หลักการใช้ one เพิ่มเติม (ตอนที่ 2)

การใช้ one

หลักการใช้ one  เพิ่มเติม (ตอนที่ 2)

oneและ ones ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว เช่น

  • Do you have any trousers? I’d like brown ones.
    คุณมีกางเกงขายาวบ้างมั้ย ฉันอยากได้กางเกงสีน้ำตาล

นอกจากนี้ยังอาจใช้แทนในความหมายว่า “ใครก็ได้” หรือ anybody ก็ได้ เมื่อพูดถึงบุคคลโดยทั่วๆไป ไม่เจาะจงลงไปเฉพาะตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ   ตัวอย่างเช่น

  • One should respect the elderly.
    เราควรที่จะให้ความเคารพผู้สูงอายุ
  • One can’t make an omelet without breaking eggs.
    ไม่มีใครที่จะทำไข่เจียวแล้วไม่ตอกไข่

One ถ้าหากทำหน้าที่เป็นประธาน เมื่อต้องใช้สรรพนามแทนมักจะใช้he, his, หรือ him หรือ himself แทนเพศของ one เช่น

  • One can succeed if he tries hard.
    เราจะประสบความสำเร็จได้ถ้าพยายามอย่างหนัก
  • One should introduce himself properly in an interview.
    เราควรแนะนำตัวเองให้ครบถ้วนสมบูรณ์เวลาไปสัมภาษณ์

นอกจาก one จะเป็นประธานแล้ว ยังสามารถเป็นกรรมของประโยคได้ด้วย เช่น

  • He talks to one like a boss.
    เขาพูดกับใครคนหนึ่งราวกับว่าเป็นเจ้านาย

One เมื่อใช้ในการแสดงความเป็นเจ้าของ ก็ใช้apostrophe s ได้เลย เช่น

  • Age does not reflect one’s knowledge.
    อายุไม่ได้บอกความรู้ของคนๆนึงเสมอไป
  • One’s time should be spent wisely.
    เวลาของเราควรใช้อย่างฉลาด

ถ้าเป็นแบบ reflexive pronoun อาจจะใช้เป็น oneself ก็ได้ เช่น

  • One should treat others as one would like others to treat oneself.
    เราควรปฏิบัติกับคนอื่นเหมือนกับที่เราอยากให้คนอื่นปฏิบัติกับเรา

** เราสามารถละ คำว่า one (s) ได้ หากอยู่หลังคำเปรียบเทียบแบบ superlative (ขั้นสุด) หลัง this, that, these, those, which เช่น

  • A: Which (ones) do you want?
    อันไหนบ้างที่คุณต้องการ
  • B: I want those (ones).
    ฉันอยากได้แบบนั้น
  • My cat is the cutest (one).
    แมวของฉันคือตัวที่น่ารักที่สุดตัวนั้น