์
  • honey (ฮั๊นนี) /ˈhənē/ น้ำผึ้ง
  • honour, honor (อ๊อเนอร์) /ˈänər/ เกียรติยศ, เกียรตินิยม
    (ไม่ออกเสียง h)
    – first honours เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
    – first class honours เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
  • hood (เฮอดฺ) /ho͝od/ ฝากระโปรงรถ
  • horizon (ฮอไร๊เซิน) /həˈrīzən/ เส้นขอบฟ้า
  • hostage (ฮอสเต็จฺ) /ˈhästij/ ตัวประกัน
  • hour (อาวเวอร์) /ou(ə)r/ ชั่วโมง (ไม่ออกเสียง h)
  • human (ฮิ๊วเมิน) /ˈ(h)yo͞omən/ มนุษย์
  • important (อิมพ๊อรเทินทฺ) /imˈpôrtnt/ สำคัญ
  • inspire v. (อินซป๊ายเออร์) /inˈspīr/ บันดาลใจ
  • inspiration n. (อินซเปอรเร๊เชิน) /ˌinspəˈrāSHən/ แรงบันดานใจ
  • insurance n. (อินเช๊อเรินซ) /inˈSHo͝orəns/ ประกันภัย
  • interest n. (อิ๊นเทรสฺทฺ) /ˈint(ə)rist/ ที่น่าสนใจ
  • instrument (อิ๊น-ซเทิรเมินท) /ˈinstrəmənt/ เครื่องดนตรี, อุปกรณ์ต่างๆ
  • international (อินเทอร์แน๊ชเชินเนิล) /ˌintərˈnaSHənl/ นานาชาติ, ระหว่างประเทศ
  • invitation n. (อินวิเท๊เชิน) /ˌinviˈtāSHən/ การเชื้อเชิญ
  • iron (ไอ๊เยิร์น) /ˈīərn/ n. เตารีด,เหล็กกล้า  v. รีดผ้า
  • island (ไอ๊เลินดฺ) /ˈīlənd/ เกาะ  (อักษร s ไม่ออกเสียง)
  • Jew (จู) /jo͞o/ ชาวยิว
  • juice (จูสฺ) /jo͞os/ น้ำผลไม้
  • kingdom (คิ๊งเดิม) /ˈkiNGdəm/ ราชอาณาจักร
  • label (เล๊เบิล) /ˈlābəl/ ฉลาก
  • lamb (แลมฺ) /lam/ เนื้อลูกแกะ
  • lamp (แล๊มพฺ) /lamp/ โคมไฟ
  • legal (ลี้เกิล) /ˈlēgəl/ ทางกฎหมาย
  • legend (เล๊เจินด) /ˈlejənd/ ตำนาน
  • leopard (เล๊เผลิด) /ˈlepərd/ เสือดาว
  • level (เล๊เฝิล) /ˈlevəl/ ระดับ
  • little adj. (ลิเทิล, ลิเดิล) /litl/ เล็กน้อย
  • live (ลายฝฺ) สด
  • live v. (ลิฝฺ) ใช้ชีวิต
  • lizard (ลิเซิรดฺ) /ˈlizərd/ กิ้งก่า
  • love v. (เลิฝฺ) /ləv/ รัก
  • lyrics (ลิ๊ริคฺ) /ˈlirik/ เนื้อเพลง
  • lizard (ลิเซิร์ด) /ˈlizərd/ จิ้งจก, ตุ๊กแก
    – monitor lizard (ม๊อนิเทอร์-ลิเซิร์ด) ตัวเงินตัวทอง
  • management (แม๊เน็จฺเม็นทฺ) /ˈmanijmənt/   การจัดการ
  • margarine (ม๊าร์เจอรเร็น) /ˈmärjərən/ เนยเทียม
  • mask (แม๊สฺคฺ) /mask/ หน้ากาก
  • medicine (เมะดิเซิน) /ˈmedisən/ ยา
  • medley (เม็ดลีย์) /ˈmedlē/ เพลงผสม
  • menu (เม็นยู) /ˈmenyo͞o/ เมนู
  • method (เมะเธิด) /ˈmeTHəd/ วิธีการ
  • mob (มอบฺ) /mäb/ ฝูงชนที่รวมตัวกัน
  • mobile v. (โมบายโอ็ล, โมโบ็ล) เคลื่อนที่
  • modern adj. (ม๊อดเดิน) /ˈmädərn/ ทันสมัย
  • modify v. (ม๊อดเด็อไฟ) /mädəˌfī/ เปลี่ยนแปลง
  • monarch (ม๊อ-เนิรค) /ˈmänərk/ พระมหากษัตริย์
  • monitor (ม๊อนิเทอร์) /ˈmänətər/ จอมอนิเตอร์
  • mop (ม็อพฺ) ถูพื้น
  • milk (มิ้วคฺ) /milk/ นม
  • nation n. (เน๊เชิน) /ˈnāSHən/ ประเทศชาติ
  • national n. (แน๊เชินแนลฺ) /ˈnaSHənəl/ ประชาชาติ
  • oil (ออยโย็ลฺ) /oil/ น้ำมัน
  • old adj. (โอลฺดฺ) /ōld/ แก่
  • only adj. โอ๊นลี /ˈōnlē/ แค่นั้น
  • opposite (อ๊อพเพอสิทฺ) /ˈäpəzit/ ตรงข้าม
  • orchard (อ๊อรฺเชิร์ดฺ) /ˈôrCHərd/ สวนผลไม้
  • pedicure n. (เพ๊ดิ-คเยอร์) /ˈpediˌkyo͝or/ การทำเล็บเท้า
  • piston (พิ๊สเทิน) /ˈpistn/ ลูกสูบ
  • politics (พ๊อลลิทิทซ) การเมือง
  • politician (พอลลิทิ๊เชิน) /ˌpäləˈtiSHən/ นักการเมือง
  • pure adj. (เผี้ยวเออร์) /pyo͝or/ บริสุทธิ์
  • quay (คีย์) // ท่าเรือโดยสาร
  • raider (เร๊เดอร์) /ˈrādər/ ผู้บุกรุก
  • random adj. (แร๊มเดิม) /ˈrandəm/ แบบสุ่ม
  • receipt (รีซี๊ทฺ) /riˈsēt/ ใบเสร็จรับเงิน (อย่างลืมเสียง t)
  • receive v. (รีซี๊ฝฺ) /riˈsēv/ ได้รับ
  • referral (รีเฝ๊อโร็ล) /riˈfərəl/ การอ้างอิง
  • rescue (เร๊ซกิว) /ˈreskyo͞o/ ช่วยเหลือ
  • restaurant (เรสตรอนท) ร้านอาหาร
  • retire (รีไท๊เออร์) /riˈtīr/ เกษียณ
  • rise (รายซฺ) /rīz/ ขึ้น ; sunrise พระอาทิตย์ขึ้น
  • ride (ไรด) /rīd/; rode (โรด) ridden (ริดเดิ่น) ขี่
  • ripe (ไร๊พฺ) /rīp/ ผลไม้สุก
  • sail v. (เซลโอ็ล) /sāl/  แล่นเรือ
  • sailing (เซ๊ลิง) /ˈsāliNG/ การล่องเรือ
  • salmon (แซเมิน) /samən/ ปลาแซลมอน
  • search v. (เซิรชฺ) /sərCH/ ค้นหา
  • season (ซี๊เซิน) /ˈsēzən/ n. ฤดู, v.ปรุงรส
  • secretary (เซ๊-คริเทอริ) /ˈsekriˌterē/ เลขานุการ
  • server (เซฟเฝอร) /ˈsərvər/ เซิร์ฟเวอร์
  • secure adj. (ซีคิ้วเออร์) /siˈkyo͝or/ ปลอดภัย
  • sew (โซว) /sō/ เย็บผ้า
  • sewing machine (โซววิง-มะชีน) จักรเย็บผ้า
  • sewer (ซู๊เวอร์) /ˈso͞oər/ ท่อระบายน้ำ
  • schedule (ซะเก็ตจูล) /ˈskejo͞ol/  กำหนดการ
  • singer (ซิ๊งเงอร์) /ˈsiNGər/ นักร้อง
  • singing (ซิ๊งงิง) ร้องเพลง
  • six (ซิกซฺ) /siks/ หก (เสียง x ท้ายคำมักจะลืมออกเสียง)
  • slave (ซะเลฝฺ) /slāv/ ทาส
  • smile n. (สมายโอ็ล) /smīl/ รอยยิ้ม
  • sour adj. (ซ๊าวเว่อร) /ˈsou(ə)r/ เปรี้ยว
  • standard (ซฺแตนเดิร์ด) /ˈstandərd/ มาตรฐาน
  • statue (สะแต๊ชู) /ˈstaCHo͞o/ รูปปั้น
  • status (สเตเทิส) /ˈstātəs/ สถานภาพ
  • stomach (สฺเติมเหมิคฺ)/ˈstəmək/ ท้อง
  • style n. (สตายโอ็ล) /stīl/ สไตล์
  • subtle (ซัทเทิล, ซัทเดิล) /ˈsətl/ บอบบาง
  • suite (สวีท) /swēt/ ห้องชุด
    Would you like a suite? คุณต้องการห้องชุดไหม
  • sunbathe (ซั๊นเบธฺ) /ˈsənˌbāT͟H/ อาบแดด
  • sword n. (ซอรดฺ) /sôrd/ ดาบ  (ตัว w ไม่ออกเสียง)
  • syringe (ซิรินจ) /səˈrinj/ เข็มฉีดยา
  • syrup (ซิรัพ) /ˈsirəp/ น้ำเชื่อม
  • teach (ทีช)  taught (ทอท) taught (ทอท) สอน
  • terror (เท้เรอ) ความหวาดกลัว
  • temperature (เท๊มเพอรเฉ่อร์) /ˈtemp(ə)rəCHər/  อุณหภูมิ
  • tire n. (ไทเยอร์) /tīr/ ยางรถ
  • tired adj. (ไทเยิร์ด) /tīrd/ เหนื่อย
  • title (ไท๊เทิล, ไท๊เดิล)  ชื่อเรื่อง
  • titanium (ไทเท๊เนียม) /tīˈtānēəm/ ไทเทเนียม
  • told v. (โทลฺดฺ) บอก
  • tomb (ทูมบ์) /to͞om/ สุสาน
  • ton (ทัน) /tən/ ตัน
  • tonic (ท๊อนิค) /ˈtänik/ ยาชูกำลัง
  • tough adj. (ทัฝ) /təf/ ยากลำบาก
  • trilogy n. (ทริเลอจี) /ˈtriləjē/ ละครหรือนวนิยาย3เรื่องต่อเนื่องกัน
  • trolley n. (เทราะลีย์) /ˈträlē/ รถเข็น
  • tuition n. (ทูวิเชิน) /t(y)o͞oˈiSHən/ ค่าเล่าเรียน
  • tourist (เท๊อริสฺทฺ) /ˈto͝orist/ นักท่องเที่ยว
  • terrorist (เท๊เรอริสฺทฺ) /ˈterərist/ ผู้ก่อการร้าย
  • upon (อะพ๊อน) /əˈpän,əˈpôn/ ข้างบน
  • vaccine (แฝ็คซีน) /vakˈsēn/ วัคซีน
  • vacuum (แฝ๊-คยูม) /ˈvakˌyo͞o(ə)m/ สูญญากาศ
    – I have to vaccum the carpet. ฉันต้องดูดฝุ่นพรม
  • valley (แฝ๊ล-ลี่) /ˈvalē/ หุบเขา
  • valet parking (แฝเลย์-พาร์คคิง) บริการรับฝากจอดรถ
  • value n. (แฝ๊ลยู) /ˈvalyo͞o/ มูลค่า
  • vegetable (เฝ๊จฺ-ทะเบิล) /ˈvejtəbəl/ ผัก
  • vehicle (เวี๊ยเคิล, เวี๊ยหิเคิล) /ˈvēəkəl,ˈvēˌhikəl/ ยานพาหนะ
  • vegetarian (เฝ็จจะ-เท้เรียน) คนที่ทานมังสวิรัติ
  • verify  (เฝ้เร็อฝาย) /ˈverəˌfī/ ตรวจสอบ
  • video (ฝี๊ดีโอ) /ˈvidēˌō/ วีดีโอ
  • visa (ฝี้ซา) /ˈvēzə/ วีซ่า
  • voice (ฝว๊อยสฺ) /vois/ เสียง
  • volleyball n. (ฝ๊อลลีย์บอลฺ) /ˈvälēˌbôl/ กีฬาวอลเลย์บอล
  • volume (ฝ๊อล-ยูม) /ˈvälyəm,-ˌyo͞om/ ปริมาณ
  • vote (โฝ๊ทฺ) /vōt/ เลือกตั้ง, ลงคะแนนเสียง
  • warp v. (ว็อรพ) /wôrp/ บิดเบี้ยว
  • warrant (ว๊อรึ่นทฺ) /ˈwôrənt/ รับรอง
  • water (ว๊อเทอร์, ว็อเดอร์) /ˈwôtər/ น้ำ
  • wire (ไวเออร์) /wīr/ สายไฟ
  • wizard (วิ๊เซิร์ด) /ˈwizərd/ พ่อมด
  • wood (เวอดฺ) /wo͝od/ ไม้
  • would (เวอดฺ) /wo͝od/ จะ
  • written (ริทเทิน) /ˈritn/ เขียน
  • yoga (โย๊เกอะ) /ˈyōgə/ โยคะ
    – do yoga เล่นโยคะ

ชื่อเฉพาะ

  • England (อิงเลินดฺ) ประเทศอังกฤษ
  • Finland (ฝินเลินดฺ) ฟินแลนด์
  • Leonardฺ    เลียวนาร์ด
  • Hong Kong (ฮ่องคอง) ประเทศฮ่องกง
  • Illinois    อิลลินอย   (เสียง s ท้ายคำไม่ออกเสียง)
  • Iran (ไอ-ราน) /iˈran/ ประเทศอิหร่าน
  • Chevrolet  (เชฝโรเล)  เชฟโรเลต    (เสียง t ท้ายคำไม่ออกเสียง)
  • Harley Davidson (ฮาร์ลีย์ เดวิดเซิน) มอเตอร์ไซด์ฮาร์เลย์
  • Holland (ฮอลเลินด) ฮอลแลนด์
  • Houston   (ฮิวสตัน)  ฮูสตัน
  • Kodak    (โคแดก)    โกดัก    “โกดัก” เป็นคำไทย
  • London กรุงลอนดอน
  • Mercedez-Benz     เมอร์ซีเดส เบ๊นส
  • Oxford (อ๊าสเฟริด) /ˈäksfərd/ อ๊อกฟอร์ด
  • Harvard (ฮ๊าเวิรด)  ฮาร์วาร์ด
  • Scotland (สะก๊อทเลินด) สกอตแลนด์
  • Worcester (เว๊อรสฺเทอร์) /ˈwo͝ostər/ วูสเตอร์

 

หมายเหตุ

  • o͝o คือเสียงสระเออ
  • o͞o เสียงสระอู

 

คุณออกเสียงสองคำนี้ว่ายังไง?? value กับ volume

ออกเสียง value กับ volume

คุณออกเสียงสองคำนี้ว่ายังไง?? value กับ volume

ถ้าถามแบบนี้ คนไทย 7 ใน 10 คน อาจจะตอบกลับมาว่า
value ก็อ่านว่า แว-ลู่
volume ก็อ่านว่า วอว-ลุ่ม ไงล่ะ

นั่นเป็นการออกเสียงที่คุ้นหูกับคนไทยมาตลอด แต่รู้หรือไม่!!! ฝรั่งเค้างงและไม่เข้าใจกับการออกเสียงแบบนี้หรอกค่ะ เพราะสองคำนี้ จริงๆแล้วต้องออกเสียงว่า (ไฮไลท์ที่ตัวคำศัพท์ แล้วคลิ๊กลำโพงเพื่อฟังเสียงได้เลยค่ะ)

  • value ต้องออกเสียงว่า แวฝล-ยู่
  • volume ต้องออกเสียงว่า วฝอล-ยุ่ม

พยางค์หลังของสองคำนี้เป็นตัว U นะคะ ไม่ใช่ตัว L อย่างที่เราๆเข้าใจกัน และสงสัยกันมั๊ยคะ!! ว่าทำไมตัว V ต้องแทนด้วย “วฝ” เพราะจริงๆแล้ว ตัว V ในภาษาอังกฤษไม่ได้ออกเสียงเหมือน ว แหวน ในภาษาไทยหรอกนะคะ แต่มันจะออกเสียงคล้ายๆก้ำกึ่งกันระหว่างตัว ว กับ ตัว ฝ ค่ะ โดยเวลาออกเสียงให้เอาฟันบนอยู่ตรงริมฝีปากล่าง

** ขอเสริมอีกคำนึงนะคะ คือคำว่า valuable ก็เหมือนกันค่ะ ออกเสียงว่า แวฝ-ยู-เอบึล นะคะ

ลองฝึกออกเสียงดูนะคะ อาจจะฝืนๆลิ้น ไม่ค่อยชินกับที่เราเคยออกเสียง แต่ลองเปลี่ยนดูค่ะ เพราะการออกเสียงให้ถูกต้องก็เป็นหัวใจสำคัญของการเรียนภาษาอังกฤษเหมือนกันนะคะ ซึ่งนอกจากจะทำให้ฝรั่งเข้าใจในสิ่งที่เราพูดแล้ว เราก็ยังเข้าใจในสิ่งที่เขาพูดด้วยค่ะ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมเราถึงฟังภาษาอังกฤษไม่เข้าใจสักที ^^

…อย่าลืมติดตามกันได้ในเพจ English 360 องศา

การออกเสียง /th/ ในภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง

การออกเสียงในภาษาอังกฤษ

# การออกเสียงภาษาอังกฤษให้ถูกต้อง เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆของการเรียนภาษาอังกฤษกันเลยทีเดียว อันนี้ไม่เกี่ยวกับสำเนียงหรือ Accent แต่อย่างใดนะคะ ใครจะ Accent เหมือนเจ้าของภาษาหรือล้ำหน้ากว่าฝรั่ง หรือบางคนบอก Accent ไทยๆนี่แหละ อันนี้ไม่ใช่ปัญหา แต่ที่สำคัญ!!!! ต้องออกเสียงให้มันถูกต้อง

และเสียงที่คนไทยออกกันผิดมากที่สุด ขอย้ำ!!! นะคะว่ามากที่สุด ก็คงจะเป็นเสียงนี้ค่ะ /th/ เพราะจริงแล้วมันไม่ได้มีเสียงเหมือนตัว ท หรือ ธ ในภาษาไทย อย่างที่เราๆเข้าใจกันนะคะ

เสียง /th/ มีสองลักษณะด้วยกันคือ :
1. “แบบเสียงก้อง (voiced)” >>> ถ้าเปิดในพจนานุกรมก็จะแทนด้วยสัญลักษณ์ (ð)
วิธีการออกเสียง : นำปลายลิ้นเข้าไปใกล้ขอบฟันบนให้เกิดข่องแคบระหว่างปลายลิ้นกับฟันบน พ่นลมผ่านช่องแคบนี้เบาๆ ให้เป็นเสียงก้องออกจากลำคอ   ตัวอย่างคำเช่น  The, Then, This, That, These, Those, Though, Than, Thus, etc.

2. “แบบไม่ก้อง (voiceless)” >>> แทนด้วยสัญลักาณ์ (θ)
วิธีการออกเสียง : นำปลายลิ้นเข้าไปใกล้ขอบฟันบนให้เกิดข่องแคบระหว่างปลายลิ้นกับฟันบน พ่นลมผ่านช่องแคบนี้เบาๆ ให้เป็นเสียงลมออกจากปาก ตัวอย่างคำเช่น  Think, Three, Through, Thread, Thin, Thick, etc.

* ข้อสังเกต : ลักษณะการวางลิ้นเหมือนกันแต่ที่ต่างกันคือ แบบเสียงไม่ก้องให้ “พ่นลม” ออกมาด้วย

ลองดูตัวอย่างการออกเสียงใน วิดีโอตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยนะคะ แล้วก็ฝึกออกเสียงไปพร้อมๆวิดีโอเลยก็ได้ค่ะ ^^

ข้อมูลเพิ่มเติม…การออกเสียงภาษาอังกฤษ

…อย่าลืมติดตามกันได้ในเพจ English 360 องศา

เรียนการออกเสียงจากสัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA)

International Phonetic Alphabet (IPA)

สัทอักษรสากล (อังกฤษ: International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย (คำจำกัดความจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)