Category Archives: ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

การละ If ในประโยค If-clause

การละ If ในประโยค If-clause

การละ If  ในประโยค  If-clause

ในประโยคเงื่อนไขหรือประโยค If-clause  ส่วนใหญ่เราก็จะใช้คำว่า  If กันใช่มั้ยคะ  แต่รู้หรือไม่??  บางทีเราก็สามารถละ if คือไม่ใส่ if ในประโยคแต่ให้ความหมายเหมือนกันได้    ปกติแล้วเราจะรู้จัก If-clause 3  แบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการละ if ต่างกันไป ดังนี้ค่ะ

If-clause แบบที่ 1

เป็นการพูดถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรือในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดก็ได้  เช่น

  • If the weather is nice this afternoon, we will go camping.

เราจะใช้ Should แทน  แล้วตัด if ออก

  • Should the weather be nice this afternoon, we will go camping.
    (ในประโยคนี้เปลี่ยน is เป็น be เพราะหลังshould ต้องตามด้วย Verb  รูปธรรมดาไม่ผันค่ะ)
  • If you want to go home, I will give you a ride.
    Should you want to go home, I will give you a ride.
  • If she doesn’t hand in the report on time, I won’t give her any points.
    Should she not hand in the report on time, I won’t give her any points.

** มองๆดูแล้วเหมือนโครงสร้างประโยคคำถามใช่มั้ยคะ  อย่าเผลอไปใส่เครื่องหมาย ? เชียวนะ

If-clause แบบที่ 2 Continue reading

เอาให้กระจ่าง! ระหว่าง no not non และ none มันต่างกันอย่างไร??

เอาให้กระจ่าง! ระหว่าง no not non และ none มันต่างกันอย่างไร??

เอาให้กระจ่าง! ระหว่าง no not  non และ  none  มันต่างกันอย่างไร??

ทั้งสี่คำนี้  no  not  non  และ  none  มันก็เขียนคล้ายๆกันนะ  แต่ไม่ได้ใช้เหมือนกันแน่นอนค่ะ มาดูกันเลยค่ะว่าแต่ละคำมันใช้ยังไง

no – เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) แปลว่าไม่  นั่นก็หมายความว่ามันจะต้องเอาวางไว้หน้าคำนามได้  เช่น

  • We have no water left.  พวกเราไม่มีน้ำเหลืออยู่เลย
    อย่าไปใช้ว่า  We no have water. นะคะ  อันนี้เป็นผลพวงมาจากการแปลไทยเป็นอังกฤษแบบคำต่อคำจ้า

นอกจากนี้  no  ก็ยังใช้ในการตอบปฏิเสธทั่วๆไปได้เช่นกัน  เช่น

  • Do you have any bread?  /  No, I don’t.

not – มาถึงคำว่า  not  กันบ้าง  เป็น adverb หรือกริยาวิเศษณ์  จะใช้วางไว้หลังกริยาช่วยในประโยคปฏิเสธ  เช่น

  • It is not quite cold outside.
    มันไม่ค่อยจะหนาวเท่าไหร่
  • We will not take a taxi.
    พวกเราจะไม่นั่งแท้กซี่

non – อ่านว่า “น็อน” เป็น prefix  คือจะเอาเติมหน้าคำอื่นเพื่อเปลี่ยนความหมายของคำ  โดยความหมายของ  non จะแปลว่า “ไม่”เช่น    Continue reading

Inversion (ตอนที่ 1) : inversion คำที่บอกความหมายเชิงปฏิเสธ และคำบุพบท

inversion ในภาษาอังกฤษ

inversion คำที่บอกความหมายเชิงปฏิเสธ และคำบุพบท (ตอนที่ 1)

หลายคนอาจจะไม่รู้จักว่า การ inversion ในภาษาอังกฤษคืออะไร แต่เชื่อว่าอาจจะเคยผ่านหูผ่านตามาบ้าง แล้วเกิดสงสัยขึ้นมาว่า ภาษาอังกฤษมีโครงสร้างประโยคแบบนี้ด้วยเหรอ….?? การ inversion มีหลายแบบ แต่ในที่นี้จะอธิบายถึงการ inversion คำกริยาวิเศษณ์ และคำบุพบท

Inversion คือ การสลับตำแหน่งระหว่างประธานและกริยาหรือการกลับประโยค เพื่อให้เป็นการเน้นใจความของประโยค พูดง่ายๆก็คือเพื่อให้ประโยคมีอรรถรสมากขึ้น  มาดูกันเลยค่ะว่า inversion มันจะมีโครงสร้างประโยคออกมาเป็นอย่างไร

1. คำกริยาวิเศษณ์หรือสำนวนที่มีความหมายเชิงปฏิเสธ เมื่อทำเป็นประโยคที่มีการ inversion จะมีโครงสร้างประโยคดังนี้ค่ะ

กริยาวิเศษณ์ / สำนวนเชิงปฏิเสธ + กริยาช่วย + ประธาน + Verb แท้

  • Never does she love him. (= She never loves him.)
    หล่อนไม่เคยรักเขาเลย
  • At no time did I say I would go out with you.
    (= I say I would go out with you at no time.)
    ฉันไม่เคยพูดเลยว่าฉันจะออกไปเที่ยวกับคุณ
  • No sooner had he left than the telephone rang.
    (= He had no sooner left than the telephone rang.)
    ทันทีที่เขาออกไป โทรศัพท์ก็ดัง

** เวลาที่เป็นประโยค inversion กริยาช่วยจะมาก่อนประธานเสมอ หรือมีโครงสร้างเหมือนประโยคคำถาม
** คำกริยาวิเศษณ์หรือสำนวนในเชิงปฏิเสธที่พบเจอได้บ่อย มีดังนี้ค่ะ

hardly                     scarcely                  rarely
never                      barely                     seldom
nowhere                 only                        not + object
at no time               no longer                no sooner…than
not only                  not until                  only after
on no account         under no circumstances

2. คำบุพบทบางตัวที่บอกตำแหน่งเมื่ออยู่หน้าประโยค ก็จะเขียนประโยคเป็น inversion ได้เหมือนกัน คำบุพบทดังกล่าว มีดังนี้ค่ะ

in                 up                down            under           here

เช่น

  • Here is the paper of the meeting.
    นี่คือเอกสารการประชุม
  • Down the stair walked the cat.
    แมวเดินลงบันได
  • On the tree is the bird.
    นกอยู่บนต้นไม้

3. คำบอกปริมาณบางคำ ก็สามารถทำเป็นประโยค inversion ได้ เช่น

few               little             so                such

เช่น

  • Little can she speak Spanish.
    เธอพูดภาษาสเปนได้นิดหน่อย

** แต่ถ้ามี คำนามตามหลัง ไม่สามารถทำเป็นประโยค inversion ได้

เช่น         Few books are in my bag.

อ่านเพิ่มเติม สำนวนภาษาอังกฤษ : no sooner…than

การใช้ would rather

การใช้ would rather

การใช้ would rather

บางครั้งเวลาอ่านๆภาษาอังกฤษเราอาจจะเจอคำว่า …..‘d rather ก็ไม่ต้องสับสนเพราะมันมาจากคำว่า would rather ค่ะ แปลว่า “น่าจะ….ดีกว่า”   หรือแปลว่า “อยากจะ….มากกว่า” มีโครงสร้างในการใช้ดังนี้ค่ะ

1. หากประโยคมีประธานตัวเดียว และพูดถึงปัจจุบันหรืออนาคต มีโครงสร้างประโยคดังนี้

                    ….would rather + V1( ….than )

เช่น

  • I would rather go home with you.
    ฉันน่าจะกลับบ้านกับเธอมากกว่า
  • She would rather listen to her mom.
    เธอน่าจะฟังแม่ของเธอ
  • You look tired, so you would rather sleep than work.
    คุณดูเหนื่อยๆ คุณน่าจะนอนมากกว่ามานั่งทำงาน

2. ถ้าในประโยคมีประธาน 2 ตัว ที่พูดถึงปัจจุบันหรืออนาคต มีโครงสร้างประโยคดังนี้

                    Subject 1 + would rather + subject 2 + V2(…than)

เช่น

  • I would ratheryougo.
    ฉันอยากจะให้คุณไปมากกว่า
  • I would ratherSmithcame here today than tomorrow.
    ฉันอยากจะให้สมิธมาที่นี่วันนี้มากกว่าพรุ่งนี้
  • Your parents would rather you not said anything right now.
    พ่อแม่คุณไม่อยากให้คุณพูดอะไรในตอนนี้

3. ถ้าในประโยคมีประธาน 1 ตัว ที่พูดถึงเรื่องในอดีต มีโครงสร้างประโยคดังนี้

….would rather + have + V3

เช่น

  • I would rather have talked with her in private.
    ฉันอยากจะพูดกับเธอเป็นการส่วนตัวมากกว่า
    (พูดถึงว่า ในอดีตอยากจะพูด แต่ปัจจุบันก็คือยังไม่ได้พูด)
  • Jimmy would rather not have attended the meeting yesterday.
    เมื่อวานจิมมี่ไม่อยากจะเข้าประชุมมากกว่า
    (ในกรณีที่เป็นปฏิเสธให้ใส่ not หน้าhave )

4. ถ้าในประโยคมีประธาน 2 ตัว ที่พูดถึงเรื่องในอดีต มีโครงสร้างประโยคดังนี้

                    …would rather + ประธาน + had + V3

เช่น

  • I would rather my dad had picked me up.
    ฉันอยากให้พ่อมารับฉันมากกว่า
  • David would rather his wife had cooked salmon steak than beef steak.
    เดวิดอยากให้ภรรยาของเขาทำสเต๊กปลาแซลมอนมากกว่าสเต๊กเนื้อ

adverb กับ adjective ที่มีรูปเหมือนกัน

adverb กับ adjective ที่มีรูปเหมือนกัน

adverb กับ adjective ที่มีรูปเหมือนกัน

Adverb (กริยาวิเศษณ์) ทำหน้าที่ขยายคำกริยา, คำคุณศัพท์, และคำกริยาวิเศษณ์ ส่วนadjective (คำคุณศัพท์) ทำหน้าที่ขยายคำนาม ปกติแล้ว คำสองประเภทนี้จะมีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกันที่สังเกตได้ง่ายคือ adverb มักจะลงท้ายด้วย –lyเช่น quickly, slowly, noisily etc.

แต่มี adverb บางตัวที่มีรูปเหมือนกับ adjective คราวนี้เราจะสังเกตอย่างไรว่าคำนี้ในประโยคนี้เป็น adverb หรือ adjective   คำที่พบเห็นได้บ่อยๆ มีดังนี้ค่ะ

fast                                   เร็ว
hard                                 ยาก, หนัก
low                                   ต่ำ
late                                  สาย
right                                 ถูก
wrong                               ผิด
straight                             ตรง
long                                  ยาว
short                                 สั้น
loud                                  ดัง
enough                             เพียงพอ

ลองดูตัวอย่างประโยคนะคะ

  • The rock is very hard.
    หินก้อนนี้หนักมาก
  • She usually works hard.
    ปกติเธอจะทำงานหนัก

hardในประโยคแรกเป็น adjective  ส่วน hard ในประโยคที่สองเป็น adverb

  • This is a fair play.
    นี่คือการเล่นอย่างยุติธรรม
  • They should play fair.
    พวกเขาควรจะเล่นอย่างยุติธรรม

fairในประโยคแรกเป็น adjective  ส่วน fairในประโยคที่สองเป็น adverb

วิธีการสังเกตว่า คำขยายในประโยคนี้ทำหน้าที่เป็น adverb หรือ adjective นั้นให้ดูตำแหน่งของคำนั้นในประโยค ดังนี้ค่ะ

1. ถ้าวางไว้หน้าคำนาม หรือ หลัง verb to be คำนั้นจะเป็น adjective เช่น

  • This isn’t the right answer.    (วางไว้หน้าคำนาม)
  • His homework is wrong.        (วางไว้หลัง verb to be)

2. ถ้าวางไว้หลังคำกริยา จะเป็น adverb เช่น

  • This bus runs fast.
  • I didn’t come late yesterday.

A: How can I get to the Serirak Hospital?
B: Go straight and turn left. You’ll see the hospital on your right.

หลักการเติม s/esท้ายคำกริยา

หลักการเติม s,es ท้ายคำกริยา

หลักการเติม s/esท้ายคำกริยา

คำกริยาที่เติม s/esนั้น มีได้ใน tense เดียวเท่านั้นคือ present simple tense และกริยาจะเติม s/es       ได้นั้น ประธานของประโยคจะต้องเป็นเอกพจน์ ตัวอย่างประโยค เช่น

  • She goes to the cinema once a month.
  • Sarah always reads comic books after finishing her homework.

แต่การจะเติม s/esนั้นก็มีหลักเกณฑ์ในการเติมนะคะ จะเติมตามใจฉันไม่ได้นะคะ กฎในการเติม s/esท้ายคำกริยามีดังนี้ค่ะ

1. ถ้ากริยาลงท้ายด้วย s, ss, ch, sh, o, x, z ให้เติม esเช่น

wash                      washes                             ล้าง
go                          goes                                 ไป
fix                           fixes                                 ซ่อม
pass                       passes                                        ผ่าน
teach                      teaches                             สอน
buzz                       buzzes                                        ทำเสียงหึ่งๆ

2. ถ้ากริยาที่ลงท้ายด้วย y ให้เปลี่ยน y เป็น iแล้วเติม esเช่น

study                      studies                              เรียน
fly                           flies                                  บิน
try                          tries                                  พยายาม

** ข้อควรระวังคือ ถ้าหน้าy เป็นสระ ให้เติม s ปกติ จะไม่เติม esเช่น

play                        plays                                เล่น
buy                         buys                                 ซื้อ
say                         says                                  พูด
apply                      applies                              ประยุกต์, สมัคร

3. ถ้าเป็นคำกริยาปกติที่ไม่เข้าตามกฎนี้ ให้เติม s ได้ตามปกติ เช่น

come                      comes                               มา
feel                         feels                                 รู้สึก
stand                      stands                              ยืน
drink                       drinks                               ดื่ม
jump                       jumps                               กระโดด

** ขอเสริมนิดนึงนะคะว่า กริยาจะเติม s/esได้ใน present simple tense ที่เป็นประโยคบอกเล่าเท่านั้น แต่ถ้าเป็นประโยคปฏิเสธ และคำถามจะมีกริยาช่วย does (ในกรณีที่ประธานเป็นเอกพจน์) อยู่แล้ว ดังนั้นกริยาที่เติม s/esเหล่านี้ก็ต้องเปลี่ยนกลับเป็นรูปเดิม คือตัด s/esออก   เช่น

  • Tammy sends a letter to his mom once a month.
  • Tammy doesn’t send a letter to his mom once a month.
  • Does Tammy send a letter to his mom once a month?

have กับ have got ใช้ต่างกันอย่างไร

have กับ have got ใช้ต่างกันอย่างไร

have กับ have got ใช้ต่างกันอย่างไร

เวลาที่เราได้ฟังฝรั่งพูดว่ามีอะไร บางครั้งเราก็จะได้ยินว่า I have มั่งแหละ และบางครั้งเราก็ได้ยินเขาพูดว่า I have got บ้างแหละ ตกลงว่ามันเหมือนหรือมันต่างกันยังไงนะ เจ้า have กับ have got เนี่ย

มาพูดถึง have ก่อนค่ะ ความหมายง่ายๆเบสิคๆของมันเลยก็คือ แปลว่า มี   และเจ้า have got ก็แปลว่า มี ได้เหมือนกัน แต่ have got จะเป็น British English ซึ่งมักจะได้ยินในภาษาพูดมากกว่าเห็นในภาษาเขียน เช่น

  • We have enough hamburgers for everyone tonight.

ก็จะมีความหมายเหมือนกับ

  • We have got enough hamburgers for everyone tonight.
    พวกเรามีแฮมเบอร์เกอร์เพียงพอสำหรับทุกคนในคืนนี้

และแน่นอนว่า!! ถ้าหากประธานเป็นเอกพจน์ก็จะเป็น has หรือ has got เช่น

  • She has a lot of homework this semester.
  • She has got a lot of homework this semester.
    เธอมีการบ้านเยอะมากในเทอมนี้

** แต่ข้อสังเกตคือ have got จะใช้แทน have ในความหมายว่า “มี” ได้เท่านั้น   เพราะ have แปลเป็นอย่างอื่นได้อีกนอกจากคำว่า มี คือแปลว่า กิน หรือมีความหมายคล้ายๆ take ก็ได้ เช่น

  • I usually have breakfast with my sister before going to school.
    ฉันมักจะกินอาหารเช้ากับน้องสาวก่อนไปโรงเรียน
  • I washaving a shower (take a shower) when he called me.
    ฉันกำลังอาบน้ำอยู่ตอนที่เขาโทรหา

ในความหมายเหล่านี้จะใช้ have got หรือ has got แทนไม่ได้ และข้อควรจำอีกอย่างก็คือ have กับ have got ในความหมายว่า มี ไม่สามารถทำเป็น present continuous tense ได้ แต่ have ในความหมายอื่นทำได้

และข้อแตกต่างระหว่าง have กับ have got ก็คือ เวลาทำเป็นรูปประโยคปฏิเสธและคำถาม

have got เมื่อทำเป็นรูปปฏิเสธสามารถใส่ not หลัง have ได้เลย เป็น have not got หรือ haven’t got และเมื่อทำเป็นรูปประโยคคำถามสามารถเอา have มาขึ้นต้นประโยคได้เลย เช่น

  • I have got a car.   (ประโยคบอกเล่า)
  • I haven’t got a car. (ประโยคปฏิเสธ)
  • Have you got a car?          (ประโยคคำถาม)

1448902887251

** ขอบคุณรูปภาพจาก facebook: learn English 1

รูปการใช้ have got สามารถเทียบได้จากตารางด้านบนเลยค่ะ แต่ถ้าเป็น have ในกรณีที่เป็นกริยาแท้ จะไม่สามารถใส่ not หลัง have ได้เลย แต่ถ้าในกรณีที่เป็นกริยาช่วยhave ถึงจะใส่ not ได้   แล้วเวลาทำเป็นประโยคปฏิเสธของ have ทำอย่างไร? วิธีการก็คือให้เราใช้ verb to do เข้ามาช่วย เช่น

I have a car.                                         She has a car.
I don’t have a car.                                 She doesn’t have a car.
Do you have a car?                               Does she have a car?

** คราวนี้ก็คงกระจ่างแล้วนะคะสำหรับการใช้ have กับ have got ^^

just แปลได้มากกว่า “แค่”

just แปลได้มากกว่า “แค่”

just แปลได้มากกว่า “แค่”

คำว่า just ฟังดูเป็นคำง่ายๆนะ แต่เอาเข้าจริงเวลามันโผล่ในประโยคต่างๆก็ทำเอาเรางงได้เหมือนกัน ปกติเราจะรู้จัก just ในความหมายว่า “แค่ หรือ เพิ่งจะ” แค่นั้น แต่จริงๆแล้วมันมีความหมายมากกว่านั้น มาดูความหมายของ just ในความหมายต่างๆกันค่ะ

1. Just ก็แปลว่า “แค่”

ในความหมายนี้ just จะทำหน้าที่เป็น adverb (กริยาวิเศษณ์) เป็นความหมายที่เรารู้จักคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เช่น

  • I just want to warn you not to be rude with me.
    ชั้นก็แค่อยากจะเตือนคุณว่าอย่ามาหยาบคายกับฉัน
  • My shop is just across the road.
    ร้านของฉันอยู่แค่ฝั่งตรงข้ามเอง

** หรือในบางความหมายเราอาจจะแปลว่า “แค่….แหละ” เพื่อให้ได้อารมณ์ภาษาพูด เช่น

  • Just like that.
    แบบนั้นแหละ
  • Just do it.
    แค่ทำมันเท่านั้นแหละ
  • Just be yourself.
    แค่เป็นตัวเองเท่านั้นแหละ

2. Just ในความหมายว่า “เพิ่งจะ”

  • We just got here.
    พวกเราเพิ่งจะมาถึงที่นี่
  • I’ve just had dinner.
    ฉันเพิ่งจะกินอาหารเย็น

3. ถ้าพูดถึงเรื่องเวลา จะหมายถึงว่า “พอดี ตรงเผง” เช่น

  • I reached home just at 5 o’clock.
    ฉันถึงบ้านตอน 5 โมงพอดี
  • The meeting began just at 9 a.m.
    การประชุมเริ่มตอน 9 โมงพอดีเป๊ะ

** ถ้าjust ไปรวมกับ now เป็น just now จะแปลว่า เมื่อกี้นี้, เมื่อสักครู่นี้ เช่น

  • The light went out just now.
    ไฟดับเมื่อกี้นี้เอง

4. Just แปลว่า “เที่ยงตรง, ยุติธรรม” เช่น

  • He’s a just man.
    เขาเป็นคนยุติธรรม
  • It was a just sentence for the drug seller to get life in jail.
    มันเป็นการตัดสินที่ยุติธรรมแล้วสำหรับพ่อค้ายาเสพติดคนนั้นที่จำคุกตลอดชีวิต

เอาเป็นว่า เจอ just ที่ไหนก็อย่าแปลว่า “แค่ หรือ เพิ่งจะ” อย่างเดียว ลองดูบริบทแล้วแปลความหมายอื่นบ้างนะคะ ^^

agent noun คำนามที่แสดงความเป็นผู้กระทำ

agent noun คำนามที่แสดงความเป็นผู้กระทำ

agent noun

ถ้าพูดถึง Agent noun หลายคนอาจจะสงสัยว่าคือศัพท์ใหม่หรือเปล่า แต่จริงๆแล้ว agent noun หมายถึง คำนามที่แสดงความเป็นผู้กระทำ ซึ่งมันก็มีวิธีทำมาจากการที่เราเอาคำกริยามาเติม suffix ให้กลายเป็นคำนามและเป็นคำนามที่หมายถึงผู้กระทำด้วย

กลุ่มของ Suffix ที่เมื่อเติมไปที่คำกริยาแล้ว ทำให้กลายเป็นคำนามที่หมายถึงผู้กระทำกริยานั้นๆ หรือคนที่ทำอาชีพนั้นๆ มีดังนี้ค่ะ

1. – er   (*เติมคำกริยา)

เช่น

play              —–              player           ผู้เล่น
sing              —–              singer            นักร้อง
write             —–              writer           นักเขียน

2.  – or   (*เติมคำกริยา)

เช่น

instruct         —–              instructor                ผู้สั่งสอน
act                —–              actor                       นักแสดง
inspect          —–              inspector                 ผู้ตรวจสอบ
visit              —–              visitor                     ผู้มาเยือน

3. – ist   (*เติมคำนาม)

เช่น

piano            —–              pianist                              นักเปียโน
chemistry      —–              chemist                   นักเคมี
biology         —–              biologist                  นักชีววิทยา

4.  – ian   (*เติมคำนาม)

เช่น

music            —–              musician                 นักดนตรี
politic           —–              politician                 นักการเมือง
library           —–              librarian                  บรรณารักษ์

5. – ant (*เติมคำกริยา)

เช่น

serve            —–              servant                   คนรับใช้
assist            —–              assistant                 ผู้ช่วย
attend          —–              attendant                ผู้ต้อนรับ, ผู้ดูแล

6. – ee

เช่น

employ         —–              employee                ผู้ถูกจ้าง
advise           —–              advisee                   ผู้ได้รับคำแนะนำ
interview      —–              interviewee             ผู้ได้รับการสัมภาษณ์
pay               —–              payee                     ผู้รับเงิน

การที่เรารู้จัก suffix มากเท่าไหร่ก็จะทำให้เราอ่านภาษาอังกฤษได้คล่องมากขึ้นเท่านั้น เพราะ suffix มีเยอะมากและทำให้เกิดเป็นคำใหม่มากมาย

positive degree (การเปรียบเทียบขั้นเท่ากัน)

positive degree (การเปรียบเทียบขั้นเท่ากัน)

positive degree (การเปรียบเทียบขั้นเท่ากัน)

ปกติแล้วการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์หรือคำกริยาวิเศษณ์จะเปรียบได้ 3 ระดับด้วยกันคือ   ระดับที่เหมือนกันหรือเท่ากัน (Positive degree)     ระดับขั้นกว่า (Comparative degree)     และระดับขั้นสูงสุด (superlative degree) ในที่นี้จะอธิบายถึงการเปรียบเทียบขั้นเท่ากัน

โครงสร้างในการเขียนเปรียบเทียบขั้นเท่ากันมีดังนี้

1. ใช้ as…..asเป็นตัวเชื่อม

                    as   +   adjective / adverb   +   as

เช่น

  • His work is as good as yours.
    งานของเขาดีพอๆกับงานของคุณเลย
  • He speaks Spanish as well as his mother.
    เขาพูดภาษาสเปนได้ดีพอๆกับแม่ของเขา

** แต่ถ้าแสดงความไม่เท่ากัน ให้ใส่ not เข้าไป โดยมีโครงสร้างดังนี้

          …not as / (so) + adjective / adverb + as

เช่น

  • English is not as difficult as math.
    ภาษาอังกฤษไม่ยากเท่ากับคณิตศาสตร์
  • My room is not so comfortable as your room.
    ห้องของฉันไม่สะดวกสบายเท่ากับห้องของเธอ

** ถ้าต้องการใส่คำขยาย much / many เข้าไปในความหมายว่า “ฉันมีอะไรมากเท่ากับใคร” ก็จะมีโครงสร้างดังนี้ค่ะ

         …..as + much +คำนามนับไม่ได้ / many +คำนามนับได้  + as….                

เช่น

  • My father has as much work as my mother.
    พ่อของฉันมีงานมากพอๆกับที่แม่ของฉันมี
  • I have as many comic books as my friend.
    ฉันมีหนังสือการ์ตูนมากเท่ากับที่เพื่อนฉันมี

2. การใช้ the same + noun + as…..

เช่น

  • This watch is the same price as that one.
    นาฬิกาข้อมือเรื่อนนี้มีราคาเท่ากับเรื่อนนั้น

** บางครั้งก็จะมีการละnoun ไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น

  • My English mark is the same as yours.
    คะแนนภาษาอังกฤษของฉันเท่ากับของเธอ