การละ If ในประโยค If-clause
ในประโยคเงื่อนไขหรือประโยค If-clause ส่วนใหญ่เราก็จะใช้คำว่า If กันใช่มั้ยคะ แต่รู้หรือไม่?? บางทีเราก็สามารถละ if คือไม่ใส่ if ในประโยคแต่ให้ความหมายเหมือนกันได้ ปกติแล้วเราจะรู้จัก If-clause 3 แบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการละ if ต่างกันไป ดังนี้ค่ะ
If-clause แบบที่ 1
เป็นการพูดถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรือในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดก็ได้ เช่น
- If the weather is nice this afternoon, we will go camping.
เราจะใช้ Should แทน แล้วตัด if ออก
- Should the weather be nice this afternoon, we will go camping.
(ในประโยคนี้เปลี่ยน is เป็น be เพราะหลังshould ต้องตามด้วย Verb รูปธรรมดาไม่ผันค่ะ) - If you want to go home, I will give you a ride.
= Should you want to go home, I will give you a ride. - If she doesn’t hand in the report on time, I won’t give her any points.
= Should she not hand in the report on time, I won’t give her any points.
** มองๆดูแล้วเหมือนโครงสร้างประโยคคำถามใช่มั้ยคะ อย่าเผลอไปใส่เครื่องหมาย ? เชียวนะ
If-clause แบบที่ 2
เป็นการพูดถึงเหตุการณ์ที่ไม่เป็นจริงในปัจจุบัน เช่น
- If we had a car, we would drive to the beach.
เราใช้ were แทน if ค่ะ
- Were we to have a car, we would drive to the beach.
- If she didn’t come here tonight, she wouldn’t meet Rick.
= Were she not to come here tonight, she wouldn’t meet Rick. - If I were rich, I would travel around the world.
= Were I rich, I would travel around the world.
If-clause แบบที่ 3
พูดถึเหตุการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ในอดีต เช่น
- If you had left home early, you wouldn’t have missed the train.
เราจะใส่ had แทน if
- Had you left home early, you wouldn’t have missed the train.
- If I hadn’t known her, I wouldn’t have got married with her.
= Had I not known her, I wouldn’t have got married with her.
** ประโยคที่มีการละ if นี้มักใช้ในภาษาเขียน ไม่นิยมใช้ในภาษาพูดค่ะ แต่ข้อสำคัญคือมันไม่ใช่ประโยคคำถาม ถึงแม้โครงสร้าจะเหมือนกับประโยคคำถาม ดังนั้นไม่ต้องใส่เครื่องหมาย question mark (?) นะคะ