มารู้จัก Verb to be ในโครงสร้างประโยคเหล่านี้กัน
Verb to be (is, am, are, was, were) เรียกได้ว่าเป็น กริยาสารพัดประโยชน์จริงๆ เป็นกริยาช่วยก็ได้ เป็นกริยาแท้(ในความหมายว่า เป็น,อยู่,คือ) ก็ได้อีก อะไรมันจะสรรพคุณแซ่บขนาดนี้ ก็อย่างที่บอกค่ะด้วยความที่ verb to be มันสารพัดประโยชน์ ดังนั้นการรู้จักโครงสร้างประโยคที่มักจะมี verb to be เข้ามาเกี่ยวข้องก็น่าจะเป็นการช่วยเพิ่มความแก่กล้าให้ภาษาอังกฤษเราได้มากขึ้นไปอีก…จะรอช้าอยู่ใย มาดูกันค่ะว่าโครงสร้างประโยคที่พูดถึงนี้มีหน้าตาเป็นยังไงกันบ้าง
—- S + V.to be + Adj. —-
เป็นโครงสร้างพื้นฐานระดับรากหญ้ากันเลยทีเดียวสำหรับรูปแบบประโยคแบบนี้ ใครไม่รู้จักถือว่าเชยมาก มี Adjective ที่ไหน เจ้า Verb to be ก็มักจะไปเสนอหน้าที่นั่น เช่น
- The test was pretty hard.
ข้อสอบยากจัง
(มีมาคั่นกลางด้วย prettyก็ไม่ใช่อะไร เป็นคำขยายแปลว่า “ค่อนข้าง” นะคะ) - My shoes are wet.
รองเท้าฉันเปียก
—- S + V. to be + Adv. —–
Adverb ก็มาไม่น้อยหน้า Adjective นะคะ ใช้กับVerb to be ได้ด้วย เช่น
- All prices are up.
ราคาสินค้าทุกอย่างสูงขึ้น - The time is over.
หมดเวลาแล้ว - My bicycle is outside.
รถจักรยานฉันอยู่ข้างนอก
—- S + V. to be + Preposition + noun/pronoun —-
ตัวอย่างประโยค เช่น
- The jacket I bought yesterday is in the wardrobe.
เสื้อแจ้คเก้ตที่ซื้อมาเมื่อวานอยู่ในตู้เสื้อผ้า - Tell him I’m on the other line.
บอกเขาว่าฉันติดสายอื่นอยู่
—- S + V. to be + to infinitive (to+V1) —-
โครงสร้างประโยคนี้อาจจะต้องแยกประเด็นออกมาดังนี้ค่ะ
- to be ในที่นี้เป็นกริยาแท้ แปลว่า เป็น,อยู่,คือ และ to infinitive ทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยค เช่น
- The best way to pass the exam is to study harder.
วิธีที่ดีที่สุดที่จะสอบผ่านก็คืออ่านหนังสือให้หนักขึ้น
- ใช้ในการออกคำสั่ง แปลว่า “ต้อง” เช่น
- You are to leave now.
คุณต้องออกเดินทางเดี๋ยวนี้เลย
—- S + V. to be + Noun/Pronoun —-
- to be ในโครงสร้างนี้จะมีควาหมายว่า เป็น, อยู่, คือ เช่น
- I am not a coffee drinker.
ฉันไม่ใช่คนชอบดื่มกาแฟ - You are a liar.
คุณมันจอมโกหก - This bike is mine.
จักรยานคันนี้ของฉัน
—- S + V. to be + Adj. + to infinitive —-
เราเอา to infinitive มาต่อท้าย adjective เพื่อขยายความได้ เช่น
- It’s nice to talk to you.
ดีใจทีได้คุยกับคุณ - I’m too fat to wear this dress.
ฉันอ้วนเกินไปที่จะใส่ชุดนี้
—- S + V. to be + Adj. + Ving —-
โครงสร้างคล้ายกับด้านบน คือเป็นการขยายความ แต่ไม่ค่อยนิยม แต่ก็จะมีอยู่ 2 คำ ที่มักจะเจอในรูปประโยคแบบนี้คือ คำว่า busy กับ worth เช่น
- I was busy talking on the phone.
ฉันกำลังยุ่งอยู่กับการคุยโทรศัพท์เลย - The business is worth risking.
ธุรกิจตัวนี้คุ้มที่จะเสี่ยง
—- S + V. to be + that clause / noun clause —-
That clause หรือ noun clause (clause ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-question) เป็นเสมือนคำนามที่ทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยค เช่น
- The problem is that my car is broken down.
ปัญหาคือรถฉันเสีย - It isn’t what you think.
มันไม่ใช่อย่างที่คุณคิดหรอก
—- S + V. to be + Adj. + that clause/noun clause —-
That clause / noun clause ในที่นี้ทำหน้าที่เป็นตัวขยายความ เช่น
- I’m not clear how this accident happened.
ฉันก็ไม่แน่ใจนักหรอกว่าอุบัติเหตุมันเกิดขึ้นได้อย่างไร - I’m so glad that you are with me now.
ฉันดีใจเหลือเกินที่ตอนนี้คุณอยู่กับฉัน
เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับโครงสร้างหลักๆน่ารู้น่าจำน่านำไปใช้ของ Verb to be ถ้าสังเกตเจ้าของภาษาพูดจะเห็นว่าใช้แบบนี้กันเป็นส่วนใหญ่ ลองนำไปใช้ดูนะคะ ^^