ตอนที่ 37 : ประโยค passive voice ของ modal verb

ประโยค passive voice ของ modal verb

ประโยค  passive voice ของ modal verb

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าประโยคในภาษาอังกฤษจะแบ่งออกเป็น active voice (ประโยคที่ประธานเป็นผู้กระทำ)  และประโยค passive voice ซึ่งก็คือประโยคที่ต้องการเน้นประธานว่าเป็นผู้ถูกกระทำ โดยอาจจะใส่ผู้กระทำก็ได้หรือไม่ใส่ผู้กระทำเนื่องจากเป็นที่เข้าใจโดยทั่วไปว่าใครทำหรือไม่รู้แน่ว่าใครทำ ในบางครั้งประโยค passive voice สร้างปัญหาให้กับเราๆอย่างมากเพราะโครงสร้างประโยคภาษาไทยไม่มีแบบ passive voice นั่นเอง  ดังนั้นเวลาใช้จึงต้องแยกแยะให้ออกว่าประโยคแบบไหนของไทยที่จะต้องเขียนเป็นแบบ passive voice ในภาษาอังกฤษ

ประโยค passive voice   จะมีโครงสร้างที่ผันไปตาม tense ทุก  tense โดยโครงสร้างหลักของ passive voice คือ

Verb to be + V.3 (past participle)

แต่ในที่นี้จะพูดถึง  passive voice  ในประโยคที่มี  modal verb  (will, would, can, could, shall, should, must, etc.)  โครงสร้าง passive voice ของ modal verb  ก็ง่ายแสนง่ายค่ะ  ตามนี้เลย

                    Subject + modal verb + be + V.3

ตัวอย่างประโยค

  • My house should be renovated soon. It’s all run down.
    บ้านฉันควรจะได้รับการปรับปรุงใหม่ในเร็วๆนี้ มันทรุดโทรมหมดแล้ว
  • The car can’t be repaired.
    รถคันนี้ซ่อมไม่ได้แล้ว
  • Our flight will be cancelled because of the bad weather.
    เที่ยวบินของพวกเราจะถูกยกเลิกเพราะสภาพอากาศไม่ดี

ในอีกกรณีหนึ่งของ passive voice ที่อาจจะเจอก็คือ การใช้ to infinitiveในกรณีนี้ก็จะเป็น 

to be + V.3 (past participle)  เช่น

  • I’m expecting to be given a pay rise next month.
    ฉันหวังว่าจะได้ขึ้นเงินเดือนในเดือนหน้า
  • She’s hoping to be elected president.
    เธอหวังว่าจะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี

passive voice อาจจะอยู่ในรูปของ Gerund(Ving)ก็ได้นะคะเช่น

  • The little boy was very naughty in spite of being punished nearly every day.
    เด็กคนนั้นซนมากๆ ทั้งๆที่โดนทำโทษเกือบทุกวัน
  • She has avoided being met you so far.
    เธอหลีกเลี่ยงที่จะเจอคุณมาตลอด

Passive voice สามารถผันได้กับประโยคทุกรูปแบบเลยค่ะ  ประเด็นสำคัญคือต้องมองโครงสร้างหลักของpassive voice ให้ออก คือ Verb to be + V.3